ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน


ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่

10 พ.ค. 2551

สถิตการนำเข้า - ส่งออก ผลิตภัณฑ์จากไหม ของประเทศไทย ประจำปี 2550 (มกราคม - ธันวาคม) อเมริกา การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 6,142,664 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 217,300,505 ญี่ปุ่น การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 5,624,193 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 169,697,659 อังกฤษ การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 3,870,200 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 111,866,933 เกาหลี การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 2,840,683 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 79,342,941 สวิตเซอแลนด์ การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 56,357 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 42,955,879 ฝรั่งเศส การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 6,088,381 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 38,565,246 สเปน การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 1,111,072 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 24,046,074 ฮ่องกง การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 15,202,753 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 23,581,559 อิตาลี การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 13,435,570 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 20,953,569 ออสเตรีย การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 27,725 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 16,728,290 สิงคโปร์ การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 4,287 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 13,868,759 เยอรมัน การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 3,290,091 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 13,732,150 จีน การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 290,625,653 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 12,862,065 สวาซีแลนด์ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 11,366,301 มาเลเซีย การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 18,538 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 10,731,434 สหรัฐอารับอามิเรตส์ 8,393,486 เบลเยี่ยม การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 89,475 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 7,800,637 เนเธอร์แลนด์ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 6,631,066 เม็กซิโก การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 5,701,839 โปรตูเกส การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 5,277,963 ลาว การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 1,739,522 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 4,432,539 เวียตนาม การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 6,869,960 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 3,383,428 อัฟริกาใต้ การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 283,071 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 3,894,336 ฟิลิบปินส์ การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 3,675 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 2,596,975 อินโดนีเซีย การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 13,067 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 2,145,366 นิวซีแลนด์ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 1,960,427 กรีซ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 1,431,274 คูเวต การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 1,376,375 ใต้หวัน การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 138,543 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 1,356,077 อินเดีย การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 159,524,149 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 1,093,153 ไอซ์แลนด์ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 1,054,631 ซาอุดิอาราเบีย การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 982,969 อิสราเอล การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 726,779 กวินี การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 721,500 เกาหลีเหนือ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 625,442 ชิลี การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 622,786 ไซปรัส การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 619,090 ฟินแลนด์ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 546,317 นอรเวย์ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 524,687 ออสเตรีย การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 524,655 เวเนซูเอล่า การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 431,622 การ์ต้า การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 407,289 อาเยนติน่า 389,063 ตุรกี การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 383,354 แคนาดา การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 344,267 มาร์ดิฟส์ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 325,740 เขมร การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 244,160 อังการี่ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 229,519 บังคลาประเทศ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 213,003 โอมาน การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 206,162 พม่า การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 192,970 สวีเดน การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 186,827 ศรีลังกา การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 181,015 โรมาเนีย 100,221 เปรู การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 151,268 ปาปัวนิวกินี การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 131,760 เวอร์จิน ไอซ์แลนด์ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 90,007 มาเก๊า การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 81,908 จอร์แดน การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 71,167 เดนทาร์ค การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 26,466 อียิปต์ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 16,470 รัสเซีย การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 18,823 เคนยา การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 12,915 กวม การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 5,100 ประเทศอื่น ๆ การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 4,800 บราซิล การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 21,828,111 การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 3,420 ปากีสถาน การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 1,009 ไนจีเรีย การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 1,122 ยูเครน การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 6 บาท เนปาล การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 319 บาท รวม การนำเข้า ปี 2550 เป็นเงิน 538,828,059 บาท การส่งออก ปี 2550 เป็นเงิน 876,474,614 บาท : ที่มา กรมศุลกากร 11 พ.ค. 2550

5 พ.ค. 2551

รายงานผลการดำเนินงานโครงการพระราชดำริ ภาคเหนือ 2550 - 2551

รายงานผลการดำเนินงาน โครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษ ภาคเหนือ ประจำปี 2550 – 2551 โดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ แพร่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ตาก ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โครงการพระราชดำริบ้านห้วยต้า ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ แพร่ ความเป็นมา โครงการตามพระราชดำริบ้านห้วยต้า หมู่ 4 ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจากโครงการเดิมคือ โครงการทดสอบและพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจแบบผสมผสาน (ด้านการทดสอบหม่อนไหม) ของกรมวิชาการเกษตร โครงการนี้มีความเป็นมาจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรบ้านห้วยต้า ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี 2538 เนื่องจากราษฎรเป็นราษฎรที่ไม่ได้อพยพจากถิ่นฐานเดิมไปตั้งหลักในถิ่นฐานใหม่หลังจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ และได้ิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมเยื่นราษฎรบ้านห้วยต้ารับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากเดิมมีอาชีพที่ไม่มั่นคงและรายได้ต่ำ ขณะเยี่ยมเยือนราษฎร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงได้มีพระราชดำริให้กรมวิชาการเกษตรเข้าทำการอบรมและทดลองเพาะเห็ดหอมให้ราษฎรสามารถนำไปประกอบอาชีพพร้อมให้สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชและหม่อนไหมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการที่จะนำไปพัฒนาในการประกอบอาชีพให้ราษฎรในพื้นที่ได้มีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่มั่นคงต่อเนื่องตลอดปี และส่งเสริมกลุ่มทอผ้าไหมมีการบ้านให้กับราษฎรเมื่อทอเสร็จให้นำทูลเกล้าถวายและเน้นการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อสนับสนุนเส้นไหมกลุ่มทอผ้า กลุ่มทอผ้าบ้านห้วยต้า หมู่ 4 จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์โปรดเกล้าฯ ให้จัดส่งตัวแทนกลุ่มสตรีบ้านห้วยต้า หมู่ 4 ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เดินทางไปรับการอบรมการทอผ้าที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศ เพื่อกลับมาทำหน้าที่เป็นวิทยากรฝึกสอนการทอผ้าให้แก่ราษฎรบ้านห้วยต้าอีกทอดหนึ่ง ปี 2538 – 2547 กรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยหม่อนไหมแพร่ ดำเนินการทดสอบ พัฒนาหม่อนไหมและส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยสนับสนุนโรงเลี้ยงไหม จำนวน 2 โรงเลี้ยง พร้อมอุปกรณ์การเลี้ยงไหม กลุ่มทอผ้าไหมและทอผ้าฝ้าย ปัจจุบันมีอาคารโรงทอผ้าจำนวน 3 หลัง มีอาคารโรงเลี้ยงไหม 1 หลัง จากงบพัฒนาตำบลปี 2538 และในปี 2550 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ แพร่ ได้สนับสนุนมุ้งเขียว เพื่อปรับปรุงห้องเลี้ยงไหมจำนวน 2 โรง พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์การเลี้ยงไหม ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายจำนวน 162 ราย มีกี่ทอผ้า 60 หลัง พื้นที่ปลูกหม่อนจำนวน 7 ไร่ ราษฎรมีการทอผ้าอยู่ 3 ชนิด คือ ทอผ้าลายพื้น ทอผ้าไหมลายจก และทอผ้าไหมลายลูกแก้ว แบ่งกลุ่มทั้งสิ้น 11 กลุ่ม วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ราษฎรสามารถประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวเส้นไหม และทอผ้าไหมมีรายได้และมีอาชีพมั่นคงไม่ต่ำกว่า 7 ราย ผลที่คาดว่าจะได้รับ 3. เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจำนวน 7 ราย และเกษตรกรมีรายได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท / ปี / ราย สถานที่ดำเนินงานโครงการฯ ดำเนินการในพื้นที่บ้านห้วยต้า หมู่ 4 ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ แผนการดำเนินงานโครงการปีงบประมาณ 2551 ได้รับงบประมาณจำนวน 20,000 บาท กิจกรรมส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 1. การประชุม – ชี้แจงเกษตรกร จำนวน 1 ครั้ง จำนวน 7 ราย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2. สนับสนุนท่อนพันธุ์หม่อนเกษตรกรจำนวน 7 ราย รวม 1,500 ท่อน ในเดือน ตุลาคม 2550 3. สนับสนุนไข่ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 7 ราย ๆ ละ 1 แผ่น รวม 14 แผ่น ในเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2551 4. ให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เกษตรกรในเรื่องการสาวไหมการฟอกย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 7 ราย ในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนกรกฎาคม 2551 5. สนับสนุนเส้นไหมเพื่อการทอผ้าให้เกษตรกร 17 ราย รายละ 1 กิโลกรัม ในเดือนตุลาคม 2550 6. สนับสนุนวัสดุซ่อมแซมและปรับปรุงโรงเลี้ยงไหม 2 โรงเลี้ยงเดือนตุลาคม 2550 7. ติดตามประเมินผล 2 ครั้ง ๆ ละ 7 ราย ในเดือนมีนาคม 2551 และเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือน (1 ตุลาคม 2550 – 31 มีนาคม 2551) 1. ประชุมชี้แจงเกษตรกรจำนวน 1 ครั้ง ๆ ละ 7 ราย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2. สนับสนุนท่อนพันธุ์หม่อนเกษตรกรจำนวน 7 ราย รวม 1,500 ท่อน ในเดือนตุลาคม 2550 3. สนับสนุนไข่ไหมพื้นบ้านจำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 7 ราย ๆ ละ 1 แผ่น รวม 14 แผ่น ในรุ่นเดือนตุลาคม และรุ่นเดือนมกราคม 4. ให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เกษตรกรในเรื่องการสาวไหม , การฟอกย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ จำนวน 1 ครั้ง ๆ ละ 7 ราย ในเดือนกุมภาพันธ์ 5. สนับสนุนเส้นไหมเพื่อการทอผ้าให้เกษตรกร 17 ราย ๆ ละ 1 กิโลกรัม ในเดือนตุลาคม 2550 รวมที่ทอได้ผ้าเป็นลายลูกแก้ว 44.90 เมตรและยังดำเนินการอยู่ 6. สนับสนุนวัสดุซ่อมแซมและปรับปรุงโรงเลี้ยง 2 โรง เดือน ตุลาคม 2550 7. ติดตามประเมินผล 1 ครั้ง ๆ ละ 7 ราย ในเดือนมีนาคม 2551 ปัญหาอุปสรรค 1. การคมนาคมไม่สะดวกเดินทางโดยทางเรือเท่านั้น 2. เกษตรกรผลิตแล้วไม่มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 3. เกษตรกรออกไปหางานทำนอกพื้นที่แรงงานและสมาชิกลดลง โครงการจัดที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ดำเนินงานโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ตาก ความเป็นมา เนื่องด้วยพื้นที่ทางตอนใต้ของ อ.อุ้มผาง จ.ตาก อันเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ที่สุดทางด้านตะวันตกของประเทศ เป็นแหล่งพันธุ์สัตว์ป่าที่หายากที่ยังคงเหลืออยู่ เป็นต้นน้ำแม่กลอง แม่น้ำจันและแควใหญ่ ไหลลงสู่ที่ราบภาคเหนือ หากพื้นที่นี้ถูกทำลายจะเป็นผลกระทบกระเทือนทางนิเวศวิทยาและเขื่อนต่าง ๆ ในจังหวัดกาญจนบุรีอย่างรุนแรง ในระยะ 30 – 40 ปีที่ผ่านมา มีชาวเขาเผ่าม้งและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง จำนวนหนึ่งไม่เกิน 100 ครอบครัว ได้เข้าอยู่อาศัยซึ่งไม่มีผลกระทบกระเทือนมากนัก ต่อมาเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จึงได้มีชาวเขาเผ่าม้งและกะเหรี่ยงได้อพยพมาจากที่ต่าง ๆ ทางภาคเหนือ เข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวน 1,000 ครอบครัว ประชากรมากกว่า 6,000 คน ชาวเขาเหล่านี้โดยเฉพาะเผ่าม้งได้ดำรงชีพด้วยการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่นเพื่อเสพและขาย ทั้งนี้ เนื่องมาจากพื้นทีอยู่ห่างไกลอำนาจรัฐ ไม่มีเส้นทางคมนาคม ในช่วงปี 2525 พื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ชาวเขาเหล่านี้ร่วมกันต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล รัฐบาลได้ใช้นโยบายทางการทหารดำเนินการแก้ไขปัญหาก่อการร้ายเป็นผลสำเร็จ ชาวเขาเหล่านี้จึงได้มอบตัวกับทางราชการมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคที่ 3 ได้ร่วมกับกรมป่าไม้ พิจารณาเห็นว่า หากปล่อยให้ชาวเขาเหล่านี้อยู่ที่เดิมจะเกิดปัญหาทางด้านต้นน้ำลำธารอย่างรุนแรงและแนวทางพัฒนาที่สมบูรณ์ในลักษณะโครงการที่กล่าวข้างต้น โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2530 – 2534 สิ้นสุดการปฏิบัติงานทางฝ่ายทหาร สนผ.กอ.รมน. ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นการช่วยเหลือราษฎรผู้ยากไร้ ให้มีที่ทำกินถาวรถูกต้องตามกฎหมาย และยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้มิให้ถูกบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าสงวน อันเป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยและขาวความสมดุลทางธรรมชาติ ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของทางฝ่ายทหารดังกล่าว จึงได้มีการจัดทำโครงการจัดที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยเริ่มดำเนินการในปี 2535 – 2538 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของเกษตรกร และถ่ายทอดเทคโนโลยีในสภาพแปลงกสิกร 2. เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของราษฎร ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและประกอบอาชีพการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและลด การเสี่ยงในการปลูกพืชชนิดเดียว 4. เพื่อให้เกษตรกรเหล่านี้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูก การดูแลรักษาไม้ผล พืชผัก ไม้ดอก พืชไร่ ข้าวไร่ ยางพารา และหม่อนไหม จำนวนเกษตรกรในกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในโครงการฯ เกษตรกร จำนวน 20 ราย พื้นที่ปลูกหม่อน จำนวน 100 ไร่ ระยะเวลา ปีงบประมาณ 2538 – ปัจจุบัน พื้นที่ดำเนินการ บ้านรวมไทยพัฒนาที่ 7 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก งบประมาณ งบประมาณได้รับ 70,000 บาท ผลการดำเนินงาน 1. ประชุมชี้แจงเกษตรกรในโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 2. จัดอบรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมโดยให้คำแนะนำการจัดการดูแลรักษาแปลงหม่อน การตัดแต่งกิ่ง การป้องกันกำจัดโรคและแมลง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงแปลงหม่อน จำนวน 2 ครั้ง 3. ติดตามประเมินผล ให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการ จำนวน 3 ครั้ง 4. สนับสนุนพันธุ์หม่อนสกลนครให้แก่เกษตรกรในโครงการฯ รายละ 800 ต้น (ชำถุง 200 ต้น และ ล้างราก 600 ต้น) 5. สนับสนุนปุ๋ยหมักให้แก่เกษตรกรในโครงการฯ รายละ 1 ตัน เพื่อนำไปใส่ปรับปรุงแปลงหม่อน 6. ดูแลรักษาแปลงหม่อนทดสอบพันธุ์หม่อน พื้นที่ 3 ไร่ (แปลงทดสอบบ้านรวมไทยพัฒนาที่ 7) ปัญหาและอุปสรรค 1. ไข่ไหมที่เกษตรนำไปเลี้ยง ไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้เลี้ยงตาย ได้ผลผลิตน้อย 2. เกษตรกรในโครงการฯ ประสบปัญหาผลกระทบการทำเกษตรที่ใช้สารเคมีของแปลงข้างเคียง โครงการจัดตั้งหมู่บ้านชาวไทยภูเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านมะโอโค๊ะ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ตาก --------------------------------------------------------------------- ความเป็นมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2542 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสร็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรที่บ้านรวมไทยพัฒนาที่ 1 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก และได้มีพระราชเสาวนีย์กับพลตรีชัยยุทธ เทพสุวรรณ ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 3 ว่า “ให้หาราษฎรชาวไทยภูเขาที่สมัครใจไปเป็นยามตามแนวชายแดน ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และกองทัพภาคที่ 3 ได้ให้กองพลพัฒนาที่ 3 พิจารณากำหนดพื้นที่ที่จะจัดตั้งหมู่บ้านชาวไทยภูเขาตามพระราชเสาวนีย์ ใน 2 พื้นที่ ของจังหวัดตาก จังหวัดแม่ฮ่องสอนกองพลพัฒนาที่ 3 จึงได้ดำเนินตามแนวทางดังกล่าว โดยน้อมนำแนวพระราชดำริฯ และแนวทางสั่งการของผู้บังคับบัญชาการ เพื่อจัดทำแปลงทดสอบลงสู่ภาคปฏิบัติจะได้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยพิจารณากำหนดพื้นที่ตั้งหมู่บ้านชาวไทยภูเขา วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออบรมเผยแพร่การเกษตรแบบผสมผสานและวิชาการเกษตรแผนใหม่ 2. ให้คำแนะนำด้านพัฒนาอาชีพการเกษตร เป้าหมาย 1. เพื่อให้ราษฎรชาวไทยภูเขาได้รับการจัดที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่เดิมโดยไม่ต้องอพยพ 2. สามารถยกระดับรายได้ และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวไทยภูเขา 3. สามารถฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพดีขึ้น จำนวนเกษตรกรในกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในโครงการฯ เกษตรกรจำนวน 10 ราย ระยะเวลา ปีงบประมาณ 2543 - ปัจจุบัน สถานที่ดำเนินการ บ้านมะโอโค๊ะ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก งบประมาณ งบประมาณได้รับ 40,000 บาท ผลการดำเนินงาน 1. ประชุมชี้แจงเกษตรกรในโครงการ จำนวน 1 ครั้ง 2. จัดอบรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและให้ความรู้การฟอกย้อมสีธรรมชาติเส้นไหม จำนวน 2 ครั้ง 3. จัดส่งเส้นไหมให้เกษตรกรในโครงการฯ นำไปทอเป็นผ้าพันคอ ส่งมูลนิธิศิลปาชีพฯ เพื่อนำส่งเข้าวังสวนจิตรดา 4. ติดตามประเมินผล ให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการ จำนวน 3 ครั้ง 5. ปรับปรุงแปลงหม่อนเดิม เพื่อส่งเสริมการผลิตชาเขียวใบหม่อนแบบครัวเรือน และปรับปรุงแปลงหม่อนผลสด เพื่อจะส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลหม่อน ในปี 2551 ปัญหาและอุปสรรค 1. เกษตรกรในโครงการฯ ไม่เคยเลี้ยงไหม และไม่มีความชำนาญในการเลี้ยง 2. แนวทางแก้ไข ควรจะส่งเสริมด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อน และอบรมการฟอกย้อมและทอผ้าไหมโดยศูนย์ฯ จะสนับสนุนเส้นไหม ผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร 1. เกษตรกรมีอาชีพและสร้างรายได้ 2. เกษตรกรมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตัวเองและกลุ่มให้ดีขึ้น 3. สร้างความเข้มแข็งและประสานความสามัคคีของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ (โครงการคลองลาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกำแพงเพชร ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ตาก ----------------------------------------------------------------------- ความเป็นมา ระหว่างปี พ.ศ. 25521-2524 ได้มีการอพยพชาวไทยภูเขาเข้ามาในพื้นที่คลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะเผ่าเย้า ซึ่งเป็นกองกำลังชาวเขาที่หลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาในปี 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าคลองลานเป็นป่าอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งอุทยานแห่งชาติแม่วังก์-แม่เปิน ในปี พ.ศ. 2527 ทำให้การประกาศเขตอุทยานซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขา 15 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชากรประมาณ 3,500 คน ประกอบด้วยชาวเขาเผ่าเย้า มูเซอ แม้ว กะเหรี่ยง ลีซอ และอีก้อ ชาวเขาเหล่านี้ได้สร้างปัญหาโดยการบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ทำไร่เลื่อนลอยจำนวนหลายแสนไร่ ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย ดังนั้นในปี 2527 – 2529 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกำแพงเพชรจึงได้มีคำสั่งดำเนินการอพยพชาวเขาไปยังพื้นที่ที่จัดสรรใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรบ้านสักงาม หมู่ที่ 1 ตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และทรงพบว่ามีราษฎรยากจนเป็นจำนวนมากขาดแคลนที่ดินทำกิน มีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย และมันสำปะหลัง แต่มีความสามารถในการทำเครื่องเงินและผ้าปัก ซึ่งน่าจะได้มีการรวมกลุ่มราษฎรชาวไทยภูเขาต่างๆ นี้ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านกลุ่มอาชีพที่ตนถนัด โดยใช้ชื่อว่า โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ เริ่มตั้งขึ้นที่บ้านอุดมทรัพย์ หมู่ที่ 8 ตำบลหินดาต กิ่งอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีกองทัพภาคที่ 3 กรมป่าไม้ และหน่วยงานราชการในพื้นที่ร่วมดำเนินการ รวมทั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ได้เข้ามาฝึกอบรมราษฎรชาวไทยภูเขาด้วย โดยได้เลือกพื้นที่บ้านอุดมทรัพย์ หมู่ที่ 8 ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 210 ไร่ จัดสรรให้ราษฎรชาวไทยภูเขาจำนวน 53 ครอบครัว เป็นพื้นที่ทำกินแปลงละ 1 ไร่ 2 งาน และพื้นที่อยู่อาศัยแปลงละ 1 งาน โดยเข้าอาศัยอยู่ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา และให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ทำกินเพิ่มเติมที่มีความเหมาะสม เพื่อจัดเป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรชาวไทยภูเขาที่ตกค้างอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติคลองลาน และได้รับความเดือดร้อน และทรงมีพระราชดำรัสให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้ามาดำเนินงานต่อ ร่วมกับหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 เพื่อนำเอาผลงานและแนวทางการพัฒนาของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงและสถานีวิจัยไปขยายผล ส่งเสริมตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยยึดหลัก 3 ประการ คือ ส่งเสริมอาชีพแก่ชาวไทยภูเขายากจนตามหลักมนุษยธรรม ลดการปลูกพืชเสพติด และอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เพื่อการนี้มูลนิธิโครงการหลวงได้ประกาศแต่งตั้งคณะทำงานฯ ขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยเริ่มดำเนินการในพื้นที่บ้านปางมะนาว ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี และบ้านปางมะละกอ ตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง ซึ่งมีพื้นที่รวม 612 ไร่ สามารถรองรับราษฎรชาวไทยภูเขาเข้าอยู่อาศัยและทำกินได้ 80 ครอบครัว และในปี 2543 ให้ดำเนินการในพื้นที่บ้านบึงหล่ม ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน พื้นที่ 1,000 ไร่ และบ้านแปลงสี่ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน พื้นที่ 120 ไร่ เพื่อรองรับราษฎรชาวไทยภูเขาจำนวนที่เหลือเข้าอยู่อาศัยทำกิน โดยให้ปฏิบัติตามแนวทางของมูลนิธิโครงการหลวงเพื่อให้การปฏิบัติงานตามพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการจัดที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขาที่อพยพมาจากอุทยานแห่งชาติคลองลาน จึงโปรดให้ใช้ชื่อเรียกว่า “โครงการคลองลาน” ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ตาก ได้เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งที่ ปี 2539 ได้คัดเลือกเกษตรชาวไทยภูเขา บ้านปางมะนาว ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร (โครงการคลองลาน 2) ที่มีความต้องการผลิตชาใบหม่อน ได้จำนวน 10 ราย เป็นกลุ่มผลิตชาใบหม่อน มีพื้นปลูกหม่อน จำนวน 20 ไร่ โดยทางศูนย์ฯ ได้ให้ความสนับสนุนพันธุ์หม่อนนำลงปลูกในแปลงเกษตกร รวมถึงจัดทำแปลงสาธิตในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปชาใบหม่อน และให้คำปรึกษาแก่ทางกลุ่ม ซึ่งผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนที่ทางกลุ่มผลิตได้จะส่งให้แก่ทางมูลนิธิโครงการหลวงเพื่อจำหน่ายต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านหม่อนไหมให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการเรียนรู้และปฏิบัติได้ 2. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานของเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการตัดสินใจประกอบอาชีพการเกษตร จำนวนเกษตรกรในกลุ่มผลิตชาใบหม่อน เกษตรกร จำนวน 10 ราย พื้นที่ปลูกหม่อน จำนวน 20 ไร่ ระยะเวลา เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 – ปัจจุบัน งบประมาณ งบประมาณ 40,000 บาท ผลการดำเนินงาน 1. ประชุมชี้แจงเกษตรกรในโครงการฯ จำนวน 1 ครั้ง 2. จัดอบรมการปลูกหม่อนและการดูแลจัดการแปลงหม่อนเพื่อผลิตชาใบหม่อน การผลิตชาใบหม่อนแบบครัวเรือนให้ได้คุณภาพ อบรมการทำบรรจุภัณฑ์ชาใบหม่อนแบบครัวเรือนให้กลุ่มนำไปทำเอง 3. ให้ความรู้ คำแนะนำในการผลิตและบรรจุภัณฑ์ชาเขียวใบหม่อนให้ได้คุณภาพผ่าน อย. ร่วมออกแบบสติกเกอร์สรรพคุณชาใบหม่อนให้กับกลุ่มเกษตรกร 4. ประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติงาน การขอใบรับรองคุณภาพอาหารและยา (อย.) ของชาใบหม่อนให้แก่กลุ่มเกษตรกร 5. ติดตามติดตามความก้าวหน้าของกลุ่มเกษตรกรผลิตชาใบหม่อน และให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการ จำนวน 3 ครั้ง ปัญหาและอุปสรรค 1. เกษตรกรไม่สามารถผลิตชาใบหม่อนได้ในช่วงฤดูแล้ง 2. เกษตรกรไม่สามารถผลิตชาให้ได้คุณภาพสม่ำเสมอ 3. อาคารและสถานที่ในการผลิตชาใบหม่อนของกลุ่มเกษตรยังไม่ได้มาตรฐาน 4. เกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มผลิตชาใบหม่อนไม่ได้รวมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โครงการขยายผลโครงการหลวง ตามพระราชดำริ บ้านละเบายา อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน ------------------------------------------------------------- พื้นที่ดำเนินการ : - บ้านละเบายา ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน การดำเนินงาน : - ปลูกหม่อนในพื้นที่โครงการ จำนวน 1 แปลง 3 ไร่ 300 ต้น - สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์หม่อน/วัสดุปลูกหม่อน - แนะนำความรู้ด้านวิชาการ - จัดทำป้ายโครงการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ: 35,000 บาท หมายเหตุ ศูนย์ฯ จะเริ่มดำเนินการสนับสนุนกิ่งตอนพันธุ์หม่อนผลสดและวัสดุปลูกในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2551 โครงการขยายผลโครงการหลวง ตามพระราชดำริ บ้านโป่งคำ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน -------------------------------------------------------------- พื้นที่ดำเนินการ : - บ้านโป่งคำ ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน การดำเนินงาน : - ปลูกหม่อนในพื้นที่โครงการ จำนวน 1 แปลง 3 ไร่ 300 ต้น - สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์หม่อน/วัสดุปลูกหม่อน - แนะนำความรู้ด้านวิชาการ - จัดทำป้ายโครงการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ: 35,000 บาท หมายเหตุ ศูนย์ฯ จะเริ่มดำเนินการสนับสนุนกิ่งตอนพันธุ์หม่อนผลสดและวัสดุปลูกในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2551 โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินตามพระราชดำริ บ้านสะจุก-สะเกี้ยง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน ----------------------------------------------------------- ความเป็นมาของโครงการ • วันที่ 9 มกราคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินบริเวณบ้านสะจุก-สะเกี้ยง ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่านมีการบุกรุกทำลายป่า ซึ่งเป็นต้นน้ำน่าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง” เป็นศูนย์แหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร และแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายป่า • วันที่ 21 กรกฎาคม 2549 จัดตั้ง โครงการ “รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ • โดยดำเนินการขยายผลโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านสะจุก-สะเกี้ยง ชื่อโครงการ “รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” ลุ่มน้ำขุนน่าน ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก คือ 1. งานพัฒนาแหล่งน้ำ 2. งานอนุรักษ์ดินและน้ำ 3. งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ 4. งานถ่ายทอดเทคโนโลยี 5. งานสนับสนุนศูนย์ วัตถุประสงค์ 1. เป็นจุดสาธิตและแปลงเรียนรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่และผู้สนใจ 2. รักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ป่าต้นน้ำลำธาร ลดการใช้สารเคมี 3. เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดและความมั่นคงตามแนวชายแดน 4. เป็นพืชทดแทนพืชอื่นที่มีปัญหา เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5. เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร 6. ศึกษาและพัฒนาการปลูกหม่อนผลสดเพื่อส่งเสริมแก่เกษตรกรในพื้นที่สูง ผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ.2549 · สนับสนุนต้นพันธุ์หม่อนผลสด พันธุ์เชียงใหม่ จำนวน 300 ต้นในพื้นที่สถานีฯ · สนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหม จำนวน 14 รายการ ปี พ.ศ.2550 · ขยายผลแปลงหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่สู่เกษตรกร จำนวน 5 ราย ๆ ละ 1 ไร่ รวม 5 ไร่ · สนับสนุนวัสดุปลูกหม่อนผลสด - ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด รายละ 200 กก. รวม 1,000 กก. - ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 รายละ 20 กก. รวม 100 กก. · สนับสนุนต้นพันธุ์หม่อนผลสด พันธุ์เชียงใหม่ จำนวน 500 ต้น แผนการดำเนินงานปี 2551 (ต่อเนื่อง) · ขยายผลแปลงหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่สู่เกษตรกรรายใหม่เพิ่ม จำนวน 5 ราย ๆ ละ 1 ไร่ รวม 5 ไร่ · สนับสนุนต้นพันธุ์หม่อนผลสด พันธุ์เชียงใหม่ จำนวน 500 ต้น · ฝึกอบรมเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ หลักสูตรการแปรรูปหม่อน จำนวน 2 ครั้ง จำนวน 12 ราย · ติดตามงานโครงการฯ จำนวน 10 ครั้ง ผลการดำเนินงาน ปี 2551 · ฝึกอบรมเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อน 1 ครั้ง จำนวน 2 ราย · ติดตามงานโครงการฯ จำนวน 5 ครั้ง ผลที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร/หน่วยงาน · เกษตรกรลดพื้นที่การบุกรุกทำลายป่า · คาดว่าเกษตรกรมีรายได้จากการขายผลหม่อนสดประมาณ 1,000 บาท/ไร่ (ในปีที่ 2 อยู่ระหว่างการเก็บผลและเพิ่มปริมาณ · เกษตรกรมีผลหม่อนสดรับประทาน · เกษตรกรใช้เวลาว่างเป็นระโยชน์ในช่วงฤดูแล้ง พื้นที่ดำเนินการ: - บ้านสะจุก-สะเกี้ยง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน การดำเนินงาน: - ปลูกหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ในระดับเกษตรกร จำนวน 5 ราย 5 ไร่ 500 ต้น โดยสนับสนุนต้นหม่อนและปัจจัยการผลิต - ฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรการแปรรูปหม่อนผลสด และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ การแปรรูป จำนวน 10 คน - จัดทำป้ายโครงการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ: 186,000 บาท หมายเหตุ - ศูนย์ฯ จะเริ่มดำเนินการสนับสนุนกิ่งตอนพันธุ์หม่อนผลสดและวัสดุปลูกในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2551 โครงการการพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านสบขุ่น อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน ----------------------------------------------------------- พื้นที่ดำเนินการ : - บ้านสบขุ่น ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน การดำเนินงาน : - ปลูกหม่อนในพื้นที่โครงการ จำนวน 1 แปลง 3 ไร่ 300 ต้น - สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์หม่อน/วัสดุปลูกหม่อน - แนะนำความรู้ด้านวิชาการ - จัดทำป้ายโครงการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ: 35,000 บาท หมายเหตุ ศูนย์ฯ จะเริ่มดำเนินการสนับสนุนกิ่งตอนพันธุ์หม่อนผลสดและวัสดุปลูกในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2551 โครงการการพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านสันติสุข อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน พื้นที่ดำเนินการ : - บ้านสันติสุข ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา การดำเนินงาน : - ปลูกหม่อนในพื้นที่โครงการ จำนวน 1 แปลง 3 ไร่ 300 ต้น - สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์หม่อน/วัสดุปลูกหม่อน - แนะนำความรู้ด้านวิชาการ - จัดทำป้ายโครงการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ: 47,000 บาท หมายเหตุ ศูนย์ฯ จะเริ่มดำเนินการสนับสนุนกิ่งตอนพันธุ์หม่อนผลสดและวัสดุปลูกในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2551 โครงการ การพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านห้วยหยวกป่าโซ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน ----------------------------------------------------------- พื้นที่ดำเนินการ : - บ้านห้วยหยวกป่าโซ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย การดำเนินงาน : - ปลูกหม่อนในพื้นที่โครงการ จำนวน 1 แปลง 3 ไร่ 300 ต้น - สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์หม่อน/วัสดุปลูกหม่อน - แนะนำความรู้ด้านวิชาการ - จัดทำป้ายโครงการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ: 47,000 บาท หมายเหตุ ศูนย์ฯ จะเริ่มดำเนินการสนับสนุนกิ่งตอนพันธุ์หม่อนผลสดและวัสดุปลูกในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2551 โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงภูพยัคฆ์ ตามพระราชดำริ บ้านน้ำรี อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน ----------------------------------------------------------- ความเป็นมาของโครงการ วันที่ 12 มกราคม 2546 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินบริเวณบ้านน้ำรีพัฒนา ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน มีการบุกรุกทำลายป่า ซึ่งเป็นต้นน้ำน่าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริภูพยัคฆ์” เป็นศูนย์แหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร และแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายป่าและยาเสพติดตลอดถึงความมั่นคงตามแนวชายแดน วัตถุประสงค์ 1. เป็นจุดสาธิตและแปลงเรียนรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่และผู้สนใจ 2. รักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ป่าต้นน้ำลำธาร ลดการใช้สารเคมี 3. เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดและความมั่นคงตามแนวชายแดน 4. เป็นพืชทดแทนพืชอื่นที่มีปัญหา เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5. เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร 6. ศึกษาและพัฒนาการปลูกหม่อนผลสดเพื่อส่งเสริมแก่เกษตรกรในพื้นที่สูง ผลการดำเนินงาน · ปลูกหม่อนผลสดแปลงเรียนรู้เกษตรกรในสถานี จำนวน 3 ไร่ 300 ต้น · ขยายแปลงหม่อนสู่เกษตรกร ปี 2550 จำนวน 5 ราย 5 ไร่ และปี 2551 จำนวน 5 ราย 5 ไร่ · ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรการแปรรูปหม่อน จำนวน 2 ครั้ง ผลที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร/หน่วยงาน · เกษตรกรลดพื้นที่การบุกรุกทำลายป่า · คาดว่าเกษตรกรมีรายได้จากการขายผลหม่อนสดประมาณ 1,500 บาท/ไร่ (ในปีที่ 2 อยู่ระหว่างการเก็บผลและเพิ่มปริมาณ · เกษตรกรมีผลหม่อนสดรับประทาน · เกษตรกรใช้เวลาว่างเป็นระโยชน์ในช่วงฤดูแล้ง พื้นที่ดำเนินการ: - บ้านน้ำรี อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน การดำเนินงาน : - โครงการขยายผล แปลงหม่อนผลสู่เกษตรกร จำนวน 5 ราย 5 ไร่ 500 ต้น - สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์หม่อน/วัสดุปลูกหม่อน - แนะนำความรู้ด้านวิชาการ - จัดทำป้ายโครงการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ: 41,000 บาท หมายเหตุ ศูนย์ฯ จะเริ่มดำเนินการสนับสนุนกิ่งตอนพันธุ์หม่อนผลสดและวัสดุปลูกในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2551 โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน ----------------------------------------------------------- พื้นที่ดำเนินงาน : - บ้านห่างทางหลวง ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน การดำเนินงาน: - ปลูกหม่อนในพื้นที่โครงการเพื่อเก็บข้อมูล จำนวน 10 รายๆ ละ 1 ไร่ๆ ละ 100 ต้น - สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์หม่อน/วัสดุปลูกหม่อน - แนะนำความรู้ด้านวิชาการ - จัดทำป้ายโครงการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ: 56,748 บาท หมายเหตุ ศูนย์ฯ จะเริ่มดำเนินการสนับสนุนกิ่งตอนพันธุ์หม่อนผลสดและวัสดุปลูกในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2551 โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่ผู้ต้องขังก่อนการปลดปล่อย ตามโครงการคืนคนดีสู่สังคม เรือนจำจังหวัดน่านตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา อ.เมือง จ.น่าน ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน ----------------------------------------------------------- พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องสมุดพร้อมปัญญาเรือนจำจังหวัดน่าน เมื่อวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2547 “ พื้นที่น่านเดิม มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แต่ปัจจุบันเลิกไป ควรจะได้มีการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขึ้นมาใหม่ ” วันที่ 19 กรกฎาคม 2548 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมกิจการของเรือนจำจังหวัดน่าน โดยได้พระราชทานเสนอแนะนำว่า ..... “การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในจังหวัดน่าน ได้แนะนำส่งเสริมมานานแล้วแต่ยังไม่มีที่ไหนทำ คงจะมีเรือนจำนี้ทำเป็นแห่งแรก แต่ควรให้ครบวงจรตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหมและจำหน่าย ฉันจะเป็นลูกค้าให้” ลักษณะโครงการ ฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมตลอดจนการแปรรูปหม่อนและไหมแบบครบวงจรแก่ผู้ต้องขังทั้งชายหญิงก่อนการปลดปล่อยตามโครงการ “คืนคนดีสู่สังคม” ของกรมราชทัณฑ์ • เริ่มดำเนินโครงการในปี พ.ศ.2545 • ปลูกหม่อนพื้นที่ 10 ไร่ • สร้างห้องเลี้ยงไหมขนาด 8x20 เมตร จำนวน 1 ห้อง • ฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติเลี้ยงไหม • เลี้ยงไหม 5 รุ่นๆ ละ 2-3 กล่อง ผลผลิต 550 กิโลกรัม • รายได้ประมาณ 50,000 บาท (เลี้ยงไหมขายรัง) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ต้องขังมีความรู้ ความสามารถด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สามารถนำไปประกอบอาชีพโดยสุจริตสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวหลังจากพ้นโทษ สถานที่ดำเนินการ ศูนย์เตรียมการปลดปล่อยเขาน้อย เรือนจำชั่วคราวเขาน้อย เลขที่ 563 ม.4 ต.ไชยสถาน อ.เมือง จ.น่าน การดำเนินงานในปัจจุบัน • ปลูกหม่อนสำหรับเลี้ยงไหม พันธุ์บุรีรัมย์ 60 พื้นที่ 18 ไร่ • ปลูกหม่อนผล พันธุ์เชียงใหม่ พื้นที่ 2 ไร่ • อบจ.น่าน สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องเลี้ยงไหม ขนาด 8x20 เมตร จำนวน 2 ห้อง • จัดทำระบบน้ำในแปลงหม่อน 10 ไร่ • สนับสนุนกี่ทอผ้า พวงสาวไหม และวัสดุการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหม จำนวน 9 รายการ • อบรมการเลี้ยงไหม/การแปรรูปหม่อนไหม/สาวไหม/ทอผ้า แก่ผู้ต้องขังทั้งชายและหญิง ผลการดำเนินงาน การฝึกอบรมแก่ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่าน วันที่ดำเนินการ หลักสูตร จำนวน (ราย) 1-5 มิ.ย. 48 การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 20 19 ก.ค. 48 การทำชาเขียวใบหม่อน 20 29-30 ก.ย. 48 การสาวไหม 20 14-15 พ.ย. 48 การฟอกย้อมสีเส้นไหม 10 22-25 พ.ย. 48 การทอผ้า 20 25 พ.ย. 48 การทำชาเขียวใบหม่อน 20 14 ธ.ค. 48 การสาวไหมด้วยมือและการย้อมสีเส้นไหม 20 15-19 พ.ค. 49 การสาวไหมโดยเครื่องสาวไหมเด่นชัย 2 30 16-20 ต.ค. 49 การฟอกย้อมและทอเส้นไหม โดยพัฒนาให้ใช้สีธรรมชาติและใช้ไหมยืน ไหมพุ่งเป็นไหมพันธุ์ไทย 30 มกราคม 50 ตรวจสอบผ้าไหม เพื่อขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย (ตรานกยูงพระราชทาน) จำนวน 38 ดวง - ต.ค. 50- มี.ค. 51 - ฝึกปฏิบัติการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่ผู้ต้องขัง จำนวน 4 รุ่น - ฝึกอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหมแก่เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง - ปลูกหม่อนผลสดและจัดทำระบบน้ำ จำนวน 1 แปลง 2 ไร่ 25 30 ผลที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร/หน่วยงาน · ผู้ต้องขังได้รับความรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อสามารถนำไปประกอบอาชีพได้หลังจากการ พ้นโทษ จำนวน 287 คน · เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ฯ กับเรือนจำจังหวัดน่านเพื่อสนองตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และเป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงานได้เป็น อย่างดี ปัญหาและอุปสรรค สถานที่ดำเนินการพื้นที่สูง • แต่ละจุดไกล ระยะทางการเดินทางในสภาพเส้นทางเป็นภูเขา การเดินทางขนส่งปัจจัยการผลิตและผลผลิตไม่สะดวก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง • หม่อนผลสดเป็นพืชใหม่สำหรับเกษตรกรการยอมรับค่อนข้างน้อย • การปฏิบัติงานของเกษตรกรยังยึดติดวัฒนาธรรมประเพณี (อยู่กรรม) ไม่มาตามนัดหมาย พื้นที่ดำเนินการ: - เรือนจำชั่วคราวเขาน้อยและเรือนจำจังหวัดน่าน การดำเนินงาน : - ฝึกอบรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่ผู้ต้องขัง - ฝึกอบรมการแปรรูปหม่อนไหมและการทอผ้าแก่ผู้ต้องขัง - แนะนำความรู้ด้านวิชาการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมการปลูกหม่อนผลสด โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จ.น่าน ดำเนินการโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน ----------------------------------------------------------- พื้นที่ดำเนินการ: - โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านน้ำปี้ ต.น้ำมวบ อ.เวียงสา จ.น่าน - โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสว่าง ต.น้ำพาง อ.แม่จริม จ.น่าน - โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเลาลูกเสือรถไฟมักกะสัน ต.ยอด อ.สองแคว จ.น่าน - โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสมเด็จย่า 100 ปี บ้านสไล ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน การดำเนินงาน : - ปลูกหม่อนผลสดในพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 4 แห่งๆ ละ 1 ไร่ๆ ละ100 ต้น - สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์หม่อน/วัสดุปลูกหม่อน - แนะนำความรู้ด้านวิชาการ - จัดทำป้ายโครงการ - ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน งบประมาณ: 43,000 บาท หมายเหตุ ศูนย์ฯ จะเริ่มดำเนินการสนับสนุนกิ่งตอนพันธุ์หม่อนผลสดและวัสดุปลูกในเดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน 2551 โครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ บ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ----------------------------------------------------------------------- ความเป็นมา โครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎรชาวไทยภูเขา เช่น กะเหรียง และลีซอ เป็นต้น ในเขตพื้นที่ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่ มีอาชีพทำการเกษตร ได้แก่ทำนา ทำสวน ทำไร่ แต่เนื่องจากแต่ละครอบครัวมีพื้นที่ทำกินค่อนข้างจำกัด และสภาพพื้นที่เป็นภูเขา สลับกับที่ราบเชิงเขา สูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง ประมาณ 1,000-1,400 เมตร ผลผลิต และรายได้จากการประกอบอาชีพทางการเกษตร ไม่เพียงพอกับการเลี้ยงครอบครัว จึงได้มีกิจกรรมการทดสอบและพัฒนาการปลูกพืชแบบผสมผสาน เพื่อเป็นรูปแบบและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้ผลดีให้กับเกษตรกร ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในสภาพไร่นาของเกษตรกร เป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอาชีพที่มั่นคงต่อไป พระราชดำริ ให้ดำเนินการจัดตั้งฟาร์มตัวอย่าง โดยดำเนินการเป็นลักษณะศูนย์ฝึกอบรมอาชีพการเกษตร ปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่ นกกระทา เป็ดเทศ ตลอดจนให้มีการเพาะเห็ดและปลูกไม้ใช้สอยสำหรับราษฎร วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบและพัฒนาพืชเศรษฐกิจแบบผสมผสาน ให้เป็นรูปแบบหรือทางเลือกให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เรียนรู้ นำไปปรับใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สถานที่ดำเนินการ บ้านขุนแตะ หมู่ที่ 5 ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มดำเนินโครงการ ปี พ.ศ. 2541 ผลการดำเนินงาน ประจำปื 2550 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานในกิจกรรมของโครงการฟาร์มตัวอย่างในปีงบประมาณ 2550 ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ซึ่งมีกิจกรรมที่ได้ร่วมดำเนินงาน ดังนี้ 1) จัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การทำน้ำหม่อนแปรรูป และการทำไวน์หม่อนให้กับบุคลากรของโครงการฯ จำนวน 8 คน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความชำนาญ และสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่เกษตรกร และโครงการฯ นำไปปรับใช้ในทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น 2) สนับสนุนอุปกรณ์ก่อสร้างสำหรับปรับปรุงพื้นห้องโรงบ่มไวน์ของโครงการ ในพื้นที่ 70 ตารางเมตร เพื่อให้พื้นห้องมีความสะอาด สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานมีความคล่องตัวดียิ่งขึ้น 3) สนับสนุนหม่อนกิ่งตอนพันธุ์เชียงใหม่ แก่เกษตรกร จำนวน 5 ราย รายละ 50 ต้น รวม 250 ต้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปลูกและดูแลรักษา โดยมีจุดมุ่งหมายจะเก็บผลส่งจำหน่ายแก่โครงการฯ เพื่อแปรรูปผลหม่อนในปีต่อไป 4) สนับสนุนวัสดุการปรับปรุงอาคารผลิตชาใบหม่อน ให้สามารถขอ อย. ได้ต่อไป 5) ส่งเสริมให้มีการผลิตชาใบหม่อนออกจำหน่ายทั้งในตลาดท้องถิ่นและตลาดต่างจังหวัด โดยให้การสนับสนุน ปัจจัยการผลิต เช่นกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ 1) โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ มีความต้องการให้ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ สนับสนุนช่วยเหลือทั้งความรู้และงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานความรู้ต่างๆ ในด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจ ซึ่งจะได้เสนอให้ผู้บริหารได้กำหนดแผนงานและสนับสนุนงานตามภารกิจของสถาบันฯ ให้มีความเหมาะสมในโอกาสต่อไป 2) การคมนาคมลำบาก จึงเป็นต้องจัดหายานพาหนะที่ดี เหมาะสมในการไปปฏิบัติงาน 3) การขยายงานส่งเสริมการปลูกหม่อนผลสด พันธุ์เชียงใหม่ในเขตพื้นที่ มีโอกาสดี เพราะเกษตรกรมีความคุ้นเคย ถ้าหากมีการพัฒนาการทำแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากหม่อนเพิ่มมากขึ้นของโครงการฯ ก็จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลหม่อนแก่โครงการได้มาก จะช่วยให้เศรษฐกิจของชุมชนได้พัฒนาเพิ่มขึ้นด้วย จึงสมควรจะขยายงานส่งเสริมเพิ่มขึ้น โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ สนับสนุนต้นหม่อนให้เกษตรกรในพื้นที่ และมีการติดตามถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในการปฏิบัติงานเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด โครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ บ้านแม่ตุงติง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ----------------------------------------------------------------------- ความเป็นมา โครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎรชาวไทยภูเขา เช่น กะเหรียง และลีซอ เป็นต้น ในเขตพื้นที่ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นคู่กับโครงการโครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านขุนแตะ ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่ มีอาชีพทำการเกษตร ได้แก่ทำนา ทำสวน ทำไร่ แต่เนื่องจากแตะละครอบครัวมีพื้นที่ทำกินค่อนข้างจำกัด และสภาพพื้นที่เป็นภูเขา สลับกับที่ราบเชิงเขา สูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง ประมาณ 1,000-1,400 เมตร ผลผลิต และรายได้จากการประกอบอาชีพทางการเกษตร ไม่เพียงพอกับการเลี้ยงครอบครัว จึงได้มีกิจกรรมการทดสอบและพัฒนาการปลูกพืชแบบผสมผสาน เพื่อเป็นรูปแบบและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้ผลดีให้กับเกษตรกร ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในสภาพไร่นาของเกษตรกร เป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอาชีพที่มั่นคงต่อไป พระราชดำริ ให้ดำเนินการจัดตั้งฟาร์มตัวอย่าง โดยดำเนินการเป็นลักษณะศูนย์ฝึกอบรมอาชีพการเกษตร ปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่ นกกระทา เป็ดเทศ ตลอดจนให้มีการเพาะเห็ดและปลูกไม้ใช้สอยสำหรับราษฎร วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบและพัฒนาพืชเศรษฐกิจแบบผสมผสาน ให้เป็นรูปแบบหรือทางเลือกให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เรียนรู้ นำไปปรับใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สถานที่ดำเนินการ บ้านแม่ตุงติง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มดำเนินโครงการ ปี พ.ศ. 2541 ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2550 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ในปีงบประมาณ 2550 ในกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้ 1) จัดประชุมเกษตรกรเพื่อฟื้นฟูการดำเนินงานปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ร่วมกับเกษตรกรสมาชิกที่คงเหลือ 16 ราย และมีความยินดีที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในพื้นที่โครงการฯ อีกครั้ง ทั้งนี้เกษตรกรเป็นชาวไทยพื้นเมือง มีความตั้งใจที่จะรับกิจกรรมส่งเสริมเป็นอย่างมาก 2) สนับสนุนวัสดุก่อสร้างโรงเลี้ยงไหมแบบชั่วคราว 1 โรงเรือน ขนาด 6 x 8 เมตร 3)สนับสนุนต้นกล้าพันธุ์หม่อน บุรีรัมย์ 60 เพื่อปลูกในแปลงสมาชิกของโครงการ จำนวน 2 ไร่ และหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ จำนวน 1,000 ต้น ซึ่งวางแผนจะให้มีผลหม่อนสำหรับกิจกรรมแปรรูปในลักษณะต่างๆ สำหรับหม่อนบุรีรัมย์ 60 ปลูกไว้เพื่อเป็นแหล่งต้นพันธุ์ และให้เกษตรกรสมาชิกได้นำใบมาเลี้ยงไหมในปีงบประมาณต่อไป 4)สนับสนุนวัสดุก่อสร้างโรงเรียนแปรรูปผลผลิตแบบชั่วคราว จำนวน 1 โรงเรือน ซึ่งมีวัสดุ จำนวน 6 รายการ และโครงการฯ เป็นผู้จัดหาแรงงาน และดำเนินการก่อสร้าง เพื่อใช้แปรรูปผลผลิต ในปีงบประมาณต่อไป ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ 1) เกษตรกรในพื้นที่มีความสนใจในกิจกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นอันมาก จึงขอเสนอให้มีการจัดทำแผนการเลี้ยงไหม ที่มีประสิทธิภาพ โดยขอเสนอให้เกษตรกรเลี้ยงไหมวัยแก่ ซึ่งอาจเริ่มเลี้ยงในช่วงวัย 3 เป็นต้นไป สำหรับวัย 1-2 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จะเป็นผู้ดำเนินการ 2) กิจกรรมการแปรรูปผลผลิตจากหม่อน โครงการฟาร์มตัวอย่างมีความสนใจที่จะดำเนินการอย่างจริงจัง ดังนั้น เห็นควรจะให้มีการวางแผนงานส่งเสริมการปลูกหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ ในปีงบประมาณ 2551 แก่เกษตรกรผู้สนใจ และเพื่อมีผลผลิตส่งจำหน่ายให้แก่โครงการฯ เพื่อนำไปแปรรูปต่อไป โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านดงเย็น ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ดำเนินงานโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ -----------------------------------------------------------------------

ความเป็นมา โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านดงเย็น ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยชาวบ้านทุ่งสะแพก ซึ่งมีราษฎรทั้งชาวไทยพื้นราบ และชาวไทยภูเขาชนเผ่ากะเหรี่ยงที่มีอาชีพทำกินค่อนข้างจำกัด สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 400-500 เมตร ผลผลิตและรายได้จากการเกษตรไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว จึงได้มีกิจกรรมการทดสอบและพัฒนาการปลูกพืชแบบผสมผสาน เพื่อเป็นรูปแบบและถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่ได้ผลดีให้กับเกษตรกร ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในไร่นาของเกษตรกร เป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอาชีพที่มั่นคงต่อไป แนวพระราชเสาวนีย์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จเยี่ยมราษฎร ณ บ้านห้วยสะแพก หมู่ที่ 9 ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ กับผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจการพิเศษ (นายสหัส บุญญาวิวัฒน์) โดยให้จัดซื้อพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเพื่อจัดตั้งฟาร์มตัวอย่างสำหรับราษฎรที่มีฐานะยากจนได้มีงานทำ ซึ่งทางผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจการพิเศษ และสำนักบริหารจัดการพื้นที่ อนุรักษ์ที่ 16 ได้สำรวจและคัดเลือกพื้นที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าธารบ้านดงเย็น หมู่ที่ 15 ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เนื้อที่ 300 ไร่ เพื่อจัดตั้งฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านดงเย็นขึ้น วัตถุประสงค์ 1. ส่งเสริมราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ให้มีรายได้เสริมจากการเข้าร่วมกิจกรรมของฟาร์มฯ 2. เป็นแหล่งอาหารให้กับราษฎร (Food Banks) ให้กับราษฎร 3. เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร เพื่อให้ราษฎรเข้าไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 4. ช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ในพื้นที่ให้คงสภาพสมบูรณ์ตลอดไป เป้าหมายของโครงการ สามารถสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีความห่วงใยราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ชนบทให้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ผลการดำเนินงาน 1. สาธิตและการถ่ายทอดวิธีการทำน้ำหม่อนแช่อิ่ม จำนวน 4 กิโลกรัม - จำนวนเจ้าหน้าที่ของฟาร์มที่ถ่ายทอดความรู้ จำนวน 7 คน - ให้คำปรึกษาเทคนิคในการทำหม่อนแช่อิ่ม 2. สาธิตและถ่ายทอดวิธีการทำแยมหม่อน จำนวน 5 กิโลกรัม - จำนวนเจ้าหน้าที่ของฟาร์มที่ถ่ายทอดความรู้ จำนวน 7 คน - ให้คำปรึกษาเทคนิคในการทำแยมหม่อน 3. ถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในฟาร์มตัวอย่างฯบ้านดงเย็นมีความสนใจที่จะปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ประมาณ 5 ราย 4. สนับสนุนต้นพันธุ์หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ อายุ 5 ปี ชนิดขุดล้อมให้กับโครงการเพื่อปลูกเป็นแปลงสาธิตในโครงการ ฯ จำนวน 200 ต้น สถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตรป่าไม้ สิ่งแวดล้อมตามพระราชดำริบ้านแปกแซม อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ----------------------------------------------------------------------- ความเป็นมา วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเยี่ยมราษฎร บ้านแปกแซม ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ และทรงทอดพระเนตรสวนมันฝรั่ง ซึ่งอยู่ห่างบ้านแปกแซมไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กม. ทรงพบว่าทั้ง 2 จุดเป็นแหล่งต้นน้ำหกหลวง, ห้วยสามหมื่น, ห้วยนาอ่อน, ห้วยนายาว ซึ่งไหลไปลงน้ำแม่แตง ป่าไม้ได้ถูกแผ้วถางทำไร่มันฝรั่ง ไร่เผือก และสวนลิ้นจี่ และมีแนวโน้มจะถูกแผ้วถางตามจำนวนประชากรของหมู่บ้านที่อยู่โดยรอบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หมู่บ้านเหล่านั้น ได้แก่ บ้านเปียงหลวง บ้านหินแตก อีกทั้งหมู่บ้านดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อปัญหายาเสพติด อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีความห่วงใยสภาพป่าที่ถูกทำลายเป็นจำนวนมาก จึงได้มีพระราชเสาวนีย์ให้จัดตั้งโครงการจัดตั้งสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตรป่าไม้สิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากพระราชดำริ ดังกล่าว พระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดตั้งสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตรป่าไม้สิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ความเป็นอยู่ และบรรเทาความเดือนร้อนของราษฎรในพื้นที่ รวมทั้งอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้คืนสภาพสมบูรณ์ดั่งเดิมเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สำหรับใช้อุปโภค บริโภค รวมทั้งใช้ในการเกษตรต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมอาชีพและเพิ่มศักยภาพ ด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของราษฎรในพื้นที่เป้าหมาย 2. เพื่อจัดการและปรับปรุงแหล่งน้ำไว้ใช้การอุปโภค บริโภค และการเกษตรในพื้นที่ 3. เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพต้นน้ำ สร้างความชุ่มชื้น สถานที่ดำเนินการ บ้านแปกแซม ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการปี พ.ศ. 2543 ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2550 สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ได้มอบหมายให้ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้เข้าสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ซึ่งได้ร่วมดำเนินงานกับผู้รับผิดชอบของสถานีสาธิตฯ ในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งกิจกรรมหลักจะมุ่งเน้นในพื้นที่ของสถานีสาธิตฯ และกิจกรรมส่งเสริมถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรและสถานีฯ ดังนี้ 1) สนับสนุนต้นพันธุ์หม่อนเพื่อใช้ปลูกในแปลงสาธิตของสถานีฯ จำนวนทั้งสิ้น 400 ต้น ซึ่งสถานีฯ กำหนดว่าจะใช้เป็นแปลงผลิตผลสดเพื่อนำมาแปรรูป และส่งจำหน่ายในระยะต่อไป 2) ส่งมอบกิ่งตอนหม่อนให้แก่เกษตรกร จำนวน 5 ราย ที่ต้องการปลูก 50 ต้น (กิ่งตอนสูง 1.5 เมตร) รวม 250 ต้น คาดว่าอีก 2 ปีจะสามารถให้ผลผลิต และส่งจำหน่ายให้กับสถานีฯ เพื่อแปรรูปและจำหน่ายได้ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง 3) สนับสนุนเครื่องสาวไหม เด่นชัย 1 พร้อมอุปกรณ์รวม 1 ชุด และได้ถ่ายทอดความรู้ และฝึกปฏิบัติการสาวไหมให้แก่เกษตรกรสมาชิกของสถานีฯ จำนวน 2 ราย เพื่อจะได้มีความรู้และประสบการณ์ตลอดจนทักษะการสาวเส้นไหมที่ถูกต้อง เพื่อจะพัฒนาความสามารถและใช้เป็นอาชีพการสาวเส้นไหมในโอกาสต่อไป 4) จัดสร้างโรงเลี้ยงไหมชั่วคราว ขนาด 6 x 6 เมตร จำนวน 1 หลัง และได้ทำการทดลองเลี้ยงไหม จำนวน 3 รุ่น ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสมาชิก จำนวน 4 ราย มีความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้น และมุ่งหวังในระยะต่อไปจะสามารถดำเนินการเลี้ยงไหมพันธุ์ไทย และสามารถสาวเส้นส่งจำหน่ายให้กับงานส่งเสริมศิลปาชีพได้ 5) สนับสนุนอุปกรณ์ระบบน้ำและจัดทำระบบน้ำให้กับแปลงหม่อน บุรีรัมย์ 60 จำนวน 2 ไร่ เพื่อให้สามารถเก็บผลผลิตใบ มาใช้เลี้ยงไหมได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และใช้ กิ่งพันธุ์ขยายพันธุ์ในพื้นที่ได้ต่อไป 6) สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำโรงเรือนแปรรูปผลผลิตชั่วคราว จำนวน 1 หลัง เพื่อจะใช้แปรรูปผลผลิตหม่อนในปีงบประมาณ 2551 ซึ่งสถานีฯ มีเป้าหมายจะจัดทำน้ำหม่อนพร้อมดื่มบรรจุขวด ส่งจำหน่าย ซึ่งจะมีการประสานและสนับสนุนการจัดทำในปีต่อไป 7) ถ่ายทอดความรู้การฟอกกาวและการย้อมสีเส้นไหม โดยใช้สีธรรมชาติ และสีเคมี แก่เกษตรกร จำนวน 2 ราย และมอบไว้ให้ทดลองทอผ้าไหมเป็นเส้นยืนและใช้ขนแกะซึ่งผลิตในพื้นที่ของโครงการ ฯ เป็นเส้นพุ่งโดยการใช้วิธีการทอแบบกี่เอวตามวิธีการภูมิปัญญาของชนเผ่า โดยมุ่งหวังจะให้เกษตรกรและทักษะความชำนาญ และเป็นการนำร่องก่อนการขยายงานส่งเสริมให้กับเกษตรกรในเขตพื้นที่รอบสถานีในระยะต่อไป ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ 1) ขาดแคลนยานพาหนะที่มีสมรรถนะสูง ในการเดินทางไปปฏิบัติงาน 2) งานส่งเสริมเกษตรกรชาวไทยภูเขา จำเป็นจะต้องมีการทำซ้ำบ่อยๆ ครั้ง จึงจะสามารถทำได้ทำให้ภาคราชการต้องเสียเวลาในการติดตามงานบ่อยครั้ง แต่มีความคาดหวังว่าในอนาคตเกษตรกรจะสามารถทำได้ดีจนสามารถสร้างรายได้สูงเพิ่มขึ้นเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งของครอบครัวอย่างแน่นอน สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ----------------------------------------------------------------------- ความเป็นมา เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณดอยม่อนล้าน ณ จุดความสูง 1,360 เมตร ใกล้บ้านอาแย หมู่ที่ 3 ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากได้รับรายงานข้อมูลจากสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกบุกรุกแผ้วถาง ทำไร่หมุนเวียนเป็นแนวกว้างประมาณ 11,000 ไร่ ถ้าไม่มีการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม พื้นที่ป่าก็จะถูกบุกรุกเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลุ่มน้ำแม่งัดและเป็นสาขาของลุ่มน้ำปิงตอนบน และจะเป็นผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนแม่งัดลดลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวเชียงใหม่ นอกจากนั้น นายสมเกียรติ เจริญสุข หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะลวม ได้กล่าวถวายรายงานเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่สำคัญที่พบ ได้แก่ สภาพปัญหาก่อนดำเนินงาน 1. ปัญหาเรื่องการทำการเกษตรไม่มีการอนุรักษ์ ดิน และน้ำ ทำให้ผลผลิตที่ได้ต่ำ ไม่พอกินเนื่องมาจากมีการพังทลายของหน้าดินทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ผลกระทบที่ตามมาทำให้ชุมชนมีการบุกรุกแผ้วถางป่าไม้เพิ่มมากขึ้นทุกปี 2. ปัญหาเรื่องไฟป่า เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาเอง ในการใช้ไฟเผา เพื่อเตรียมพื้นที่แต่ไม่มีการควบคุม ทำให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่ธรรมชาติเป็นประจำทุกปี 3. ปัญหาแรงงานทิ้งถิ่นเกิด จากการทำเกษตรไม่พอกินทำให้วัยแรงงานที่เป็นหนุ่มสาวไปรับจ้างในอำเภอและจังหวัด เพื่อหารายได้เพิ่ม โดยทิ้งเด็กและคนชราไว้ในหมู่บ้าน 4. ปัญหาเรื่องสุขภาพและอนามัย เกิดจากตัวชาวเขาเองที่มีความยากจน ทำให้สภาพบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และแหล่งน้ำอุปโภคไม่สะอาดเท่าที่ควร จึงเกิดโรคทางเดินอาหารและโรคผิวหนัง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญแม่ทัพภาคที่ 3 ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้แทนกรมป่าไม้ ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนกรมพัฒนาชุมชน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16 และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมปรึกษาหารือในการแก้ปัญหา และขอใช้พื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วบริเวณดอยม่อนล้าน พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ มาจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง โดยให้ราษฎรจาก 3 หมู่บ้าน ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ดอยม่อนล้าน มาเข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ 1. บ้านอาบอลาชา หมู่ที่ 11 ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ จำนวน 35 หลังคาเรือน 200 คน 2. บ้านอาบอน หมู่ที่ 11 ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ จำนวน 16 หลังคาเรือน 81 คน 3. ราษฎรบ้านอาแย หมู่ที่ 3 ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ จำนวน 42 หลังคาเรือน 286 คน พระราชดำริ ทรงมีพระราชดำริที่สำคัญดังนี้ 1. จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง เพื่อให้ความรู้แก่ราษฎร ในการทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ โดยใช้พื้นที่อย่างจำกัด แต่ให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น พอเลี้ยงตนเองได้ 2. ยับยั้งการบุกรุกทำลายป่า ทำการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งัด ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของแม่น้ำปิงตอนบน ให้กลับคืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม 3. สร้างงานให้ราษฎร ให้มีอาชีพ มีรายได้ และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น 4. สร้างชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน ให้มีความเข้มแข็งเพื่อต่อต้านปัญหายาเสพติดและสกัดเส้นทางลำเลียงยาเสพติดที่จะลำเลียงจากพื้นที่ตอนเหนือ ผ่านไปยังอำเภอเมืองเชียงใหม่ 5. พัฒนาสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และระบบนิเวศ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในสถานีฯ ได้เรียนรู้การทำการเกษตรอย่างประณีตและถูกหลักวิชาการ เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกแผ้วถางป่าและขยายพื้นที่ทำกินของราษฎร 2. ทำการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณยอดเขาดอยม่อนล้านและบริเวณข้างเคียง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำให้กลับคืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม 3. ให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ เป็นการสนับสนุนรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาการว่างงาน และจัดระเบียบพื้นที่ชุมชนมีความเข้มแข็ง ช่วยป้องกัน สกัดกั้นการแพร่ระบาดของยาเสพติดจากนอกประเทศและช่วยพัฒนาให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สถานที่ดำเนินการ พื้นที่ดำเนินการ เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา บริเวณดอยม่อนล้าน ท้องที่ตำบลป่าตุ้มและตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จุดที่ตั้งสถานี พิกัด 47Q NB-320 484 แผนที่ระวาง 4847 I ความสูงเฉลี่ย 1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ครอบคลุมเนื้อที่ 5,561 ไร่ มีดอยม่อนล้าน เป็นจุดสูงที่สุด ความสูง 1,696 เมตร แหล่งน้ำได้แก่ ลุ่มน้ำแม่สะลวม ลุ่มน้ำห้วยโก๋น ไหลลงสู่ลุ่มน้ำแม่งัด เริ่มดำเนินโครงการ ปี พ.ศ. 2547 ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2550 ในปีงบประมาณ 2550 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เข้าร่วมสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมกับสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการประสานงานการปฏิบัติโดยเน้นหนักในการสนับสนุนการดำเนินงานในสถานีฯ เป็นหลัก และคาดหมายที่จะดำเนินงานส่งเสริมให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขาในระยะต่อไป กิจกรรมที่ได้ดำเนินกานแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2550 มีดังนี้ 1) สนับสนุนต้นพันธุ์หม่อนผลสด พันธุ์เชียงใหม่ จำนวน 200 ต้น (ต้นใหญ่ล้างรากอายุ 5 ปี) กำหนดเป้าหมายที่จะใช้ผลผลิตหม่อนผลสด ไปใช้ในการแปรรูปและจำหน่ายให้กับผู้บริโภคต่อไป 2) สนับสนุนวัสดุสำหรับจัดสร้างโรงเรือนแปรรูปผลผลิตแบบชั่วคราว จำนวน 1 หลัง โดยที่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จัดหาวัสดุ ปูนซีเมนต์ กระเบื้องปูพื้น, ปูนยาแนว, สังกะสีหลังคา, ทรายหยาบ, และหิน ซึ่งสถานีได้สนับสนุนจัดหา แรงงานในพื้นที่ดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ 1) ขาดแคลนยานพาหนะที่มีสมรรถนะสูงในการเดินทางไปปฏิบัติงาน เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ทางคมนาคมยังเป็นถนนลูกรัง ในช่วงฤดูฝน การคมนาคม ค่อนข้างลำบาก 2) งานส่งเสริมเกษตรกร ให้มีอาชีพจากการผลิตผลหม่อน เพื่อจำหน่ายให้กับสถานีฯ จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ของครอบครัวเพิ่มขึ้น สมควรจะมีการกำหนดแผนงานส่งเสริมสำหรับเกษตรกรในปีงบประมาณต่อไป และเนื่องจากหม่อนผลสดเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตในเขตพื้นที่ ที่มีความสูงระดับ 1,000 เมตร ขึ้นไปได้ดี อีกทั้งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการใช้สารเคมีมาก เหมือนพืชชนิดอื่น จึงทำให้ปลอดภัยต่อสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และไม่มีการทำลายสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อีกด้วย โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎร กลุ่มบ้านซิแบร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ดำเนินงานโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ----------------------------------------------------------------------- ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2542 ขอให้หน่วยงานพิจารณาให้ความช่วยเหลือราษฎร กลุ่มบ้านซิแบร ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งราษฎรมีฐานะยากจน ขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่อำเภออมก๋อยได้มีราษฎรบ้านซิแบร มาเฝ้ารับเสด็จ ทำให้ทรงทราบถึงความลำบากเดือดร้อนของราษฎร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีรับสั่งกับราษฎรเหล่านั้นว่าจะเสด็จกลับไปเยี่ยมราษฎรอีกครั้งในโอกาสต่อไปเนื่องจากราษฎรเป็นชาวไทยภูเขาเผ่า กระเหรี่ยงและมีอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ซึ่งแต่ละครอบครัวมีพื้นที่จำกัด เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาหรือที่ราบเชิงเขาและรายได้จากการประกอบอาชีพทางการเกษตรไม่ค่อยจะพอเพียงสำหรับเลี้ยงครอบครัว ดังนั้น สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ทำการส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และถ่ายทอดเทคโนโลยีการการทอผ้าไหมด้วย สีธรรมชาติให้แก่เกษตรกร โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอาชีพมั่นคงต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มรายได้ของราษฎรจากอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม สถานที่ดำเนินการ หมู่ที่ 7,8 ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่พิกัด 327290 ระดับความสูงจากน้ำ ทะเลประมาณ 900 เมตร เริ่มดำเนินโครงการ ปี พ.ศ. 2549 หน่วยงานที่ดำเนินการ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯเชียงใหม่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2550 1. กิจกรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และหม่อนแปรรูป ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯเชียงใหม่ ได้ให้การสนับสนุนต้นพันธุ์หม่อนผลสด ชนิดที่ขุดล้อมอายุ 5 ปี จำนวน 50 ต้น แก่ทางสถานีฯ เพื่อปลูกในพื้นที่ ที่มีการเตรียมไว้ประมาณ 1 ไร่ ในระยะแรก เพื่อใช้ในการผลิตหม่อนผลสดสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯเชียงใหม่ ให้การสนับสนุนวัสดุในการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนชั่วคราวในปีงบประมาณ 2551 และคาดว่าจะดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนได้ในปีงบประมาณ 2551 นอกจากนั้นยังสนับสนุนต้นพันธุ์หม่อน บุรีรัมย์ 60 อีก จำนวน 1,500 ต้น ในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นแปลงสำหรับการผลิตใบหม่อนในการเลี้ยงไหมเพื่อผลิตเส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านสำหรับการทอผ้าไหมในปีต่อไป 2. กิจกรรมการทอผ้าไหมลวดลายชนเผ่า ส่วนกิจกรรมของเกษตรกร ซึ่งมีการทอผ้าไหมเป็นหลัก โดยเกษตรกรได้รับเส้นไหม มาจากมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษ มาประมาณ 1,500 กิโลกรัม ทางศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ดำเนินการฝึกอบรมสาธิตและถ่ายทอดการย้อมสีธรรมชาติให้แก่บุคลากรของสถานีฯ และเกษตรกร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแนะนำส่งเสริมและปฏิบัติฟอกย้อมสีเส้นไหม เพื่อนำไปทอผ้าไหมสีฟอกย้อมด้วยสีธรรมชาติ จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลา 4 วัน มีเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 136 ราย 3. กิจกรรมการตรวจรับรองตรานกยูงพระราชทาน โครงการมีสมาชิกที่ทอผ้าไหมจำนวน 4 หมู่บ้าน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 2 คำขอ คือ หมู่ 7 คำขอขึ้นทะเบียนที่ ชม. 001 (บ้านซิแบร และบ้านปรอโพ) หมู่ 8 คำขอขึ้นทะเบียนที่ ชม. 003 (บ้านห้วยขนุน และบ้านห้วยยาบ)จำนวนทั้งหมดรวม 299 คน และมีสมาชิกส่งผ้าไหมเข้ารับการตรวจเพื่อขอรับตรานกยูงสีทอง ดังนี้ บ้านซิแบร 136 ราย บ้านปรอโพ 36 ราย บ้านห้วยยาบ 66 ราย และบ้านห้วยขนุน 58 ราย ซึ่งได้ทำการตรวจผ้าไหมเพื่อขอติดตรานกยูงสีทอง (Royal Thai Silk) จำนวนทั้งหมด 1127 ผืน ผ่านการทดสอบและติดตรานกยูงสีทอง 675 ผืน ไม่ผ่านการทดสอบ จำนวน 452 ผืน จำนวนรายละเอียดดังนี้ ¦ บ้านซิแบร หมู่ 7 จากจำนวนสมาชิกที่ส่งผ้าไหมเข้ารับการตรวจ 136 ราย มีผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ และเสื้อ ทั้งหมด 649 ผืน ผ่านการทดสอบและติดตรานกยูงสีทอง จำนวน 433 ผืน ไม่ผ่านการทดสอบ 216 ผืน ¦ บ้านปรอโพ หมู่ 7 จากจำนวนสมาชิกที่ส่งผ้าไหมเข้ารับการตรวจ 36 ราย มีผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ และเสื้อ ทั้งหมด 124 ผืน ผ่านการทดสอบและติดตรานกยูงสีทอง จำนวน 26 ผืน ไม่ผ่านการทดสอบ 96 ผืน ¦ บ้านห้วยยาบ หมู่ 8 จากจำนวนสมาชิกที่ส่งผ้าไหมเข้ารับการตรวจ 66 ราย มีผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ และเสื้อ ทั้งหมด 159 ผืน ผ่านการทดสอบและติดตรานกยูงสีทอง จำนวน 112 ผืน ไม่ผ่านการทดสอบ 47 ผืน ¦ บ้านห้วยขนุน หมู่ 8 จากจำนวนสมาชิกที่ส่งผ้าไหมเข้ารับการตรวจ 58 ราย มีผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ และเสื้อ ทั้งหมด 195 ผืน ผ่านการทดสอบและติดตรานกยูงสีทอง จำนวน 104 ผืน ไม่ผ่านการทดสอบ 91 ผืน โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ อำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ดำเนินงานโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ----------------------------------------------------------------------- ความเป็นมา โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อบ้านทุ่ง่จี้ ตั้งอยู่ที่ อ.เมืองปาน จ.ลำปาง โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ได้เข้าไปส่งเสริมให้สมาชิกในโครงการฯ ปลูกหม่อนและเลี้ยงไหม ซึ่งในปี 2550 ได้สนับสนุนพันธุ์ไหมและพันธุ์หม่อนให้สมาชิกของโครงการฯ โดยสมาชิกจะสาวเส้นไหมและทอผ้าไหมส่งให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และเพื่อขยายผลจึงควรที่จะส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และสนับสนุนปัจจัยในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในเขตพื้นที่ให้เป็นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในเขตพื้นที่โครงการฯ มีความรู้เรื่องการปลูกไหมเลี้ยงไหมและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้ 2. เพื่อเกษตรกรมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น เป้าหมาย ปีที่ 1-4 (พ.ศ. 2551 – 2554) เกษตรกรในโครงการฯ ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิทยาการการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและสามารถนำไปปฏิบัติได้ร้อยละ 80 วิธีการดำเนินงาน 2. ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 3. สนับสนุนปัจจัยในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหม - ปรับปรุงโรงเลี้ยงไหม - สนับสนุนพันธุ์หม่อน - สนับสนุนพันธุ์ไหม - สนับสนุนวัสดุการเกษตร ปีที่ 1 ขยายพื้นที่ปลูกหม่อน และปรับปรุงโรงเลี้ยงไหม ส่งเสริมความรู้เทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม พันธุ์หม่อนและพันธุ์ไหม ปีที่ 2 ส่งเสริมความรู้เทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม พันธุ์หม่อนและพันธุ์ไหม ปีที่ 3 ส่งเสริมความรู้เทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม พันธุ์หม่อนและพันธุ์ไหม ปีที่ 4 ส่งเสริมความรู้เทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม พันธุ์หม่อนและพันธุ์ไหม หน่วยงานรับผิดชอบ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ สถานที่ดำเนินโครงการ โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อบ้านทุ่งจี้ อ.เมืองปาน จ.ลำปาง ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 4 ปี เริ่มต้นปี พ.ศ. 2551 สิ้นสุด พ.ศ. 2554 ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2550 ส่งมอบท่อนพันธุ์หม่อนให้โครงการฯ จำนวน 2,000 ท่อน ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ บริเวณโครงการ และส่งมอบไข่ไหมจำนวน 7 แผ่น ให้แก่สมาชิกในโครงการ ได้ทำการเลี้ยงไหม 1 รุ่น และได้ทำการสาวเพื่อส่งเส้นไหมเข้าโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ต่อไป ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ 1) สมาชิกของโครงการฯ ยังปฏิบัติตามวิธีการเลี้ยงแบบเดิม 2) มีพื้นที่ปลูกหม่อนของโครงการน้อยไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงไหม โครงการศูนย์ศิลปาชีพหม่อนไหมบ้านห้วยเดื่อ อ.เมือง จ. แม่ฮ่องสอน ดำเนินงานโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ----------------------------------------------------------------------- ความเป็นมา วันที่ 2 พฤศจิกายน 2548 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้รับการมอบ งานพัฒนาหม่อนไหม โครงการศูนย์ศิลปาชีพหม่อนไหม บ้านห้วยเดื่อ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ต่อจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร โดยมีพื้นที่รับผิดชอบคือ แปลงหม่อนบริเวณ บ้านห้วยเดื่อ จำนวน 20.5 ไร่ แปลงหม่อนบริเวณบ้านท่าโป่งแดง จำนวน 40 ไร่ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเดิมจำนวน 25 ราย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้รับมอบหมายงาน ได้เข้าไปปฏิบัติงานและดำเนินการดังนี้ ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2550 1. กิจกรรมการดูแลแปลงหม่อน ปัจจุบันศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้เข้าไปดำเนินการปรับปรุงแปลงหม่อนซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมให้สามารถให้ผลผลิตใบหม่อนได้แล้วทั้งหมด และมีการสมัครสมาชิกเพิ่มเติมรวมเป็นจำนวน 37 ราย มีพื้นที่ปลูกหม่อนรวมทั้งหมด 65 ไร่ และอยู่ในระหว่างการดำเนินการในแปลงปลูกยางพาราเดิมที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 20 ไร่ โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้จัดหาปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรดำเนินกิจกรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ ต้นกล้าหม่อนพันธุ์ดี จำนวน 19,500 ต้น สำหรับปลูกหม่อนเพิ่มเติม ในปี 2549 – 2550 (เดือนเมษายน 2549 – มกราคม 2550) และในเดือน พฤษภาคม 2550 ได้ดำเนินการเปิดพื้นที่บริเวณบ้านท่าโป่งแดง เพิ่มเติม จำนวน 10 ไร่ เพื่อแบ่งแปลงให้แก่สมาชิกใหม่และสมาชิกเดิม จำนวน 20 ราย ปลูกหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และบร. 4/2 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจริญเติบโต นอกจากนั้นศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ยังให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตอื่นๆเช่นสารเคมีกำจัดวัชพืช จ่อพลาสติกสำหรับให้ไหมทำรัง สารเคมีป้องกันโรคของหนอนไหม ปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ วัสดุการเลี้ยงไหม ในส่วนของการดูแลพื้นที่ได้จ้างเหมาบุคลากรสำหรับดูแลพื้นที่บริเวณที่ทำการพลับพลาที่ประทับ แปลงหม่อนของเกษตรกร รวมทั้งการให้การแนะนำส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร และติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. กิจกรรมการเลี้ยงไหมและการสาวไหม ปี พ.ศ.2549 เกษตรกรเลี้ยงไหมผลิตเส้นไหมได้แล้วจำนวน 78.86 กิโลกรัม ส่งไปจำหน่ายให้กับโครงการพัฒนาไหมไทยพื้นบ้าน สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติฯ ครั้งที่ 1 จำนวน 8.46 กิโลกรัม เป็นเงิน 14,193 บาท และส่งจำหน่าย ครั้งที่ 2 เดือน เมษายน 2550 จำนวน 84.93 กิโลกรัม เป็นเงิน 127,395 บาท พันธุ์ไหมที่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ส่งไปให้เกษตรกรเลี้ยงคือ ไหมไทยพื้นบ้าน พันธุ์สำโรง x นางน้อย เกษตรกรบางรายไม่สามารถเลี้ยงรอดได้บางรุ่นเนื่องจากเป็นพันธุ์ไหมศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ปรับปรุงขึ้นมาให้ผลผลิตสูงขึ้นไม่เหมาะกับการเลี้ยงของเกษตรกรพื้นบ้านที่มีสภาพโรงเลี้ยงที่มีสภาพห้องเลี้ยงไม่ดีเพียงพอ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จึงได้แนะนำให้เกษตรกรปรับปรุงห้องเลี้ยงไหม ซึ่งเดิมเป็นห้องเลี้ยงไหมที่ตั้งอยู่บนบ้านหรือปลูกสร้างอยู่บนพื้นดิน ทำให้การดูแลรักษาความสะอาดไม่ดีเพียงพอ จึงได้สนับสนุนปูนซีเมนต์ จำนวน 300 กระสอบ สำหรับปูพื้นห้องเลี้ยงไหมของเกษตรกร และตาข่าย สแรนสำหรับกั้นห้องเลี้ยงไหม จำนวน 600 เมตร เพื่อปรับปรุงห้องเลี้ยงไหมให้อยู่ในสภาพที่สามารถเลี้ยงไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และได้ทำการคัดพันธุ์ไหมไทยพื้นบ้านที่เกษตรกรเลี้ยงอยู่เดิม คือพันธุ์ห้วยเดื่อ แล้วนำไปผลิตไข่ไหมที่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ก่อนส่งกลับมาให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นลำดับต่อไป ผลิตไข่ไหมให้แก่เกษตรกรเลี้ยงแล้ว จำนวน 4 รุ่น รวม 60 แผ่น 3. กิจกรรมการทอผ้าไหม ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้รับการร้องขอจากสมาชิกในโครงการ ในการที่จะทำการทอผ้าเองแทนที่จะส่งเส้นไหมไปจำหน่ายให้กับศูนย์ศิลปาชีพ ดังนั้นจึงได้ทำการจัดทำกี่ทอผ้า และจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ สำหรับการทอผ้า จำนวน 5 ชุด และขอความอนุเคราะห์ให้ครูสอนทอผ้าไหมจากศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ทำการสอนการทอผ้าให้แก่สมาชิกต่อไป โดยใช้เส้นไหมไทยพื้นบ้านที่ผลิตเองในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4. กิจกรรมการแปรรูปหม่อน ได้มีการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการผลิตชาใบหม่อน เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 4 กลุ่มเกษตรกร และมีการผลิตไวน์ผลหม่อน เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 3 กลุ่มเกษตร เพื่อผลิตจำหน่ายเป็นสินค้าของที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยวและลูกค้าต่างจังหวัด

1 พ.ค. 2551

รายงานผลการวิจัย เรื่องการแปรรูปหม่อนผลสด ประจำปี 2550

แบบ ต-1/ด สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติแบบรายงานความก้าวหน้า 1. รายละเอียดเกี่ยวกับแผนงานวิจัย / โครงการวิจัย ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และอาหารชนิดใหม่จากหม่อน (ภาษาอังกฤษ) Research and Development on new Mulberry Products as drink and food ชื่อผู้วิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย 1. ชื่อ นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ผู้ร่วมดำเนินการวิจัย 1. ชื่อ นางชุติกาญจน์ แจ่มดาราศี ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ 2. ชื่อนายสถาพร วงศ์เจริญวนกิจ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ อุดรธานี สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3. ชื่อ นายณัฐภาส ผู้พัฒน์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. ชื่อ ดร.ปรียะทัศนีย์ ประไชโย ภาควิชา อุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร 5. ชื่อ นางวรรนภา วีระภักดี กลุ่มวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหม สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6. ชื่อ ดร.สมชาย จอมดวง คณะ อุตสาหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7. ชื่อ นายสมศักดิ์ ศรีบัวรอด บริษัท ซิลค์โปรดัคส์ จำกัด 8. ชื่อ นายวิโรจน์ แก้วเรือง กลุ่ม วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหม สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 9. ชื่อ นางสาวขนิษฐา เกลาเกลี้ยง ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ร้อยเอ็ด สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ 10. ชื่อ นายดุสิต สุทธินนท์ บริษัท แปลนสารา จำกัด 11. ชื่อ นางสาวธนพร ศิลปชัย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ แพร่ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ 12. นายสุทธิสันต์ พิมพะสาลี กลุ่ม วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหม สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 13. นางสาวนัทธมน หาญศักดิ์ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ 14. ดร.ธีรพร กงบังเกิด ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 15. ดร.นิติพงษ์ จิตรีโภชน์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 16. นางสาว พรทิพย์ เจริญธรรมวัฒน์ นักวิจัยชำนาญการ ระดับ 8 17. นายวันชัย พันธ์ทวี ตำแหน่ง นักวิจัย 6 หน่วยงานที่สังกัด สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ 053-1140-96-8 โทรสาร 053-1140-97 e-mail : qss72123@hotmail.com ได้รับอนุมัติงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 งบประมาณที่ได้รับ บาท ระยะเวลาทำการวิจัย ............3................ ปี เริ่มทำการวิจัยเมื่อ (เดือน ปี) ตุลาคม 2549 ถึง (เดือน ปี) กันยายน 2550 2. รายละเอียดเกี่ยวกับผลงานความก้าวหน้าของการวิจัย 2.1 วัตถุประสงค์ของแผนงานวิจัย / โครงการวิจัย 2.1.1 เพื่อวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และอาหารชนิดใหม่ๆ จาก ชาใบหม่อน ผงใบหม่อน และผงชาใบหม่อน 2.1.2เพื่อวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารชนิดใหม่ๆ จากผลหม่อน 2.2 แสดงตารางเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานวิจัยที่ได้เสนอไว้กับงานวิจัยที่ได้ ดำเนินการจริง ในรูปของแผนการดำเนินงานตลอดแผนงานวิจัย / โครงการวิจัย ว่ามีกิจกรรม / ขั้นตอน ปฏิบัติตามลำดับอย่างไร เดือนตุลาคม 2549 - กันยายน 2550 ขั้นตอน แผนงานที่เสนอ ปี2550 ผลการปฏิบัติงานจริง ปี2550 โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การวิจัยพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารจากใบหม่อน 1.1 ศึกษากรรมวิธีการผลิตน้ำชาใบหม่อนพร้อมดื่ม ล่าช้ากว่าแผนงาน 1.2 พัฒนาปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการยอมรับ ล่าช้ากว่าแผนงาน 1.3 ศึกษาการผลิตชาใบหม่อนและชาใบหม่อนผง ล่าช้ากว่าแผนงาน ขั้นตอน แผนงานที่เสนอ ปี2550 ผลการปฏิบัติงานจริง ปี2550 โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การวิจัยพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารจากผลหม่อน 1.1 ศึกษาการผลิตผลหม่อนอบแห้ง ลูกอมเคลือบผลหม่อน ผลหม่อนแช่อิ่ม เป็นไปตามแผน 1.2 ศึกษาผลของการทำแห้งต่อสารออกฤทธิ์ในผลหม่อน และการเสื่อมสลาย เป็นไปตามแผน 1.3 ศึกษาการผลิตสีธรรมชาติจากผลหม่อน เพื่อใช้เป็นอาหาร เป็นไปตามแผน 1.4 ศึกษาการผสมสีธรรมชาติจากผลหม่อนในเครื่องดื่มและอาหาร เป็นไปตามแผน 2.3 แสดงรายละเอียดของผลการดำเนินงาน พร้อมสรุปและวิเคราะห์ผลที่ได้ดำเนินการไปแล้ว [ทั้งนี้ ให้ แนบบทความ ผลงานความก้าวหน้าทางวิชาการของแผนงานวิจัย / โครงการวิจัย ระหว่างที่ทำการวิจัย ที่เคยพิมพ์ในวารสารทางวิชาการแล้วหรือบทความที่จะนำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนได้ (ถ้ามี)] โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การวิจัยพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารจากใบหม่อน ยังไม่สามารถสรุปผลการทดลองได้ เนื่องจากมีปัญหา การลงนามสัญญาการดำเนินงานโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ล่าช้า ทำให้การดำเนินงานล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การวิจัยพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารจากผลหม่อน การทดลองที่ 1 การผลิตสีธรรมชาติจากผลหม่อนและการใช้ประโยชน์ 1.1 การสกัดและผลิตสีธรรมชาติจากผลหม่อนสุก 1.1.1) คุณภาพของผลหม่อนที่ระยะความสุกแตกต่างกัน จากการนำผลหม่อนสุกพันธุ์เชียงใหม่ ที่มีระยะความสุก 3 ระยะ คือ แดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก ไปตรวจคุณภาพทางกายภาพ พบว่า ความแข็งของผลหม่อนจะลดลงเมื่อมีระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก ใช้แรงในการตัดผลหม่อนให้ขาด เท่ากับ 20.86 13.42 และ 8.32 นิวตัน ตามลำดับ (ตารางที่ 3) คุณภาพด้านสีของผลหม่อน เมื่อนำผลหม่อนเติมน้ำกลั่นในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วคั้นเอาน้ำผลหม่อนไปตรวจวิเคราะห์ค่าสี พบว่า ค่า L* (ความสว่าง) จะลดลงเมื่อมีระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 32.46 24.50 และ 11.67 ตามลำดับ ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 24.59 20.05 และ 15.52 ตามลำดับ และค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 16.07 9.55 และ -7.29 ตามลำดับ แสดงว่าผลหม่อนเมื่อเริ่มสุกจะมีสีแดงสด และเมื่อสุกจัดจะมีสีม่วงแดง ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่า จะมีค่าสูงขึ้นเมื่อระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 0.47 0.66 และ 0.87 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) สำหรับคุณภาพทางเคมี พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยที่ เมื่อนำผลหม่อนไปบดแล้วหาปริมาณความชื้น พบว่า จะลดลงเมื่อมีระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 82.74 87.17 และ 88.03 ตามลำดับ เพราะว่าความสุกที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มีปริมาณน้ำตาลฟรุกโตสสูงขึ้นด้วยจึงทำให้ความชื้นลดลง เมื่อนำน้ำผลหม่อนไปตรวจวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่าง (pH) พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 3.23 3.37 และ 4.17 ตามลำดับ ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า จะลดลงเมื่อระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีเท่ากับร้อยละ 2.63 1.68 และ 0.58 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พบว่า จะเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 4.85 7.39 และ 13.11 oBrix ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ที่เพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 4.40 11.39 และ 17.02 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ (ตารางที่ 3) สำหรับองค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระในผลหม่อนสุก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยปริมาณสารเควอซีติน สารแอนโทไซยานิน สารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด และดัชนีสารต้านอนุมูลอิสระ จะเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีปริมาณสารเควอซีติน เท่ากับ 1.23 1.51 และ 1.81 µg /g ตามลำดับ มีปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมด เท่ากับ 258.41 538.87 และ 2512.40 µg /g ตามลำดับ และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด เท่ากับ 1234.11 1387.61 และ 3654.97 µg /g ตามลำดับ ส่วนดัชนีสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ในผลหม่อนแดงทั้งผล และผลห่าม มีค่าใกล้เคียงกัน เท่ากับ 5.51 และ 5.89 ตามลำดับ และผลหม่อนสุก จะมีดัชนีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด เท่ากับ 6.89 (ตารางที่ 3) 1.1.2) ชนิดของสารสกัดในการสกัดน้ำผลหม่อนที่เหมาะสม 1.1.2.1) ผลของอุณหภูมิน้ำในการสกัดน้ำผลหม่อน จากการนำผลหม่อนสุก 1 กิโลกรัม ไปสกัดสีโดยใช้น้ำที่มีอุณหภูมิ 3 ระดับ คือ อุณหภูมิห้อง (28+1 oC) 50 OC และอุณหภูมิน้ำร้อนจัด (95+1 oC) แล้วนำน้ำผลหม่อนที่สกัดได้ไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า ปริมาตรของน้ำผลหม่อนที่สกัดได้ มีค่าใกล้เคียงกัน โดยอยู่ในช่วงร้อยละ 80.50 – 80.71 โดยปริมาตร ส่วนกากที่เหลือ เท่ากับร้อยละ 27.13 27.00 และ 27.31 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เมื่อนำน้ำสกัดไปตรวจวิเคราะห์ค่าสี พบว่า ค่า L* (ความสว่าง) จะเพิ่มขึ้นเมื่อหภูมิของน้ำที่ใช้สกัดสูงขึ้น โดยที่ น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากน้ำอุณหภูมิห้อง 50 OC และอุณหภูมิน้ำร้อนจัด มีค่าเป็น 8.96 9.47 และ 9.85 ตามลำดับ ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากน้ำอุณหภูมิห้อง 50 OC และอุณหภูมิน้ำร้อนจัด มีค่าเป็น 15.97 16.02 และ 15.84 ตามลำดับ และค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากน้ำอุณหภูมิห้อง 50 OC และอุณหภูมิน้ำร้อนจัด มีค่าเป็น -8.94 -9.12 และ -9.55 ตามลำดับ ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่า จะมีค่าลดลงเมื่ออุณหภูมิของน้ำที่ใช้สกัดสูงขึ้น โดยที่ น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากน้ำอุณหภูมิห้อง 50 OC และอุณหภูมิน้ำร้อนจัด มีค่าเป็น 0.49 0.45 และ 0.41 ตามลำดับ อาจเป็นเพราะว่าความร้อนไปสลายเม็ดสีจึงทำให้สีของน้ำผลหม่อนจางลง (ตารางที่ 4) สำหรับคุณภาพทางเคมี ของน้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากน้ำอุณหภูมิแตกต่างกัน พบว่า ความเป็นกรด-ด่าง (pH) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อหภูมิของน้ำที่ใช้สกัดสูงขึ้น โดยที่ น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากน้ำอุณหภูมิห้อง 50 OC และอุณหภูมิน้ำร้อนจัด มีค่าเป็น 4.16 4.18 และ 4.21 ตามลำดับ ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากน้ำอุณหภูมิห้อง 50 OC และอุณหภูมิน้ำร้อนจัด มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.71 0.67 และ 0.64 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พบว่า จะเพิ่มขึ้นเมื่อหภูมิของน้ำที่ใช้สกัดสูงขึ้น โดยที่น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากน้ำอุณหภูมิห้อง 50 OC และอุณหภูมิน้ำร้อนจัด มีค่าเป็น 13.02 13.62 และ 13.81 oBrix ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ที่เพิ่มขึ้นเมื่อหภูมิของน้ำที่ใช้สกัดสูงขึ้น โดยที่น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากน้ำอุณหภูมิห้อง 50 OC และอุณหภูมิน้ำร้อนจัด มีค่าเท่ากับร้อยละ 16.00 18.40 และ 19.27 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ (ตารางที่ 4) 1.1.2.2) ผลของความเข้มข้นเอทานอลในการสกัดน้ำผลหม่อน จากการนำผลหม่อนสุก 1 กิโลกรัม ไปสกัดสีโดยใช้เอทานอลที่มีความเข้มข้น 3 ระดับ คือ ร้อยละ 35 70 และ 95 โดยปริมาตร แล้วนำน้ำผลหม่อนที่สกัดได้ไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า ปริมาตรของน้ำผลหม่อนที่สกัดได้ มีค่าใกล้เคียงกัน โดยอยู่ในช่วงร้อยละ 79.78 – 80.27 โดยปริมาตร ส่วนกากที่เหลือ เท่ากับร้อยละ 25.74 26.96 และ 26.65 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เมื่อนำน้ำสกัดไปตรวจวิเคราะห์ค่าสี พบว่า ค่า L* (ความสว่าง) จะลดลงตามความเข้มข้นของเอทานอลที่สูงขึ้น โดยที่ น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากเอทานอลร้อยละ 35 70 และ 95 โดยปริมาตร มีค่าเป็น 9.44 8.93 และ 8.77 ตามลำดับ ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากเอทานอลร้อยละ 35 70 และ 95 โดยปริมาตร มีค่าเป็น 14.63 13.80 และ 13.76 ตามลำดับ และค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากเอทานอลร้อยละ 35 70 และ 95 โดยปริมาตร มีค่าเป็น -9.95 -10.04 และ -10.15 ตามลำดับ ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่า จะมีค่าเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของเอทานอลที่สูงขึ้น โดยที่ น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากเอทานอลร้อยละ 35 70 และ 95 โดยปริมาตร มีค่าเป็น 0.56 0.75 และ 0.87 ตามลำดับ (ตารางที่ 5) สำหรับคุณภาพทางเคมี ของน้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากเอทานอลความเข้มข้นต่างกัน พบว่า ความเป็นกรด-ด่าง (pH) มีค่าเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของเอทานอลที่สูงขึ้น โดยที่ น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากเอทานอลร้อยละ 35 70 และ 95 โดยปริมาตร มีค่าเป็น 4.31 4.87 และ 5.27 ตามลำดับ ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากเอทานอลร้อยละ 35 70 และ 95 โดยปริมาตร มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.77 0.63 และ 0.56 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พบว่า จะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของเอทานอลที่สูงขึ้น โดยที่ น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากเอทานอลร้อยละ 35 70 และ 95 โดยปริมาตร มีค่าเป็น 14.05 18.38 และ 20.95 oBrix ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ที่เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของเอทานอลที่สูงขึ้น โดยที่ น้ำผลหม่อนที่สกัดได้จากเอทานอลร้อยละ 35 70 และ 95 โดยปริมาตร มีค่าเท่ากับร้อยละ 17.18 19.43 และ 20.09 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ลของน้ำที่อุณหภูมิห้องและเทานอลร้อยละ 35 โดยปริมาตร ในการสกัดน้ำผลหม่อน จากการนำผลหม่อนสุก 1 กิโลกรัม ไปสกัดสีโดยใช้น้ำที่อุณหภูมิห้อง และเอทานอลความเข้มข้น ร้อยละ 35 โดยปริมาตร แล้วเปรียบเทียบคุณภาพทางกายภาพของน้ำผลหม่อนที่สกัดได้ พบว่า ปริมาตรของน้ำผลหม่อนที่สกัดได้ มีค่าใกล้เคียงกัน โดยเท่ากับร้อยละ 80.61 และ 80.00 โดยปริมาตร ตามลำดับ ส่วนกากที่เหลือ เท่ากับร้อยละ 26.90 และ 25.92 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เมื่อนำน้ำสกัดไปตรวจวิเคราะห์ค่าสี พบว่า ค่า L* (ความสว่าง) ที่สกัดด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง และเอทานอลความเข้มข้น ร้อยละ 35 โดยปริมาตร มีค่าเป็น 8.98 และ 8.54 ตามลำดับ ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง มีค่ามากกว่าน้ำผลหม่อนที่สกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้น ร้อยละ 35 โดยปริมาตร โดยมีค่าเป็น 15.62 และ 14.95 ตามลำดับ และค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง และเอทานอลความเข้มข้น ร้อยละ 35 โดยปริมาตร มีค่าเป็น -8.94 และ -9.95 ตามลำดับ ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง และเอทานอลความเข้มข้น ร้อยละ 35 โดยปริมาตร มีค่าเป็น 0.46 และ 0.51 ตามลำดับ (ตารางที่ 6) สำหรับคุณภาพทางเคมีของน้ำผลหม่อน ที่สกัดได้จากน้ำที่อุณหภูมิห้อง และเอทานอลความเข้มข้น ร้อยละ 35 โดยปริมาตร พบว่า ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) โดยที่มีค่าเป็น 4.12 และ 4.23 ตามลำดับ ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง และเอทานอลร้อยละ 35 โดยปริมาตร มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.73 และ 0.76 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้ด้วยน้ำอุณหภูมิห้องมีค่าน้อยกว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้ด้วยเอทานอลร้อยละ 35 โดยปริมาตร โดยมีค่าเป็น 12.52 และ 14.81 oBrix ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ที่พบว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้ด้วยน้ำอุณหภูมิห้องมีค่าน้อยกว่า น้ำผลหม่อนที่สกัดได้ด้วยเอทานอลร้อยละ 35 โดยปริมาตร โดยมีค่าเท่ากับร้อยละ 16.92 17.04 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ (ตารางที่ 6) 1.1.3) การผลิตสีธรรมชาติจากผลหม่อนสุกในรูปแบบต่าง ๆ 1.1.3.1) คุณภาพของน้ำผลหม่อนสกัดก่อนการระเหย จากการนำผลหม่อนสุกไปสกัดสีด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง (28+1 oC) แล้วแยกเป็น 6 ส่วน เพื่อนำไปเตรียมผลิตเป็นสีรูปแบบต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ โดยที่คุณภาพทางด้านสีจะเจือจาง 100 เท่า ก่อนนำไปตรวจวัดค่าสี และพบว่า ค่า L* (ความสว่าง) มีค่าอยู่ในช่วง 40.49 – 49.41 โดยที่ น้ำผลหม่อนสกัดเติม KHCO3 มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 49.41 ส่วนน้ำผลหม่อนหมักด้วยยีสต์ มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 40.49 (ตารางที่ 7) ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า มีค่าสีแดงอยู่ในช่วง 3.85 – 9.60 โดยที่ น้ำผลหม่อนสกัด มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 9.60 ส่วนน้ำผลหม่อนหมักด้วยยีสต์ (เติม KHCO3) มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 3.85 และค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า น้ำผลหม่อนสกัด มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 1.37 และน้ำผลหม่อนหมักด้วยยีสต์ มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ -0.53 ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 0.09 – 0.27 โดยที่ น้ำผลหม่อนหมักด้วยยีสต์ มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.27 ส่วนน้ำผลหม่อนสกัดเติม KHCO3 มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.09 (ตารางที่ 7) สำหรับคุณภาพทางเคมีของน้ำผลหม่อนสกัดก่อนการระเหย พบว่า ค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) มีค่าอยู่ในช่วง 3.53 – 4.64 โดยที่ น้ำผลหม่อนสกัดเติม KHCO3 มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 4.64 ส่วนน้ำผลหม่อนหมักด้วยยีสต์ มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 3.53 (ตารางที่ 8) ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า มีอยู่ในช่วงร้อยละ 0.73 – 1.82 โดยน้ำหนัก โดยที่ น้ำผลหม่อนหมักด้วยยีสต์ มีค่ามากที่สุดเท่ากับร้อยละ 1.82 โดยน้ำหนัก อาจเป็นเพราะว่าในกระบวนการหมักจะมีการสร้างกรดซิตริกขึ้น จึงทำให้มีปริมาณกรดทั้งหมดสูงขึ้นด้วย ส่วนน้ำผลหม่อนสกัดเติม KHCO3 มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 0.73 โดยน้ำหนัก ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พบว่า มีอยู่ในช่วง 3.47 – 9.00 oBrix โดยที่ น้ำผลหม่อนสกัด มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 9.00 oBrix ส่วนน้ำผลหม่อนหมักด้วยยีสต์ มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 3.47 oBrix ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ พบว่า มีอยู่ในช่วงร้อยละ 2.98 – 10.83 โดยน้ำหนัก โดยที่ น้ำผลหม่อนสกัด มีค่ามากที่สุดเท่ากับร้อยละ 10.83 โดยน้ำหนัก ส่วนน้ำผลหม่อนหมักด้วยยีสต์ มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 2.98 โดยน้ำหนัก (ตารางที่ 8) 1.1.3.2) คุณภาพของสีเข้มข้นหลังการระเหย จากการนำน้ำผลหม่อนสกัดรูปแบบต่าง ๆ ไประเหยน้ำออก โดยใช้เครื่องระเหยแบบสุญญากาศ (Rotary vacuum evaporator) แล้ววิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า ความหนืดของสีเข้มข้นที่ได้ มีค่าอยู่ในช่วง 483.80 – 3563.00 เซนติพอยต์ (Cp) โดยที่ สีเข้มข้นน้ำตาลสูง – กรดสูง มีความหนืดมากที่สุดเท่ากับ 3563.00 เซนติพอยต์ ส่วนสีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ– กรดสูง มีความหนืดน้อยที่สุดเท่ากับ 483.80 เซนติพอยต์ เพราะว่า เป็นสีที่ได้จากการหมัก ซึ่งจะมีน้ำตาลต่ำจึงทำให้ความหนืดต่ำไปด้วย (ตารางที่ 7) คุณภาพทางด้านสี ที่เจือจาง 100 เท่า ก่อนนำไปตรวจวัดค่าสี พบว่าค่าที่ได้มีความสอดคล้องกับคุณภาพของน้ำผลหม่อนสกัดก่อนการระเหย โดยที่ ค่า L* (ความสว่าง) มีค่าอยู่ในช่วง 15.81 – 23.03 โดยที่ สีเข้มข้นน้ำตาลสูง – กรดต่ำ (เติม KHCO3) มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 23.03 ส่วน สีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ – กรดสูง มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 15.81 ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า มีค่าสีแดงอยู่ในช่วง 21.16 – 26.66 โดยที่ สีเข้มข้นน้ำตาลสูง - กรดสูง มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 26.66 ส่วนสีเข้มข้นน้ำตาลสูง - กรดต่ำ (เติม CaCO3) มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 21.16 และค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า สีเข้มข้นน้ำตาลสูง - กรดต่ำ (เติม KHCO3) มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 3.51 และสีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ - กรดต่ำ (เติม KHCO3) มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ -2.64 ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 1.03 – 2.23 โดยที่ สีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ – กรดสูง มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 2.23 ส่วนสีเข้มข้นน้ำตาลสูง – กรดต่ำ (เติม KHCO3) มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 1.03 (ตารางที่ 7) สำหรับคุณภาพทางเคมีของสีเข้มข้นหลังการระเหย พบว่า Water activity มีค่าอยู่ในช่วง 0.58 – 0.86 โดยที่ สีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ - กรดต่ำ (เติม CaCO3) มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.86 ดังนั้น จึงไม่สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้เพราะมีค่ามากกว่า 0.65 ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์สามารถเจริญได้ ส่วนสีเข้มข้นน้ำตาลสูง - กรดสูง มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.58 ซึ่งสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ (ตารางที่ 8) ความเป็นกรด – ด่าง (pH) พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 3.30 – 4.65 โดยที่ สีเข้มข้นน้ำตาลสูง - กรดต่ำ (เติม KHCO3) มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 4.65 ส่วนสีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ – กรดสูง มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 3.30 ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า มีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 6.33 – 17.52 โดยน้ำหนัก โดยที่ สีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ – กรดสูง มีค่ามากที่สุดเท่ากับร้อยละ 17.52 โดยน้ำหนัก ส่วนสีเข้มข้นน้ำตาลสูง - กรดต่ำ (เติม KHCO3) มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 6.33 โดยน้ำหนัก ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พบว่า มีอยู่ในช่วง 38.34 – 86.33 oBrix โดยที่ สีเข้มข้นน้ำตาลสูง - กรดสูง มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 38.34 oBrix ส่วนสีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ - กรดต่ำ (เติม KHCO3) มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 38.34 oBrix ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ พบว่า มีอยู่ในช่วงร้อยละ 31.10 – 115.85 โดยน้ำหนัก โดยที่ สีเข้มข้นน้ำตาลสูง - กรดสูง มีค่ามากที่สุดเท่ากับร้อยละ 115.85 โดยน้ำหนัก ส่วนสีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ – กรดสูง มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 31.10 โดยน้ำหนัก (ตารางที่ 8) เมื่อเลือกสีเข้มข้นหลังการระเหย 4 รูปแบบ ไปวิเคราะห์องค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ปริมาณสารเควอซีติน ในสีเข้มข้นน้ำตาลสูง – กรดสูง น้ำตาลสูง – กรดต่ำ (เติม CaCO3) น้ำตาลต่ำ – กรดสูง และน้ำตาลต่ำ – กรดต่ำ มีค่าเท่ากับ 4.90 5.46 21.83 และ 23.48 µg /g ตามลำดับ (ตารางที่ 9 ) จะเห็นว่าสีเข้มข้นที่มีน้ำตาลต่ำจะมีปริมาณสารเควอซีตินที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้เพราะว่า ในระหว่างการหมักเพื่อลดปริมาณน้ำตาลอาจมีการสังเคราะห์สารเควอซีตินขึ้น ปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมด ในสีเข้มข้นน้ำตาลสูง – กรดสูง น้ำตาลสูง – กรดต่ำ (เติม CaCO3) น้ำตาลต่ำ – กรดสูง และน้ำตาลต่ำ – กรดต่ำ มีค่าเท่ากับ 2.61 2.33 5.67 และ 3.67 mg /g ตามลำดับ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด ในสีเข้มข้นน้ำตาลสูง – กรดสูง น้ำตาลสูง – กรดต่ำ (เติม CaCO3) น้ำตาลต่ำ – กรดสูง และน้ำตาลต่ำ – กรดต่ำ มีค่าเท่ากับ 13.13 15.93 21.90 และ 16.59 mg /g ตามลำดับ และ ดัชนีสารต้านอนุมูลอิสระ ในสีเข้มข้นน้ำตาลสูง – กรดสูง น้ำตาลสูง – กรดต่ำ (เติม CaCO3) น้ำตาลต่ำ – กรดสูง และน้ำตาลต่ำ – กรดต่ำ มีค่าเท่ากับ 3.46 5.24 5.79 และ 4.81 ตามลำดับ 1.1.3.3) คุณภาพของสีผง จากการนำสีเข้มข้นน้ำตาลต่ำ รูปแบบต่าง ๆ ไปผลิตเป็นสีผง แล้วนำสีผงที่ได้ไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า คุณภาพทางด้านสีที่เจือจาง 100 เท่า มีค่า L* (ความสว่าง) อยู่ในช่วง 54.09 – 85.45 โดยที่ สีผงน้ำตาลมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 85.45 ส่วนสีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ – กรดสูง มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 54.09 ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 10.53 – 28.63 โดยที่ สีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 28.63 ส่วนสีผงน้ำตาล มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 10.53 และค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 2.20 – 4.96 โดยที่ สีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 4.96 และสีผงน้ำตาล มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 2.20 ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 0.27 – 1.29 โดยที่ สีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 1.29 ส่วนสีผงน้ำตาล มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.27 (ตารางที่ 7) สำหรับคุณภาพทางเคมีของสีผง พบว่า Water activity มีค่าใกล้เคียงกัน โดยที่ สีผงน้ำตาล และสีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีค่าเท่ากัน คือ 0.44 ส่วนสีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดต่ำ ทั้ง 2 รูปแบบ มีค่าเท่ากัน คือ 0.45 (ตารางที่ 8) ความเป็นกรด – ด่าง (pH) พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 4.27 – 5.68 โดยที่ สีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ - กรดต่ำ (เติม KHCO3) มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 5.68 ส่วนสีน้ำตาล มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 4.27 ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า มีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 1.78 – 3.52 โดยน้ำหนัก โดยที่ สีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีค่ามากที่สุดเท่ากับร้อยละ 3.52 โดยน้ำหนัก ส่วนสีผงน้ำตาล มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 1.78 โดยน้ำหนัก ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด ที่เจือจาง 100 เท่า พบว่า มีค่าใกล้เคียงกัน โดยที่ สีผงน้ำตาล มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 2.00 oBrix ส่วนสีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดต่ำ ทั้ง 3 รูปแบบ มีค่าเท่ากัน คือ 1 oBrix ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ พบว่า มีอยู่ในช่วงร้อยละ 1.77 – 2.28 โดยน้ำหนัก โดยที่ สีผงน้ำตาล มีค่ามากที่สุดเท่ากับร้อยละ 2.28 โดยน้ำหนัก ส่วนสีผง Freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 1.77 โดยน้ำหนัก (ตารางที่ 8) 1.2 การใช้ประโยชน์สีธรรมชาติจากผลหม่อนสุก 1.2.1) การเติมสีผลหม่อนรูปแบบต่าง ๆ ในน้ำลิ้นจี่ จากการนำสีธรรมชาติจากผลหม่อนสุกรูปแบบต่าง ๆ ไปเติมในน้ำลิ้นจี่ ร้อยละ 25 แล้วทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า สีรูปแบบต่าง ๆ มีผลต่อคุณภาพทางด้าน สี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม โดยที่คุณภาพทางด้านสี พบว่า น้ำลิ้นจี่ที่เติมสีรูปแบบต่าง ๆ มีคะแนนการยอมรับสูงกว่าน้ำลิ้นจี่ที่ไม่เติมสี โดยที่ น้ำลิ้นจี่เติมสีเข้มข้นกรดสูง-น้ำตาลสูง ได้รับคะแนนมากที่สุด เท่ากับ 7.07 คะแนน ส่วนน้ำลิ้นจี่ไม่เติมสี ได้รับคะแนนน้อยที่สุด เท่ากับ 4.93 คะแนน (ตารางที่ 10) คุณภาพทางด้านกลิ่น พบว่า น้ำลิ้นจี่ไม่เติมสี น้ำลิ้นจี่เติมสีเข้มข้นกรดสูง-น้ำตาลสูง น้ำลิ้นจี่เติมสีเข้มข้นกรดต่ำ-น้ำตาลสูง น้ำลิ้นจี่เติมสีเข้มข้นกรดสูง-น้ำตาลต่ำ และน้ำลิ้นจี่เติมสีผงน้ำตาล ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) โดยมีคะแนนการยอมรับอยู่ในช่วง 6.90 - 7.00 คะแนน ส่วนน้ำลิ้นจี่เติมสีผง freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีคะแนนน้อยที่สุด เท่ากับ 4.86 คะแนน คุณภาพทางด้านรสชาติ และความชอบโดยรวม พบว่า มีความสอดคล้องกัน โดยที่ น้ำลิ้นจี่ไม่เติมสี น้ำลิ้นจี่เติมสีเข้มข้นกรดสูง-น้ำตาลสูง น้ำลิ้นจี่เติมสีเข้มข้นกรดต่ำ-น้ำตาลสูง น้ำลิ้นจี่เติมสีเข้มข้นกรดสูง-น้ำตาลต่ำ น้ำลิ้นจี่เติมสีเข้มข้นกรดต่ำ-น้ำตาลต่ำ และน้ำลิ้นจี่เติมสีผงน้ำตาล ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) โดยที่ น้ำลิ้นจี่เติมสีผงน้ำตาล มีคะแนนการยอมรับทางด้านรสชาติ และความชอบโดยรวม มากที่สุด ซึ่งมีคะแนนเท่ากัน คือ 7.27 คะแนน ส่วนน้ำลิ้นจี่เติมสีผง freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีคะแนนการยอมรับน้อยที่สุด (ตารางที่ 10) 1.2.2) การเติมสีหม่อนรูปแบบต่าง ๆ ในไวน์กระท้อน จากการนำสีธรรมชาติจากผลหม่อนสุกรูปแบบต่าง ๆ ไปเติมในไวน์กระท้อน แล้วทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ทางด้านความขุ่นใส สี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม พบว่า คุณภาพทางด้านความขุ่นใส ของไวน์กระท้อนที่ไม่เติมสี มีคะแนนการยอมรับมากที่สุดเท่ากับ 8.27 คะแนน ส่วนไวน์กระท้อนที่เติมสีรูปแบบต่าง ๆ จะมีคะแนนการยอมรับน้อยกว่า โดยที่ ไวน์กระท้อนเติมสีผง freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีคะแนนการยอมรับน้อยที่สุดเท่ากับ 5.40 คะแนน (ตารางที่ 11) จะเห็นว่าการเติมสีจะทำให้ไวน์มีความขุ่นมากขึ้น คุณภาพทางด้านสี พบว่า ไวน์กระท้อนเติมสีเข้มข้นกรดต่ำ-น้ำตาลต่ำ มีคะแนนการยอมรับมากที่สุดเท่ากับ 7.40 คะแนน ส่วนไวน์กระท้อนเติมสีผง freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีคะแนนการยอมรับน้อยที่สุดเท่ากับ 5.47 คะแนน คุณภาพทางด้านกลิ่น พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) คุณภาพทางด้านรสชาติ และความชอบโดยรวมรวม พบว่า ไวน์กระท้อนที่เติมสีเข้มข้นกรดต่ำ-น้ำตาลต่ำ มีคะแนนการยอมรับมากที่สุดเท่ากับ 7.27 และ 6.93 คะแนน ตามลำดับ ส่วนไวน์กระท้อนเติมสีผง freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีคะแนนการยอมรับน้อยที่สุดเท่ากับ 5.53 และ 5.27 คะแนน ตามลำดับ (ตารางที่ 11) 1.2.3) การเติมสีหม่อนรูปแบบต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์วุ้น จากการนำสีธรรมชาติจากผลหม่อนสุกรูปแบบต่าง ๆ ไปเติมในผลิตภัณฑ์วุ้น แล้วทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ทางด้าน สี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม พบว่า คุณภาพทางด้านสี ของผลิตภัณฑ์วุ้นที่ไม่เติมสี มีคะแนนการยอมรับน้อยที่สุดเท่ากับ 4.27 คะแนน ส่วนผลิตภัณฑ์วุ้นที่เติมสีเข้มข้นกรดสูง-น้ำตาลสูง มีคะแนนการยอมรับมากที่สุด เท่ากับ 7.80 คะแนน คุณภาพทางด้านกลิ่น พบว่า ผลิตภัณฑ์วุ้นไม่เติมสี ผลิตภัณฑ์วุ้นเติมสีเข้มข้นกรดสูง-น้ำตาลสูง ผลิตภัณฑ์วุ้นเติมสีเข้มข้นกรดต่ำ-น้ำตาลสูง ผลิตภัณฑ์วุ้นเติมสีเข้มข้นกรดสูง-น้ำตาลต่ำ ผลิตภัณฑ์วุ้นเติมสีเข้มข้นกรดต่ำ-น้ำตาลต่ำ และผลิตภัณฑ์วุ้นเติมสีผงน้ำตาล ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ส่วนผลิตภัณฑ์วุ้นเติมสีผง freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีคะแนนการยอมรับน้อยที่สุดเท่ากับ 4.00 คะแนน (ตารางที่ 12) คุณภาพทางด้านรสชาติ พบว่า ผลิตภัณฑ์วุ้นเติมสีเข้มข้นกรดต่ำ-น้ำตาลต่ำ มีคะแนนการยอมรับมากที่สุดเท่ากับ 7.33 คะแนน ผลิตภัณฑ์วุ้นเติมสีผง freeze dry น้ำตาลต่ำ-กรดสูง มีคะแนนการยอมรับน้อยที่สุดเท่ากับ 3.93 คะแนน คุณภาพทางด้านความชอบโดยรวม พบว่า ผลิตภัณฑ์วุ้นที่เติมสีเข้มข้นกรดสูง-น้ำตาลสูง มีคะแนนการยอมรับมากที่สุดเท่ากับ 7.33 คะแนน ส่วนผลิตภัณฑ์วุ้นเติมสีผง freeze dry น้ำตาลต่ำ – กรดสูง มีคะแนนการยอมรับน้อยที่สุดเท่ากับ 4.20 คะแนน 2.3) ระยะความสุกของผลหม่อนต่อคุณภาพผลหม่อนแช่อิ่ม จากการนำผลหม่อนที่มีความสุก 3 ระยะ คือ แดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก ไปผลิตเป็นผลหม่อนแช่อิ่ม แล้วนำไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า ความแข็งของผลหม่อนจะลดลงเมื่อมีระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก ใช้แรงในการตัดให้ขาด เท่ากับ 15.16 10.42 และ 6.09 นิวตัน ตามลำดับ (ตารางที่ 15) คุณภาพด้านสีของผลหม่อนแช่อิ่ม เมื่อนำผลหม่อน แช่อิ่มเติมน้ำกลั่นในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 ปั่นให้ละเอียด แล้วบีบเอาเฉพาะน้ำคั้นไปตรวจวิเคราะห์ค่าสี พบว่า ค่า L* (ความสว่าง) จะลดลงเมื่อระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 25.79 17.46 และ 13.65 ตามลำดับ ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 18.48 23.31 และ 18.62 ตามลำดับ และค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 6.32 -8.80 และ -5.55 ตามลำดับ ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่า จะมีค่าสูงขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 2.48 3.63 และ 3.86 ตามลำดับ (ตารางที่ 15) สำหรับคุณภาพทางเคมี พบว่า ค่า Water activity มีค่าต่ำกว่า 0.65 ซึ่งสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ โดยที่ ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 0.47 0.43 และ 0.41 ตามลำดับ เมื่อนำผลหม่อนแช่อิ่มไปบดแล้วหาปริมาณความชื้น พบว่า จะลดลงเมื่อมีระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 12.53 11.81 และ 10.84 ตามลำดับ เมื่อนำน้ำคั้นผลหม่อนแช่อิ่มไปตรวจวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่าง (pH) พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 3.40 3.50 และ 3.38 ตามลำดับ ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า มีค่าลดลงเมื่อระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีเท่ากับร้อยละ 0.73 0.52 และ 0.47 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พบว่า จะเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 30.03 34.07 และ 34.78 oBrix ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ที่เพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 26.13 37.83 และ 46.54 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ (ตารางที่ 15) เมื่อนำผลหม่อนแช่อิ่มไปทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ทางด้าน ลักษณะปรากฏ ลักษณะเนื้อสัมผัส สี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม พบว่า ความสุกมีผลต่อลักษณะคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผลหม่อนแช่อิ่ม โดยที่ คะแนนการยอมรับทางลักษณะปรากฏ ของผลหม่อน แช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก เท่ากับ 5.87 7.67 และ 5.40 คะแนน ตามลำดับ (ตารางที่ 16) คะแนนการยอมรับทางลักษณะเนื้อสัมผัส ของผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก เท่ากับ 6.47 7.27 และ 5.40 คะแนน ตามลำดับ คะแนนการยอมรับทางด้านสี ของผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก เท่ากับ 5.73 8.00 และ 6.13 คะแนน ตามลำดับ คะแนนการยอมรับทางด้านกลิ่น ของผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก เท่ากับ 6.93 7.53 และ 6.40 คะแนน ตามลำดับ คะแนนการยอมรับทางด้านรสชาติ ของผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก เท่ากับ 6.93 7.60 และ 5.53 คะแนน ตามลำดับ และ คะแนนการยอมรับทางความชอบโดยรวม ของผลหม่อนแช่อิ่มแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก เท่ากับ 6.67 7.80 และ 5.87 คะแนน ตามลำดับ (ตารางที่ 16) จะเห็นว่าผลหม่อนห่ามแช่อิ่มมีคะแนนการยอมรับในทุกลักษณะคุณภาพมากที่สุด ดังนั้น จึงเหมาะสมที่จะนำไปผลิตเป็นผลหม่อนแช่อิ่มต่อไป การทดลองที่ 3 การผลิตลูกอมผลหม่อน 3.1) ผลของระดับความแข็งที่แตกต่างกันของลูกอมผลหม่อน จากการนำผลหม่อนที่มีระยะความสุกแดงทั้งผล ไปผลิตเป็นลูกอมผลหม่อน ที่มีความอ่อนแข็งแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ แข็งน้อย แข็งปานกลาง และแข็งมาก แล้วนำไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพด้านความแข็งโดยใช้เครื่อง Texture analyzer โดยวัดแรงในการเจาะลงในลูกอมลึก 5 มิลลิเมตร พบว่า ลูกอมระดับแข็งน้อย แข็งปานกลาง และแข็งมาก ใช้แรงในการเจาะ เท่ากับ 5.15 10.25 และ 15.81 นิวตันตามลำดับ (ตารางที่ 17) สำหรับคุณภาพทางเคมี เมื่อนำลูกอมไปวิเคราะห์ปริมาณความชื้น พบว่า จะลดลงเมื่อความแข็งมากขึ้น โดยที่ ลูกอมระดับแข็งน้อย แข็งปานกลาง และแข็งมาก มีความชื้นเท่ากับร้อยละ 7.19 6.40 และ 5.96 ตามลำดับ เมื่อนำลูกอมไปทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า ลักษณะรูปร่างของลูกอม ได้รับคะแนนความชอบสูงขึ้นตามระดับความแข็งที่เพิ่มขึ้น โดยที่ ลูกอมระดับแข็งน้อย แข็งปานกลาง และแข็งมาก มีรับคะแนนการยอมรับ เท่ากับ 4.53 7.00 และ 7.22 คะแนน ตามลำดับ (ตารางที่ 17) อาจเป็นเพราะว่า ลูกอมที่ความแข็งมากขึ้นจะทำให้รูปทรงอยู่ตัว ไม่เสียรูปทรง แต่ถ้าลูกอมมีความอ่อนมากเกินไปก็จะทำให้ลูกอมยุบตัวได้ ส่วนคะแนนการยอมรับทางด้านความแข็ง ความรู้สึกขณะอม ความรู้สึกขณะเคี้ยว และความชอบโดยรวม พบว่า ลูกอมความแข็งปานกลาง ได้รับคะแนนมากที่สุด เท่ากับ 7.27 7.13 7.20 และ 6.93 คะแนน ตามลำดับ (ตารางที่ 17) ดังนั้น การผลิตลูกอมผลหม่อนที่มีความแข็งระดับปานกลางจึงเหมาะที่สุด 3.2) ระยะความสุกของผลหม่อนต่อคุณภาพลูกอมผลหม่อน จากการนำผลหม่อนที่มีความสุก 3 ระยะ คือ แดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก ไปผลิตเป็นลูกอมผลหม่อน แล้วนำไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพด้านความแข็งโดยใช้เครื่อง Texture analyzer โดยวัดแรงในการเจาะลงในลูกอมลึก 5 มิลลิเมตร พบว่า แรงที่ใช้เจาะไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) โดยที่มีแรงเจาะอยู่ในช่วง 10-11 นิวตัน (ตารางที่ 18) คุณภาพด้านสีของลูกอมผลหม่อน เมื่อนำลูกอมผลหม่อนเติมน้ำกลั่นในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ปั่นให้ละเอียด แล้วบีบเอาเฉพาะน้ำคั้นไปตรวจวิเคราะห์ค่าสี พบว่า ค่า L* (ความสว่าง) จะลดลงเมื่อระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 28.73 27.14 และ 20.69 ตามลำดับ ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 10.45 6.98 และ 6.33 ตามลำดับ และ ค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 5.67 1.31 และ -2.37 ตามลำดับ ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่า จะมีค่าสูงขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 0.96 1.17 และ 1.96 ตามลำดับ (ตารางที่ 18) สำหรับคุณภาพทางเคมี พบว่า ค่า Water activity มีค่าต่ำกว่า 0.65 ซึ่งสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ โดยที่ ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 0.42 0.43 และ 0.52 ตามลำดับ ปริมาณความชื้น พบว่า ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 6.51 6.62 และ 6.74 ตามลำดับ เมื่อนำน้ำคั้นลูกอมผลหม่อนไปตรวจวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่าง (pH) พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 2.99 3.15 และ 4.69 ตามลำดับ ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า มีค่าลดลงเมื่อระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีเท่ากับร้อยละ 1.72 0.87 และ 0.47 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พบว่า จะเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 42.34 44.32 และ 50.33 oBrix ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ที่เพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ ลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 64.67 76.33 และ 85.34 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ (ตารางที่ 18) เมื่อนำลูกอมผลหม่อนไปทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ทางด้าน ลักษณะรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ ความรู้สึกขณะอม ความรู้สึกขณะเคี้ยว และความชอบโดยรวม พบว่า คะแนนการยอมรับของลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล และผลห่าม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ส่วนลูกอมผลหม่อนสุก มีคะแนนการยอมรับน้อยที่สุด (ตารางที่ 19) จะเห็นว่าลูกอมผลหม่อนแดงทั้งผล และผลห่าม มีความเหมาะสมที่จะนำไปผลิตเป็นลูกอมผลหม่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้บริโภคแต่ละคนด้วย การทดลองที่ 4 การผลิตผลหม่อนอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze drying) จากการนำผลหม่อนที่มีความสุก 3 ระยะ คือ แดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก ไปผลิตเป็นผลหม่อนอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง โดยเครื่อง Freeze dryer แบบถาด แล้วตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า แรงที่ใช้ตัดผลหม่อนอบแห้งให้ขาด มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับ 3.87 4.64 และ 5.98 นิวตัน ตามลำดับ (ตารางที่ 20) ความสามารถในการดูดน้ำกลับ พบว่า มีค่าลดลงเมื่อระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 246.39 165.60 และ 48.85 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ คุณภาพด้านสีของลูกอมผลหม่อน เมื่อผลหม่อนอบแห้งเติมน้ำกลั่นในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ปั่นให้ละเอียด แล้วบีบเอาเฉพาะน้ำคั้นไปตรวจวิเคราะห์ค่าสี พบว่า ค่า L* (ความสว่าง) จะลดลงเมื่อระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 14.36 11.60 และ 10.52 ตามลำดับ ค่า a* (สีแดง/สีเขียว) พบว่า ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 21.64 20.86 และ 15.27 ตามลำดับ และค่า b* (สีเหลือง/น้ำเงิน) พบว่า ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น -3.58 -6.61 และ -9.53 ตามลำดับ ส่วนค่าความเข้มของสี (OD520) พบว่า จะมีค่าสูงขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 0.84 1.58 และ 1.75 ตามลำดับ (ตารางที่ 20) สำหรับคุณภาพทางเคมี พบว่า ปริมาณความชื้นของผลหม่อนอบแห้ง มีค่าลดลงเมื่อระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 15.41 12.13 และ 9.08 ตามลำดับ เมื่อนำน้ำผลหม่อนไปตรวจวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่าง (pH) พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 2.93 3.91 และ 5.05 ตามลำดับ ปริมาณกรดทั้งหมด พบว่า จะลดลงเมื่อระยะความสุกเพิ่มขึ้น โดยที่ ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 6.08 3.45 และ 1.07 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด พบว่า จะเพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเป็น 8.40 9.47 และ 20.32.11 oBrix ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ที่เพิ่มขึ้นตามระยะความสุกที่เพิ่มขึ้น โดยที่ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีค่าเท่ากับร้อยละ 6.67 8.29 และ 13.46 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ (ตารางที่ 20) สำหรับองค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระในผลหม่อนอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง พบว่า ในแต่ระยะความสุก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยที่ผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล ผลห่าม และผลสุก มีปริมาณสารเควอซีติน เท่ากับ 5.72 7.61 และ 17.50 µg /g ตามลำดับ (ตารางที่ 20) ปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมด เท่ากับ 3151.51 6090.91 และ 8306.91 µg /g ตามลำดับ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด เท่ากับ 10074.08 12110.50 และ 10521.18 µg /g ตามลำดับ ส่วนดัชนีสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ในผลหม่อนอบแห้งแดงทั้งผล และผลห่าม มีค่าใกล้เคียงกัน เท่ากับ 11.87 และ 11.90 ตามลำดับ และผลหม่อนสุกอบแห้ง จะมีดัชนีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด เท่ากับ 13.40 (ตารางที่ 20) จะเห็นว่าในผลหม่อนอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จะมีองค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มสูงขึ้นเป็นหลายเท่า ของผลหม่อนสด เมื่อนำผลหม่อนอบแห้งไปทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ทางด้าน ลักษณะปรากฎ ลักษณะเนื้อสัมผัส สี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม พบว่า ผลหม่อนอบแห้งระยะห่าม มีคะแนนการยอมรับมากที่สุด รองลงมาเป็นผลหม่อนอบแห้งระยะแดงทั้งหมด และผลหม่อนอบแห้งระยะสุก ตามลำดับ (ตารางที่ 21) จะเห็นว่าผลหม่อนระยะผลห่าม มีความเหมาะสมที่จะนำไปผลิตเป็นผลหม่อนอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้บริโภคแต่ละคนด้วย 2.6 งานตามแผนงานวิจัย / โครงการวิจัยที่จะทำต่อไป ..... 2.6.1 ศึกษากรรมวิธีการผลิตน้ำหม่อนโปรไบโอติก ผลหม่อนในน้ำเชื่อม 2.6.2 ศึกษาการ นำสีผลหม่อนไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเชิงพาณิชย์ 2.6.3 ศึกษาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัฑ์จากผลหม่อนชนิดต่าง ๆ 2.6.4 ศึกษาการผลิตผลิตภัณฑ์และต้นทุนการผลิตจากผลหม่อน ในเชิงพาณิชย์ 2.6.6 ศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ 2.6.7 ศึกษาการผลิตชาใบหม่อนและชาใบหม่อนผง 2.6.8 ศึกษากรรมวิธีการผลิตน้ำชาใบหม่อนพร้อมดื่ม 2.6.9 คัดเลือกและทดสอบทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ 2.6.10 ศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากผงใบหม่อนและผงชาใบหม่อน 2.6.11 พัฒนาปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากใบหม่อนและชาใบหม่อนผง 2.6.12 ศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ 2.6.13พัฒนาปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการยอมรับ 2.6.14 ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคทั่วไป 2.6.15 ถ่ายทอดเทคโนโลยี 2.6.16 สรุปและรายงาน ติดตามราบละเอียดผลการวิจัยฉบับจริงได้ที่ รายงานผลการค้นคว้าวิจัย สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติฯ ประจำปี 2550