ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน


ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่

30 ก.ย. 2552

บริการจำหน่าย/จ่ายเเจกท่อนพันธุ์หม่อน-ไข่ไหม ประจำปี 2553

        ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ บริการจำหน่าย/จ่ายเเจกท่อนพันธุ์หม่อน-ไข่ไหม ประจำปี 2553  ให้แกเกษตรกร , หน่วยงานราชการ , บริษัทเอกชน และบุคคลที่ให้ความสนใจ   ติดต่อขอรับ จำหน่าย จ่าย แจก ได้  ในวันเวลา ราชการ













ท่อนพันธุ์หม่อน                              
 ติดต่อ อ.สมโภชน์   ป้านสุวรรณ     
 โทร.053-498334
 Fax.
 มือถือ.















ไข่ไหม    
 ติดต่อ อ.เสาวณีย์   อภิญญานุวัฒน์     
             คุณยศวดี   มะโนรัตน์
             คุณสุนันทา   อินต๊ะคำ
โทร.053-114098 , 053-114140
 Fax.053-114096
 มือถือ.081-8818749




*สั่งจองล่วงหน้า 10 - 15 วันก่อนนำไปเลี้ยงไหม*


แบบฟอร์มขอรับท่อนพันธุ์หม่อน-ไข่ไหม









                                                

9 ก.ย. 2552

ผลการดำเนินงานโครงการพระราชดำริ ปี 2552

โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน จ.เชียงใหม่

ความเป็นมา


เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณดอยม่อนล้าน ณ จุดความสูง 1,360 เมตร ใกล้บ้านอาแย หมู่ที่ 3 ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากได้รับรายงานข้อมูลจากสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกบุกรุกแผ้วถาง ทำไร่หมุนเวียนเป็นแนวกว้างประมาณ 11,000 ไร่ ถ้าไม่มีการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม พื้นที่ป่าก็จะถูกบุกรุกเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลุ่มน้ำแม่งัดและเป็นสาขาของลุ่มน้ำปิงตอนบน และจะเป็นผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนแม่งัดลดลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวเชียงใหม่

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญแม่ทัพภาคที่ 3 ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้แทนกรมป่าไม้ ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนกรมพัฒนาชุมชน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16 และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมปรึกษาหารือในการแก้ปัญหา และขอใช้พื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วบริเวณดอยม่อนล้าน พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ มาจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง โดยให้ราษฎรจาก 3 หมู่บ้าน ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ดอยม่อนล้าน มาเข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่

1. บ้านอาบอลาชา หมู่ที่ 11 ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ จำนวน 35 หลังคาเรือน 200 คน

2. บ้านอาบอน หมู่ที่ 11 ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ จำนวน 16 หลังคาเรือน 81 คน

3. ราษฎรบ้านอาแย หมู่ที่ 3 ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ จำนวน 42 หลังคาเรือน 286 คน

ผลการดำเนินงาน

ส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายน้ำหม่อนพร้อมดื่มชนิดสเตอริไลน์ เป้าหมายจำนวน 10,000 ขวด ระยะเวลา 6 เดือน ผลิตน้ำหม่อนพร้อมดื่มได้ จำนวน 9,999 ขวด ทางศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ในการผลิตน้ำหม่อนพร้อมดื่ม อาทิเช่น ฉลากติดขวด ,กาวทาฉลาก,ฝาจีบ กล่องบรรจุ ส่วนขวดแก้ว,น้ำตาลทราย,กรดมะนาว ทางศูนย์หม่อนไหมฯ สนับสนุนในช่วงแรกหลังจากนั้นทางสถานีฯจัดหามาดำเนินการเอง และสนับสนุนปัจจัยในการผลิตใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตในแปลงหม่อนจำนวน 20 กระสอบ สนับสนุนวัสดุปรับปรุงโรงแปรรูปผลผลิตจากหม่อนปรับปรุงโรงเรือนแปรรูปเพื่อให้ได้มาตรฐาน อ.ย. (อาหารและยา) สนับสนุนอุปกรณ์ในการผลิต อาทิ หม้อต้มสเตอริไลน์ หม้อต้มผลหม่อน ตะแกรงกรอง กาละมัง ผ้ากรอง ผ้าปิดปาก หมวกผ้า ถุงมือยาง เครื่องกรองน้ำ เครื่องอัดฝาจีบเครื่องวัดความหวาน คูเลอร์ตวงใส่ขวด โต๊ะลำเลียงการผลิตและอื่นๆ

การทำน้ำหม่อนพร้อมดื่มชนิดสเตอริไลน์

ส่วนผสม ผลหม่อนสด จำนวน 4 กิโลกรัม

น้ำสะอาด จำนวน 20 ลิตร

น้ำตาลทราย จำนวน 3 กิโลกรัม

กรดมะนาว จำนวน 30 กรัม

จะได้น้ำหม่อนพร้อมดื่ม จำนวน 80 ขวด ความหวานประมาณ 15 องศาบริกซ์

ผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

ผลิตน้ำหม่อนพร้อมดื่มได้ จำนวน 9,999 ขวด จัดจำหน่ายงานสวนอัมพร จำนวน 1,992 ขวด ราคาขวดละ 35.-บาท เป็นเงิน 69,720.-บาท จำหน่ายตลาด อตก. กรุงเทพฯ จำนวน 1,200 ขวด ราคาขวดละ 25.-บาท เป็นเงิน 30,000.-บาท จำหน่ายศิลปาชีพฯห้วยแก้ว จำนวน 936 ขวด ราคาขวดละ 25.-บาท เป็นเงิน 23,400.-บาท รายได้ทูลเกล้าถวาย และจำหน่ายในตลาดทั่วไป จำนวน 2,695 ขวด ราคาขวดละ 20.-บาท เป็นเงิน 53,900.-บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 177,020.-บาท รายได้โอนเข้าบัญชีมูลนิธิศิลปาชีพฯ หักรายจ่าย 28,720.-บาท เหลือเงินทุนหมุนเวียน 25,180.-บาท





โครงการสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตรป่าไม้สิ่งแวดล้อมตามพระราชดำริ บ้านแปกแซม

ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเยี่ยมราษฎร บ้านแปกแซม ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ และทรงทอดพระเนตรสวนมันฝรั่ง ซึ่งอยู่ห่างบ้านแปกแซมไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กม. ทรงพบว่าทั้ง 2 จุดเป็นแหล่งต้นน้ำหกหลวง, ห้วยสามหมื่น, ห้วยนาอ่อน, ห้วยนายาว ซึ่งไหลไปลงน้ำแม่แตง ป่าไม้ได้ถูกแผ้วถางทำไร่มันฝรั่ง ไร่เผือก และสวนลิ้นจี่ และมีแนวโน้มจะถูกแผ้วถางตามจำนวนประชากรของหมู่บ้านที่อยู่โดยรอบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หมู่บ้านเหล่านั้น ได้แก่ บ้านเปียงหลวง บ้านหินแตก อีกทั้งหมู่บ้านดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อปัญหายาเสพติด อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีความห่วงใยสภาพป่าที่ถูกทำลายเป็นจำนวนมาก จึงได้มีพระราชเสาวนีย์ให้จัดตั้งโครงการจัดตั้งสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตรป่าไม้สิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากพระราชดำริ ดังกล่าว

พระราชดำริ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดตั้งสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตรป่าไม้สิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ความเป็นอยู่ และบรรเทาความเดือนร้อนของราษฎรในพื้นที่ รวมทั้งอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้คืนสภาพสมบูรณ์ดั่งเดิมเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สำหรับใช้อุปโภค บริโภค รวมทั้งใช้ในการเกษตรต่อไป

ผลการดำเนินงาน

งานส่งเสริมการทอผ้าไหมร่วมกับเส้นใยจากขนแกะ

ทำการฝึกอบรมเกษตรชาวเขาเผ่าลีซอ เรื่องการทอผ้าไหมโดยใช้กี่ทอมือชนิดกี่เอว เพื่อทอผ้าไหมร่วมกับขนแกะที่ผลิตได้ภายในโครงการฯ ร่วมกับสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียนซึ่งได้จ้างครูสอนทอผ้าไหมจำนวน 1 คนเพื่อฝึกอบรมและสาธิตและถ่ายทอดการทอผ้าไหมจำนวน 7 วัน ในเดือนมีนาคม 2552 หลังจากนั้นได้จัดให้ครูทอผ้าไหมฝึกอบรมเกษตรกรต่อเพื่อสาธิตและถ่ายทอดการทอผ้าไหมเป็นเวลา 6 เดือน ให้แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ โดยศูนย์ฯ สนับสนุนปัจจัยในการผลิตสนับสนุนเส้นไหมฟอกย้อมสีชนิดคละสี จำนวน 20 กิโลกรัม เพื่อนำไปใช้ในการทอผ้าไหม ซึ่งสามารถผลิตผ้าไหมร่วมกับขนแกะ ได้จำนวน 48 ผืน ทางศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ นำไปจำหน่ายใน ราคาผืนละ 800.-บาท จำนวน 18 ผืน เป็นเงิน 16,500.-บาท

งานส่งเสริมการปลูกหม่อนผลสด

ได้สนับสนุนปัจจัยในการผลิตในการดูแลรักษาแปลงหม่อนผสสด จำนวน 5 ไร่ โดยบำรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ยโดโลไมค์ลดความเป็นกรดในแปลงหม่อนจำนวน 20 กระสอบ ขณะนี้หม่อนมีอายุ 2 ปี คาดว่าจะให้ผลผลิตในปี พ.ศ.2553

 
 
โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่



ประวัติความเป็นมา

ความเป็นมาของโครงการ เมื่อ 23 กุมพันธ์ 2540 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนารถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขา ที่บ้านขุนแปะ ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

มีราษฏร 200-300คน จากบ้านหินเหล็กไฟ บ้านห้วยมะนาว บ้านห้วยขนุน มาเข้าเฝ้าและขอพระราชทานความช่วยเหลือของานทำเป็นชาวไทยภูเขาที่เคยตดยาเสพติดได้รับการบำบัดให้เลิกยาเสพติดแล้ว พวกเขาไม่มีงานทำพวกเขาสัญญากับพระองค์ว่า ได้เลิกยาเสพติดแล้วจริงๆและมาของานพระองค์ทำและพระองค์มีพระราชเสาวนีย์ให้คุณสหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษและคณะ

ให้ดำเนินการจัดตั้งฟาร์มตัวอย่างที่บ้านขุนแตะ หมู่5 ต.ดอยแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยให้การดำเนินงานในลักษณะเป็นศูนย์สาธิตและส่งเสริมด้านการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ตลอดจนให้มีการเพาะเห็ดและปลูกไม้ใช้สอย (ไม้ยูคาลิบตัส,สะเดา) สำหรับราษฎร โดยให้จัดจ้างแรงงานราษฏรยากจนภายในหมู่บ้านและจากหมู่บ้านใกล้เคียง มีการสร้างธนาคารข้าวพระราชทานและที่เก็บน้ำฝน โดยมอบให้กองทัพบกและกองทัพภาคที่3 เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งและควบคุมฟาร์มตัวอย่างดังกล่าว

ผลการดำเนินงาน

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานในกิจกรรมของโครงการฟาร์มตัวอย่างในปีงบประมาณ 2552 ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ซึ่งมีกิจกรรมที่ได้ร่วมดำเนินงาน ดังนี้

1. จัดซื้อและส่งมอบวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำชาใบหม่อน จำนวน 5 รายการ ให้กับเจ้าหน้าที่ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านขุนแตะ

2. ให้คำแนะนำทางวิชาการดูแลแปลงหม่อนสำหรับผลิตชาหม่อนโดยตัดแต่งกิ่งหม่อนใหม่กิ่งหลัก จำนวน 8-10 กิ่ง เพื่อกระตุ้นให้แตกกิ่งใหม่ที่แข็งแรง และมีใบที่สมบูรณ์

3. โรงผลิตชา ได้ผ่านดำเนินการขอ อย. แล้ว

4. สนับสนุนเส้นไหม จำนวน 5 กิโลกรัม เพื่อจัดทำหมอนใบชา และได้หมอนต้นแบบจำนวน 5 ใบ

5. สนับสนุนกล่องบรรจุชาใบหม่อน เพื่อนำไปบรรจุชาใบหม่อน ที่จัดพิมพ์ตามระบบมาตรฐาน ของ อย. สำหรับให้ทางโครงการฟาร์มตัวอย่าง บ้านขุนแตะนำไปบรรจุชาใบหม่อน ซึ่งสามารถผลิตชาใบหม่อนได้เดือนละ 30 กิโลกรัม จึงมีผลิตภัณฑ์ ชาใบหม่อน จำหน่ายตลอดทั้งปี

6. สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ไวน์มาตรฐานดำเนินการจัดซื้อและส่งมอบบรรจุภัณฑ์ไวน์ เพื่อนำไปบรรจุไวน์หม่อนสาธิตและถ่ายทอดวิธีการทำไวน์เบื้องต้น จำนวนทั้งสิ้น 100 กิโลกรัม และให้คำปรึกษาเรื่อง ขั้นตอนการถ่ายตะกอน

7. นำผลผลิตไวน์จากโครงการฯ มาบรรจุใส่ขวด จำนวน 396 ขวด พร้อมติดฉลากแล้วส่งกลับโครงการ เพื่อให้โครงการฯ รอจำหน่าย ต่อไป คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 59,400 บาท

8. ติดตามแปลงปลูกหม่อนผลสดของเกษตรกร ขณะนี้เกษตรกรกำลังรอผลผลิตหม่อน เพื่อจะเก็บเกี่ยวผลสดมาจำหน่ายให้แก่โครงการฯ ต่อไป

รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโครงการ

จำหน่ายที่ร้านของโครงการ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ชาใบหม่อนขนาด 50 กรัม จำนวน 199 กล่อง ๆ ละ 45.-บาท เป็นเงิน 8,955.-บาท ชาใบหม่อนขนาด 80 กรัม จำนวน 67 กล่อง ๆ ละ 40.-บาท เป็นเงิน 2,680.-บาท ชาใบหม่อนชนิดถุง 50 กรัม จำนวน 422 ถุง ๆ ละ 20.-บาท เป็นเงิน 8,440.-บาท ชาใบหม่อนชนิด 30 ซอง จำนวน 64 กล่อง ๆ ละ 50.-บาท เป็นเงิน 3,200.-บาท น้ำผลหม่อน จำนวน 908 ขวด ๆ ละ 10.-บาท เป็นเงิน 9,080.-บาท ชาใบหม่อน 36 ซอง จำนวน 18 กล่อง ๆ ละ 60.-บาท เป็นเงิน 1,080.-บาท และผลหม่อนหยี จำนวน 30 ซอง ๆ ละ 20.-บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 34,035.-บาท

จำหน่ายงานสวนอัมพร กรุงเทพมหานคร ชาใบหม่อนขนาด 50 กรัม จำนวน 209 กล่องๆ ละ 45.-บาท เป็นเงิน 9,405.-บาท ชาใบหม่อนชนิด 30 ซอง จำนวน 217 กล่อง ๆ ละ 50.-บาท เป็นเงิน 10,850.-บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 20,255.-บาท จำหน่ายตลาด อตก. กรุงเทพฯ ชาใบหม่อนชนิด 30 ซอง จำนวน 150 กล่องๆ ละ 50.-บาท เป็นเงิน 7,500.-บาท ชาใบหม่อนขนาด 50 กรัม จำนวน 140 กล่อง ๆ ละ 45.-บาท เป็นเงิน 6,300.-บาท ชาพร้อมกาชง จำนวน 24 ถุง ๆ ละ 80.-บาท เป็นเงิน 1,920.-บาท น้ำผลหม่อน จำนวน 800 ขวด ๆ ละ 10.-บาท เป็นเงิน 8,000.-บาท และไวน์หม่อนจำนวน 12 ขวด ๆ ละ 200.-บาท เป็นเงิน 2,400.-บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 26,120.-บาท รายได้ทูลเกล้าถวาย

 
 
 
โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯบ้านแม่ตุงติง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่



ประวัติความเป็นมา


เมื่อ 5 มีนาคม 2540 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนารถ เสด็จเยี่ยมราษฎร์ ณ ป่าต้นน้ำห้วยแม่ตุงติงตำบลแม่สาบอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระราชทานพระราชเสาวนีย์แก่ราชการส่วนรวมโครงการฯป่าสะเมิงให้จัดตั้งโครงการฟาร์มตัวอย่างและศูนย์ฝึกทอผ้าบ้านแม่ตุงติง ในบริเวณพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพื่อให้ราษฎร์ฝึกอบรมอาชีพเกษตร ทอผ้า ปศุสัตว์ตลอดจนให้มีการเพาะเห็ด ปลูกไม้ใช้สอยต่างๆเช่นยูคาลิปตัส สะเดาโดยจ้างแรงงานราษฎรยากจนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงตลอดจนให้จัดตั้งธนาคารข้าวและที่เก็บน้ำฝน โดยทรงมอบให้กองทัพภาคที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งควบคุมดูแลฟาร์มตัวอย่างดังกล่าว

ต่อมาส่วนราชการร่วมโครงการฯโดยให้สำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16 ได้รับการประสานจากราษฎรที่มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดิน 39 ไร่เพื่อจัดตั้งโครงการฟาร์มและเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2541 ได้รับมอบที่ดินจากราษฎรจำนวน 22 ไร่ รวมพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมอีก 20 ไร่ สำนักพระราชวังจัดหาอีก 6 ไร่ เมื่อปี 2543สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนารถมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดสร้างกรงเลี้ยงนกเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและทัศนศึกษา สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16 จัดหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมใกล้กับบริเวณฟาร์มได้จำนวน 48 ไร่และเมื่อปี 2544 ได้มีราษฎรบริจาคพื้นที่เพิ่มอีก 12 ไร่ ปัจจุบันโครงการฟาร์มตัวอย่างมีพื้นที่ดำเนินการทั้งสิ้น 147 ไร่

สถานที่ตั้งโครงการฯบ้านแม่ตุงติง หมู่ที่5 ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่อยู่ติดกับถนนสายปางเติม-บ้านแม่ตุงติงประมาณ 500 เมตรบริเวณพิกัด MA 674966

การจัดตั้งโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านแม่ตุงติงในลักษณะเป็นศูนย์สาธิตและส่งเสริมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ทำให้ราษฎรมีแหล่งอาหารโปรตีนส่งเสริมในพื้นที่ เป็นแหล่งข้อมูลในการถ่ายทอดกรรมวิธีของกิจกรรมที่ดำเนินการในฟาร์มที่ได้ผลให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯเพื่อดำเนินการเองตลอดจนให้ราษฎรมีความรับผิดชอบในด้านการดำเนินกิจกรรมต่างๆเป็นกลุ่มในลักษณะเป็นสหกรณ์ โดยให้ราษฎรในหมู่บ้านเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ในปีงบประมาณ 2552 ในกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้

1) จัดทำระบบน้ำแบบประหยัด ในพื้นที่ 1 ไร่ โดยฟาร์มฯ ดำเนินการใช้สาย พีอี ขนาด 20 มม. และทำมินิสปริงส์เกิลร์ ขนาด 80-120 ลิตร/ชั่วโมง

2) ร่วมประสานงานแบบการก่อสร้างโรงเรือนแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อน กับสำนักงานสาธารณสุข อำเภอสะเมิง และ อยู่ในช่วงประสานงานขอ อย.

3) ให้คำแนะนำนักวิชาการประจำฟาร์ม ในการตัดแต่งกิ่งหมอนพันธุ์ บุรีรัมย์ 60 หลังจากเก็บใบเพื่อทำชาหม่อน และ นำกิ่งหม่อนไปบักชำเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป

4) ติดตามงานเลี้ยงไหมกับประธานกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงไหม บ้านแม่ตุงติง ทางกลุ่มได้ขอยกเลิกกิจกรรมเลี้ยงไหม เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถแบ่งเวลามาเลี้ยงไหมได้เนื่องจากเกษตรกรมีอาชีพหลากหายจึงไม่สามารถแบ่งเวลามาเลี้ยงไหมได้ ดังนั้น จึงขอทำการยกเลิกกิจกรรมเลี้ยงไหมไป

5) ร่วมปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่ของโรงการฟาร์มตัวอย่างฯ เรื่อง ปรับปรุงโรงเรือนแปรรูปหม่อนผลสด โดยให้ได้ตามมาตรฐาน อย.

6) นำเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จ.ลำพูน จำนวน 50 ราย ศึกษาดูงานโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ บ้านแม่ตุงติง และ ทางฟาร์มได้ทำการสาธิตวิธีการทำแยมหม่อน

7) สนับสนุนหม้อสำหรับฟอกเส้นไหมและย้อมสี่เส้นไหมให้กับกลุ่มเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านแม่ตุงติง เพื่อนำไปใช้ทอผ้าไหมลวดลายใหม่ ของครูสอนทอผ้าจากศูนย์ศิลปาชีพ

8) สาธิตและถ่ายทอดความรู้การทำแยมจากผลหม่อน ซึ่งในปีงบประมาณ 2552 ทางโครงการฟาร์มตัวอย่าง บ้านแม่ตุงติง สามารถผลิตแยมหม่อนได้ จำนวน 2,850 ขวด

9) ปลูกแปลงไม้ย้อมสี ดำเนินการจัดทำกรอบไม้ไผ่ล้อมรอบไม้ย้อมสีถางหญ้าและทาสีให้เด่นชัดขึ้น

ผลิตแยมได้ทั้งหมดจำนวน 2,850 ขวด ทางศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯเชียงใหม่ นำไปจำหน่ายในงานหัตถศิลป์แผ่นดินแม่ วันที่ 7 – 16 สิงหาคม 2552 จำนวน 74 ขวด ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,590 บาท ที่เหลือจัดเก็บไว้รอจำหน่ายต่อไป


 
 
 
 
โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯบ้านดงเย็น อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่



ความเป็นมา



สืบเนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริกับนายสหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ณ บ้านห้วยสะแพค หมู่ที่ ๙ ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้จัดหาพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเพื่อสร้างให้ราษฎรที่มีฐานะยากจนมีงานทำ

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ ร่วมกับผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิกรรมพิเศษ ได้สำรวจคัดเลือกพื้นที่ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าธาร บ้านดงเย็น หมู่ที่ ๑๕ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเขียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ ไร่ และให้จัดตั้ง “โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านดงเย็น ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่” ขึ้น

ประโยชน์ที่ราษฎรจะได้รับ

1. ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯและพื้นที่ใกล้เคียงมีงานทำ ไม่ต้องละทิ้งภูมิลำเนาไปทำงานที่อื่น

2.เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกงานการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ เพื่อผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ผลผลิตสูงสุด และปลอดภัยจากสารพิษ

3.ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเพียงพอต่อการดำรง ชีวิตประจำวันได้

4.ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯเกิดความสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณและมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ผลการดำเดินงาน

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานในกิจกรรมของโครงการฟาร์มตัวอย่างในปีงบประมาณ 2552 ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ซึ่งมีกิจกรรมที่ได้ร่วมดำเนินงาน ดังนี้

1) สนับสนุนวัสดุในการแปรรูปผลหม่อนดำเนินการจัดซื้อและส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ในการแปรรูปผลหม่อนให้แก่โครงการฟาร์มฯบ้านดงเย็น ทั้งหมด 8 รายการ

2) ปรับปรุงโรงเรือนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อน จำนวน 1 โรง ดำเนินการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของฟาร์มแล้ว แต่ทางฟาร์มยังขาดบุคลากรทางด่านนี้จึงทำมีการปรับปรุงโรงเรือนล่าช้า และ มีแผนที่จะปรับปรุงโรงเรือนแปรูป ในปีงบประมาณต่อไป

3) จัดทำแปลงหม่อนผลสด จำนวน 2 ไร่ ได้ดำเนินการสนับสนุน พันธุ์หม่อนผลสด จำนวน 120 ต้น โดยทางฟาร์มได้ดำเนินการปลูกหม่อนผลสด บริเวณทางเข้าทั้งสองฝั่งของโครงการฯฟาร์มบ้านดงเย็นดำเนินการสนับสนุน พันธุ์หม่อน บุรีรัมย์ 60 จำนวน 5000 ต้นปลูกในพื้นที่ของฟาร์มจำนวน 5 ไร่ เพื่อนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์

4. สนับสนุนวัสดุการเกษตรสำหรับแปลงหม่อน ดำเนินการจัดทำระบบน้ำหยดในแปลงหม่อนผลสด จำนวน 120 ต้น ทำการจัดซื้อ ท่อพีอีหัวมินิสปริงเกอร์ เพื่อ นำมาใช้จัดทำระบบน้ำหยดในแปลงหม่อนผลสด

5. ถ่ายทอดความรู้ด้านการแปรรูปผลผลิตจากหม่อนสาธิตและถ่ายทอดความรู้ การทำหม่อนแช่อิ่ม ให้แก่เจ้าหน้าที่ของฟาร์มและร่วมกับเจ้าหน้าที่ของฟาร์มผลิตหม่อนแช่อิ่ม จำนวน 20 กิโลกรัม

ปัญหาและอุปสรรค

การผลิตหม่อนแช่อิ่ม ในปีงบประมาณ 2552 นั้น พบว่าหม่อนแช่อิ่มที่ผลิตได้มีปัญหาทางด้านการตลาด ไม่เป็นที่นิยมรับประทานของตลาด ดังนั้น ควรเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์



 
 
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรกลุ่มบ้านซิแบร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่


ความเป็นมา



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2542 ขอให้หน่วยงานพิจารณาให้ความช่วยเหลือราษฎร กลุ่มบ้านซิแบร ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งราษฎรมีฐานะยากจน ขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่อำเภออมก๋อยได้มีราษฎรบ้านซิแบร มาเฝ้ารับเสด็จ ทำให้ทรงทราบถึงความลำบากเดือดร้อนของราษฎร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีรับสั่งกับราษฎรเหล่านั้นว่าจะเสด็จกลับไปเยี่ยมราษฎรอีกครั้งในโอกาสต่อไปเนื่องจากราษฎรเป็นชาวไทยภูเขาเผ่า กระเหรี่ยงและมีอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ซึ่งแต่ละครอบครัวมีพื้นที่จำกัด เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาหรือที่ราบเชิงเขาและรายได้จากการประกอบอาชีพทางการเกษตรไม่ค่อยจะพอเพียงสำหรับเลี้ยงครอบครัว ดังนั้น สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ทำการส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และถ่ายทอดเทคโนโลยีการการทอผ้าไหมด้วยสีธรรมชาติให้แก่เกษตรกร โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอาชีพมั่นคงต่อไป

สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 7 และ 8 ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่พิกัด 327290 ระดับความสูงจากน้ำ ทะเลประมาณ 900 เมตร

ผลการดำเนินงาน

1. กิจกรรมการทอผ้าไหมลวดลายชนเผ่า

กิจกรรมของเกษตรกร ซึ่งมีการทอผ้าไหมเป็นหลัก โดยเกษตรกรได้รับเส้นไหม มาจากมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษ มาประมาณ 1,500 กิโลกรัม ทางศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ดำเนินการฝึกอบรมสาธิตและถ่ายทอดการย้อมสีธรรมชาติให้แก่บุคลากรของสถานีฯ และเกษตรกร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแนะนำส่งเสริมและปฏิบัติฟอกย้อมสีเส้นไหม เพื่อนำไปทอผ้าไหมสีฟอกย้อมด้วยสีธรรมชาติ จำนวน 12 ครั้ง สามารถทอผ้าไหมด้วยกี่ทอมือชนิดกี่เอว ได้ผ้าไหม จำนวน 4.531.8 เมตร

2. กิจกรรมการตรวจรับรองตรานกยูงพระราชทาน

โครงการมีสมาชิกที่ทอผ้าไหม จำนวน 4 หมู่บ้าน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 2 คำขอ คือคำขอขึ้นทะเบียนที่ ชม.001 บ้านซิแบร และบ้านปรอโพ หมู่ 7 ใบรับรองเลขที่ R-ชม.51-001 คำขอขึ้นทะเบียนที่ ชม.003 บ้านห้วยขนุนและบ้านห้วยยาบ หมู่ 8 ใบรับรองเลขที่ R-ชม.51-002 มีสมาชิกทั้งหมดรวม 346 คน ซึ่งได้การตรวจผ้าไหมเพื่อขอติดตรานกยูงสีทอง (Royal Thai Silk) จำนวนทั้งหมด 4,531.8 เมตร ผ่านการทดสอบและติดดวงตรานกยูงสีทอง จำนวน 2,652 เมตรไม่ผ่านการทดสอบ จำนวน1,879.8 เมตร รายละเอียดดังนี้

- บ้านซิแบรและบ้านปรอโพ หมู่ 7 ใบรับรองเลขที่ R-ชม.51-001 มีสมาชิกส่งผ้าไหมเข้ารับการตรวจ จำนวน 2,546.8 เมตร ผ่านการทดสอบและติดตรานกยูง จำนวน 1,660 เมตรไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ จำนวน 886.8 เมตร

- บ้านห้วยขนุนและบ้านห้วยยาบ หมู่ 8 ใบรับรองเลขที่ R-ชม.51-002 มีสมาชิกส่งผ้าไหมเข้ารับการตรวจ จำนวน 1,985 เมตร ผ่านการทดสอบและติดตรานกยูง จำนวน 992 เมตร ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ จำนวน 993 เมตร

 
 
 
โครงการพืชสมุนไพรหมู่บ้านตัวอย่างห้วยตึงเฒ่า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2552



ประวัติความเป็นมา



โครงการพืชสมุนไพรหมู่บ้านตัวอย่างห้วยตึงเฒ่า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้จัดตั้งขึ้นในพื้นที่โครงการจัดการหมู่บ้านตัวอย่างห้วยตึงเฒ่า ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของมณฑลทหารบกที่ 33 เพื่อจัดที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน ตลอดจนการพัฒนาอาชีพการเกษตรให้กับราษฎร์ในพื้นที่ของโครงการฯ โดยได้รับความสนับสนุนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงเกษตร และเป็นองค์กรการท่องเที่ยวใหม่ที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างยั่งยืน

สถานที่ดำเนินการ

โครงการพืชสมุนไพรหมู่บ้านตัวอย่างห้วยตึงเฒ่า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่





ผลการดำเนินงาน

ในปีงบประมาณ 2551 เจ้าหน้าที่โครงการฯ ได้ขอรับการสนับสนุนในเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อนำไปสู่การเลี้ยงไหมครบวงจร และเข้าสู่ขบวนการผลิตแปรรูปชาใบหม่อน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จึงได้ส่งมอบพันธุ์หม่อนบุรีรัมย์ 60 ให้แก่เกษตรกร จำนวน 2 ราย รายละ จำนวน 3,000 ถุง สำหรับเลี้ยงไหมและแปรรูปชาใบหม่อน และส่งเกษตรกร จำนวน 1 ราย เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบเน้นหนัก จำนวน 10 วัน ณ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับจัดทำโรงเรือนเลี้ยงไหมบางส่วน และในปีงบประมาณ 2552 เจ้าหน้าที่ของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ส่งเจ้าหน้าที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้คำแนะนำการดูแลแปลงหม่อนของเกษตรกร พร้อมกับสนับสนุนปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อบำรุงแปลงหม่อน เนื่องจากเห็นว่าหม่อนที่ปลูกไม่ได้รับการบำรุงรักษา และแนะนำให้ซ่อมแซมโรงเรือนให้เกษตรกร เตรียมการเลี้ยงไหมในเดือน กุมภาพันธ์ 2552 อย่างไรก็ตามเกษตรกรก็ไม่สามารถดำเนินการเลี้ยงไหมได้เนื่องจาก ไม่ได้ทำการเตรียมแปลงหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ แต่ได้ทำการผลิตชาใบหม่อนจำหน่ายได้ส่วนหนึ่ง ช่วงเดือนมีนาคม และในเดือนเมษายน 2552 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ สนับสนุนโดโลไมท์ จำนวน 200 กิโลกรัม และปุ๋ยหมัก จำนวน 30 กระสอบ เพื่อบำรุงแปลงหม่อน สำหรับการเตรียมการเลี้ยงไหมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการบำรุงดินในแปลงหม่อน เดือนสิงหาคม 2552 เจ้าหน้าที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้เข้าไปประเมินผลการปฏิบัติงานของเกษตรกรในโครงการ พบว่า เกษตรกรไม่สามารถเลี้ยงไหมและผลิตชาใบหม่อนได้ตามเป้าหมายของโครงการ ฯ เนื่องจากเกษตรกรสร้างโรงเรือนไม่แล้วเสร็จ และมีภารกิจอื่นนอกเหนือจากการดูแปลงหม่อน สำหรับเกษตรกรอีกหนึ่งรายที่มีเป้าหมายจะผลิตชาใบหม่อน และนำชาใบหม่อนผสมกับชาใบเชี่ยวกู่หลาน สำหรับเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ ก็ยังไม่สามารถผลิตได้เนื่องจาก หม่อนที่ปลูกมีอายุน้อยไม่สามารถนำมาผลิตชาใบหม่อน ในขณะเดียวกันยังอยู่ระหว่างความพร้อมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรชนิดอื่น ดังนั้นศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จึงยังไม่ได้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และวัสดุสำหรับจัดทำโรงงานแปรรูป และคาดว่าจะยุติการดำเนินงานโครงการดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรเตรียมความพร้อมสำหรับการเลี้ยงไหมและการแปรรูปชาใบหม่อน อย่างไรก็ตามในปี 2553 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จะยังติดตามผลการปฎิบัติงานของเกษตรกรและให้คำปรึกษาแนะนำแก่เกษตรกรต่อไป



ปัญหาอุปสรรค

1. เกษตรกรไม่สามารถดูแลแปลงหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้ เนื่องจากมีภารกิจอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติ
2. เกษตรกรทำการปลูกหม่อนช้ากว่าที่กำหนดไว้ ทำให้ไม่สามารถนำมาแปรรูปได้
3. เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ขาดการติดต่อประสานงานทำให้ไม่สามารถดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้





โครงการศูนย์ศิลปาชีพหม่อนไหมบ้านห้วยเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน




1.กิจกรรมการดูแลแปลงหม่อน

ในปีงบประมาณ 2552 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ดำเนินการบำรุงรักษาแปลงหม่อนของสมาชิกโครงการ จำนวน 26 ราย ซึ่งมีพื้นที่ปลูกหม่อนรวมทั้งหมด 75 ไร่ อยู่บริเวณบ้านห้วยเดื่อและบ้านท่าโป่งแดง โดยสนับสนุนปุ๋ยคอก สารกำจัดวัชพืช และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น เช่น กรรไกรตัดแต่งกิ่งหม่อน เป็นต้น

2.กิจกรรมการเลี้ยงไหม และสาวไหม


ในปีงบประมาณ 2552 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ปี 2552 ได้สนับสนุนไข่ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน พันธุ์ห้วยเดื่อ จำนวน 245 แผ่น และเกษตรกรสามารถผลิตเส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านสำหรับจำหน่ายให้กับโครงการพัฒนาไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2552 จำนวน 69.06 กิโลกรัม เป็นเงิน 81,610 บาท และจำหน่าย ครั้งที่ 2 เดือนกันยายน 2552 จำนวน 33.12 กิโลกรัม ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมเส้นส่งไปยังโครงการ เพื่อรอการเบิกจ่ายต่อไป

นอกจากนี้ยังสนับสนุนวัสดุประกอบการเลี้ยงไหมให้เกษตรกร รายละ 1 ชุด จำนวน 25 ราย เช่น ตาข่ายถ่ายมูล จ่อพลาสติกสำหรับไหมทำรัง ตาข่ายอวนสำหรับทำชั้นเลี้ยงไหม สารเคมีโรยตัวป้องกันหนอนไหมเป็นโรค สารฉีดอบฆ่าเชื้อโรคในโรงเลี้ยง เป็นต้นเมื่อสมาชิกผลิตรังไหมได้แล้วก็จะสาวไหมด้วยเครื่องสาวไหมเด่นชัย 1 และกรอด้วยเครื่องกรอเส้นไหมเด่นชัยพัฒนา เพื่อให้ได้เส้นไหมที่ได้มาตรฐาน

 
3.กิจกรรมการอบรมหลักสูตรการผลิตเส้นไหมตามมาตรฐานเส้นไหมไทย มกอช. 8000-2548


ในระหว่างวันที่ 13-15 เดือน พฤษภาคม 2552 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ฝึกอบรมโครงการพัฒนาเส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา “หลักสูตรการผลิตเส้นไหมตามมาตรฐานเส้นไหมไทย มกอช. 8000-2548” โดยคัดเลือกเกษตรกรผู้นำของโครงการ จำนวน 4 ราย เข้ารับการฝึกอบรม

ณ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรในโครงการได้รับการพัฒนาความรู้และสามารถผลิตเส้นไหมไทยหัตถกรรมได้อย่างมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและสามารถนำไปผลิตผ้าไหมชนิด Royal Thai Silk เป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าไหมไทย

 
 

4.กิจกรรมการส่งเสริมการแปรรูปหม่อน

ได้มีการส่งเสริมให้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากหม่อน คือ กลุ่มโรงงานแปรรูปไวน์ผลหม่อน จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มแปรรูปการผลิตน้ำผลหม่อน ชนิดพร้อมดื่มและผลิตภัณฑ์แปรรูปเครื่องสำอางจากชาใบหม่อน จำนวน 1 กลุ่ม กลุ่มแปรรูปชาใบหม่อน 3 กลุ่ม ซึ่งสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ รวมกัน ไม่น้อยกว่า ปีละ 300,000 บาท

5. กิจกรรมการทอผ้าไหม


สนับสนุนให้เกษตรกร ทอผ้าไหมทั้งชนิดกี่ทอมือ และกี่เอว เพื่อทอผ้าไหมเป็นผ้าชนิดต่าง โดยได้สนับสนุนให้เกษตรกรจัดทำกี่แล้ว ศูนย์ฯ สนับสนุนฟืมทอผ้าและอุปกรณ์อื่น ๆ จำนวน 15 ชุด เพื่อนำเส้นไหมที่ผลิตได้มาแปรรูปเป็นผ้าไหม เพื่อจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นและต่างจังหวัด โดยทำการผลิตผ้าไหมตีนจก ได้จำนวน 16 ผืน จำหน่ายไปแล้ว 1 ผืน เป็นเงิน 4,500 บาท ส่งไปจำหน่ายที่ศูนย์ศิลปาชีพ จำนวน 9 ผืน รอการจ่ายเงิน และเกษตรกรเก็บไว้จำหน่ายเอง 5 ผืน

 
 
 
โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อบ้านทุ่งจี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลำปาง



ความเป็นมา


เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2539 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรบ้านใหม่พัฒนา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และได้มีราษฎรบ้านทุ่งจี้ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน กราบบังคมทูลเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่รอยต่อของ อำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และขอพระราชทานการส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับราษฎร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์กับแม่ทัพภาคที่ 3 ( พล.ท.ถนอม วัชรพุทธ ) และผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ( นายสหัส พินทุเสนีย์ ) ให้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นรอยต่อฯ 3 อำเภอดังกล่าวดังนั้น กองทัพภาคที่ 3 ร่วมกับจังหวัดลำปาง และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหา โดยดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ การแก้ไขปัญหาระยะสั้นนั้นได้จัดตั้งจุดตรวจ , จุดสกัด , การลาดตระเวนป้องปราม , การเฝ้าตรวจตราดูแล เป็นผลให้การตัดไม้ในพื้นที่หยุดชะงักลงชั่วคราว สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้นได้มีการจัดตั้ง โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ อำเภอเมือง อำเภอเมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาให้เกิดความต่อเนื่องเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานเงินให้ทางจังหวัดลำปาง จำนวน 500,000 บาท รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างโรงทอผ้าศิลปาชีพขึ้น ในพื้นที่อำเภอเมืองปาน จำนวน 5 แห่ง คือ

1. โรงทอผ้าบ้านทุ่งจี้ - หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

2. โรงทอผ้าบ้านไร่มูเซอร์ - หมู่ที่ 4 ตำบลหัวเมือง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

3. โรงทอผ้าบ้านกล้วย - หมู่ที่ 2 ตำบลหัวเมือง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

4. โรงทอผ้าบ้านศรีดอนมูล - หมู่ที่ 2 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

5. โรงทอผ้าบ้านป่าคาสันติสุข - หมู่ที่ 1 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ปัจจุบันในโครงการฯมีสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผารวม 53 คน กลุ่มแกะสลักไม้รวม 17 คน กลุ่มปลูกหม่อน - เลี้ยงไหมรวม 4 คน กลุ่มสมาชิก และราษฎรเลี้ยงผึ้งรวม 25 คน โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้า โดยเฉพาะการเข้าไปตรวจสอบผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน

สถานที่ดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อบ้านทุ่งจี้ ฯ ต.ทุ่งกว๋าว อ.เมืองปาน จ.ลำปาง

ผลการดำเนินงาน

ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกหม่อนจำนวน 1 ไร่ มีโรงเลี้ยงไหมขนาด 6 x 8 เมตร จำนวน 1 โรง

มีสมาชิกในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจำนวน 4 คน มีสมาชิกทอผ้าไหม จำนวน 16 คน โดยในปี 2551 ได้ส่งเกษตรกรไปอบรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบเน้นหนักที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน เป็นเวลา 10 วัน ทั้งหมด 2 ราย และได้มีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และสนับสนุนไข่ไหม รวมถึงได้มีการตรวจและติดตราผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานแก่สมาชิกที่ทอผ้าไหม Royal Thai Silk จำนวน 82 ดวง คิดเป็นผ้าทั้งหมด 82 เมตร โดยกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้ขายเส้นไหมให้แก่โครงการส่วนพระองค์วังสวนจิตรดา จำนวน 1.2 กิโลกรัม คิดเป็นเงินประมาณ 1,800 บาท และกลุ่มทอผ้าส่งผ้าไหมเข้าสวนจิตรดา จำนวน 42 ชิ้น ยาว 524.1 เมตร คิดเป็นเงินประมาณ 104,800 บาท ในปี 2552 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ได้สนับสนุน ไข่ไหม จำนวน 6 แผ่น สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เช่น ปุ๋ยคอก สายยาง สปิงเกอร์ กระดาษน้ำตาล ตาข่ายถ่ายมูล ฟอร์มาลีน ยาโรยตัวไหม และการทอผ้าไหม เช่น ฟืมทอผ้าไหม รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการฟอกย้อมสีเส้นไหมด้วย เช่น สีเคมีย้อมเส้นไหม น้ำยาเอนกประสงค์ กรดซิตริก โซดาแอส สบู่ซัลไลต์ รวมถึงได้มีการเข้าไปอบรมผู้ทอผ้า หลักสูตรการฟอกย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ ภายใต้โครงการบริการและติดตามผลต่อเนื่องการใช้เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย จำนวน 10 ราย และได้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการย้อมสีธรรมชาติ เช่น กาละมัง น้ำยาอเนกประสงค์ สบู่ลาย ครั่ง มะขามเปียก โดยในปีนี้ไม่มีเส้นส่งเข้าโครงการส่วนพระองค์วังสวนจิตรดา เนื่องจากไหมที่เลี้ยง 2 รุ่น เป็นโรคไม่สามารถสาวเป็นเส้นได้ ในส่วนของผ้าไหมได้ดำเนินการติดตรานกยูงพระราชทาน 30 เมตร โดยมีผ้าที่ทอได้ทั้งหมด 98 เมตร

อนุรักษ์เเละขยายพันธ์หม่อนไหม

ผลการดำเนินงานผลิตพันธุ์หม่อนไหม







แผนการผลิต

1. ไข่ไหมพันธุ์ดี จำนวน 6,690 แผ่น

2. ท่อนพันธุ์หม่อน จำนวน 20,000 ท่อน

3. หม่อนชำถุง จำนวน 186,000 ถุง

ผลการดำเนินงาน

1. งานผลิตไข่ไหมพันธุ์ดี

ยอดการผลิตในปี 2552 สามารถผลิตได้ 6,690 แผ่น คิดเป็น 100 % ของแผนการผลิต

1.1การจำหน่ายจ่ายแจก

การจำหน่ายไข่ไหมได้จำนวน 788 แผ่น แยกเป็นไข่ไหมพันธุ์อุบลราชธานี60-35 จำนวน 670 แผ่น ไข่ไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ จำนวน 114 แผ่น และพันธุ์ไทยอื่น ๆ จำนวน 4 แผ่น รวมเป็นเงินนำส่งรายได้แผ่นดินทั้งสิ้น จำนวน 21,280 บาท

การแจกจ่ายแจกจ่ายเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 297 แผ่น แยกเป็นไข่ไหมพันธุ์อุบลราชธานี60-35 จำนวน 47 แผ่น ไข่ไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ จำนวน 29 แผ่น และพันธุ์ไทยอื่น ๆ จำนวน 221 แผ่น

รวมไข่ไหมพันธุ์ดีที่ทำการจำหน่ายจ่ายแจก จำนวนทั้งสิ้น 1,085 แผ่น

1.2.ไข่ไหมที่ทำการเก็บรักษา

เป็นไข่ไหมที่เก็บรักษา แบบ Hibernating จำนวน 894 แผ่น

1.3 การทำลายไข่ไหม

ไข่ไหมจำนวน 4,711 แผ่น ทำลายเนื่องจากไข่ไหมหมดอายุการใช้งาน

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แผนภาพแสดงการผลิตไข่ไหมพันธุ์ต่าง ๆในปีงบประมาณ 2552 โดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
 
 
2. งานผลิตพันธุ์หม่อน



2.1 ท่อนพันธุ์หม่อน

เป้าหมายการในปีงบประมาณ 2552 ผลิต จำนวน 20,000 ท่อน คิดเป็น 100 % ของแผน

การจำหน่ายจ่ายแจก

- จำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ จำนวน 1,1000 ท่อน รวมเป็นเงินนำส่งรายได้แผ่นดินทั้งสิ้น จำนวน 1,100 บาท

- แจกจ่ายให้แก่ เกษตรกร หน่วยงานราชการ และอื่น ๆ จำนวน 9,000 ท่อน



2.2 หม่อนชำถุง

เป้าหมายการผลิต จำนวน 186,000 ถุง ผลิตได้ 186,060 ถุง คิดเป็น 100.03 % ของแผน

การจำหน่ายจ่ายแจก
- จำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ จำนวน 330 ถุง รวมเป็นเงินนำส่งรายได้แผ่นดินทั้งสิ้น จำนวน 990 บาท

- แจกจ่ายให้แก่ เกษตรกรในโครงการ หน่วยงานราชการ และอื่น ๆ จำนวน 185,670 ถุง



รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม ปี 2552


ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้รับงบประมาณจากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ให้จัดทำศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม ซึ่งในปี 2551 ที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดซื้อผ้าไหมเข้าศูนย์อนุรักษ์ จำนวน 100 ผืน และได้จัดทำทะเบียนผ้าไหมเรียบร้อยแล้ว และในปี 2552 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ดำเนินงานต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ดังต่อไปนี้


1. จัดแบ่งประเภทของผ้าไหมที่จัดแสดง โดยได้จัดแบ่งผ้าไหมที่จัดแสดงเป็นหมวดหมู่ คือแบ่งเป็น ผ้าจก ผ้ายก ผ้ามัดหมี่ และผ้าพันคอผ้าคลุมไหล่ รวมถึงได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากไหมด้วย เช่น ปลอกหมอน กล่องผ้าไหม ชุดผ้าไหมสำเร็จรูป ฯลฯ

2. จัดทำข้อมูลแสดงรายละเอียดผ้าไหมที่จัดแสดงตามแบบที่กำหนด โดยได้นำข้อมูลของผ้าไหมแต่ละผืนมาแสดงโดยใช้กระดาษพิมพ์รายละเอียดของผ้าและได้นำมาติดไว้ที่ผืนผ้า จำนวน 100 ชิ้น

3. จัดทำบอร์ดนิทรรศการเกี่ยวกับผ้าไหมพร้อมวัสดุอุปกรณ์ประกอบ จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย

- ชุดที่ 1 กว่าจะเป็นผืนผ้าไหม แสดงที่มาของขั้นตอนในการทำผ้าไหม และแสดงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการผลิตผ้าไหม

- ชุดที่ 2 การฟอกย้อมสีเส้นไหม แสดงขั้นตอนการฟอกย้อมสีเส้นไหมและ แสดงเส้นไหมที่ฟอกกาวออกแล้ว

- ชุดที่ 3 การย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ แสดงให้เห็นถึงการย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ และจัดแสดงเส้นไหมที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ

4. การบริการข้อมูลศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม มีผู้เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหมของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 216 คน

5. จัดซื้อหนังสือเกี่ยวกับลวดลายผ้าไทยเพื่อประกอบการค้นคว้า จำนวน 3 เล่ม




 

งานวิจัยเเละพัฒนาหม่อนไหม

โครงการนำร่องแปลงสาธิตหม่อนไหมอินทรีย์ ปี 2552


สืบเนื่องจาก ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้เริ่มโครงการนำร่องหม่อนไหมอินทรีย์ในปีงบประมาณ 2551 โดยทำการไถที่เตรียมแปลงหม่อน ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่รกร้างไม่มีการทำการเกษตรมาก่อนและขุดสระน้ำ ขนาด 30 x 15 x 3 เมตร เพื่อใช้เป็นบ่อพักน้ำสำหรับแปลงหม่อนอินทรีย์ และในเดือนพฤษภาคม 2551ปลูกหม่อนพันธุ์ บุรีรัมย์ 60 ในพื้นที่ 6 ไร่ และบำรุงแปลงหม่อนโดยใช้ปุ๋ยมูลวัว อัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่ และกำจัดวัชพืชในแปลงหม่อนโดยใช้เครื่องตัดหญ้าขนาดเล็กและแรงงานคน พร้อมกับการปลูกพืชสมุนไพร และพืชแนวบังลมโดยใช้หม่อผลสดพันธุ์เชียงใหม่ปลูกสลับกับตะไคร้หอม และในปี 2551 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ขอรับคำปรึกษาและแนวทางการขอรับรองการปลูกพืชอินทรีย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เชียงใหม่และจากสมาคมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ

ในปีงบประมาณ 2552 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้จ้างเหมาแรงงานดูแลแปลงหม่อน จำนวน 2 ราย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 เพื่อดูแลแปลงสาธิต ดังกล่าวตามแผนงานของโครงการ ประจำปีงบประมาณ และในเดือนมกราคม 2552 ได้ส่งตัวอย่างดินและน้ำจากแปลงหม่อนอินทรีย์ตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างและแร่ธาตุอาหาร ณ กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ผลการตรวจสอบ (ดังเอกสารแนบ) เดือนพฤษภาคม 2552 ได้ทำการปรับปรุงโรงเลี้ยงไหมอินทรีย์ เพื่อเตรียมการเลี้ยงไหมอินทรีย์ รุ่นที่ 1 โดยใช้อาคารเดิมซึ่งเตรียมใช้เป็นอาคารจำหน่ายสินค้าเกษตรและแปรรูปของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 แต่สร้างบนพื้นที่ของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ทำการปรับปรุงโดยการใช้มุ้งตาข่ายสีขาวล้อมรอบโรงเรือน และทำความสะอาดโรงเรือนโดยด้วยน้ำ ไม่ใช้สารเคมี และทำการเลี้ยงไหมอินทรีย์ รุ่นที่ 1 ในวันที่ 17 มิถุนายน 2552 โดยใช้ไหมพันธุ์ห้วยเดื่อจำนวน 2 แผ่น เลี้ยงด้วยใบหม่อนอินทรีย์ และเลี้ยงไหมด้วยอุปกรณ์ และวัสดุที่ไม่มีสารเคมีต้องห้ามและไม่มีสารเคมีตกค้าง โดยแยกอุปกรณ์เลี้ยงเฉพาะไหมอินทรีย์เท่านั้น การเลี้ยงไหมอินทรีย์รุ่นที่ 1 ได้ผลผลิตรังไหม 18 กิโลกรัม และนำรังไหมดังกล่าวจำนวน 10 กิโลกรัม ไปทำการสาวเส้นไหม โดยใช้เครื่องสาวไหมเด่นชัยพัฒนาและเครื่องกรอเส้นไหมเด่นชัยพัฒนา 1 ได้จำนวนเส้นไหม 0.8 กิโลกรัม จากนั้นไปทำการฟอกกาวโดยใช้น้ำด่างธรรมชาติจากเหง้ากล้วยเผา และทดลองนำไปย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ดอกกรรณิการ์ แก่นฝาง เมล็ดกาแฟ และใบสัก เพื่อเตรียมการนำไปทอเป็นผ้าไหมอินทรีย์ต่อไป

 
     เดือนกรกฎาคม 2552 ยื่นใบสมัครขอรับรองการปลูกพืชอินทรีย์ ณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 เชียงใหม่ ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบเอกสารและหลักฐานโดยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ และเดือนสิงหาคม 2552 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จะดำเนินการเลี้ยงไหมอินทรีย์ รุ่นที่ 2 ต่อไป
 
 
     ในปีงบประมาณ 2553 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ มีแผนการดำเนินงานเลี้ยงไหมอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง 4-5 รุ่น และจะทำการผลิตเส้นไหมอินทรีย์ และผ้าไหมอินทรีย์ต่อไป
 
 
 
 
การศึกษา กระบวนการผลิตที่เหมาะสมของน้ำหม่อนเข้มขั้นเสริมเกสรดอกไม้


วัตถุประสงค์

1. เพื่อหาชนิดและปริมาณที่เหมาะสมในการเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้ง ในน้ำหม่อนสกัดเข้มข้น

2. เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมของสารให้ความคงตัวที่เติมลงไปในน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้ง

เป้าหมาย

1. ทราบสูตรที่เหมาะสมในการผลิตน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้ง

วิธีการวิจัย

ศึกษาชนิดและปริมาณที่เหมาะสมของเกสรดอกไม้จากผึ้งที่เสริมในผลิตภัณฑ์น้ำหม่อนสกัดเข้มข้น

จากวิธีการทำน้ำหม่อนเข้มข้นที่เหมาะสมที่ได้จากการศึกษากระบวนการผลิตที่เหมาะสมของน้ำหม่อนเข้มข้นในเชิงอุตสาหกรรม (การผลิตน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นเสริมเกสรดอกไม้ ด้วยวิธีระเหยภายใต้สุญญากาศ) นำน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นที่ได้มาทำการเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้งลงในน้ำหม่อนเข้มข้นโดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2 ปัจจัย คือปัจจัยแรกเป็นรูปแบบของเกสรดอกไม้จากผึ้ง 2 ชนิด คือเกสรดอกไม้จากผึ้งแบบสด และเกสรดอกไม้จากผึ้งแบบแห้ง ปัจจัยที่สองเป็นปริมาณของเกสรดอกไม้จากผึ้งที่เติม 2 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 5 7.5 และ 10 วางแผนการทดลองแบบ 2 X 3 Factorial in Completely Randomized Desige วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และเคมีของผลิตภัณฑ์โดยวัดค่าสี ค่าความข้นหนืด ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณกรดทั้งหมด ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ สารประกอบฟีนอลทั้งหมด สารแอนโทไซยานิน ค่าดัชนีสารแอนติออกซิแดนต์ และค่าความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระ

การทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส ในผลิตภัณฑ์น้ำหม่อนสกัดเข้มข้นเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้ง ใช้ผู้ทดสอบชิมจำนวน 50 คนด้วยวิธี 9 Point Hedonic Scaling Test (ไพโรจน์, 2535ก) เพื่อประเมินความชอบในลักษณะต่างๆ (ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น และรส) โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)

สรุปผลการทดลอง

การใช้เกสรดอกไม้ชนิดอบแห้ง เสริมในผลิตภัณฑ์น้ำหม่อนสกัดเข้มข้นโดยวิธีระเหยภายใต้สุญญากาศ ปริมาณร้อยละ 7.5 เหมาะสมที่สุดโดยต้นทุนในการผลิต ปริมาณน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นที่ได้ อีกทั้งยังให้สารออกฤทธิ์ในระดับที่ยอมรับได้ และมีการยอมรับทางประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคสูงสุด ซึ่งในแง่ของการเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้ง ไม่ได้ช่วยเสริมในด้านของสารในกลุ่มที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงควรมีการศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องของสารออกฤทธิ์ที่มีอยู่มากในเกสรผึ้ง ผลิตภัณฑ์น้ำหม่อนเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้งชนิดอบแห้งที่ได้ เมื่อทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่าได้รับการยอมรับสูงสุด แต่ยังมีคุณภาพด้านเนื้อสัมผัสที่มีลักษณะเป็นเม็ดทรายเล็กน้อยที่ยังต้องได้รับการปรับปรุง ดังนั้นถ้าจะนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ควรมีการวิจัยปรับปรุงด้านความละเอียดและขนาดของเกสรดอกไม้จากผึ้ง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับเพิ่มมากขึ้น



การศึกษา กระบวนการผลิตที่เหมาะสมของน้ำหม่อนเข้มขั้นในเชิงอุตสาหกรรม

วัตถุประสงค์

1. เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการผลิตน้ำหม่อนสกัดเข้มข้น

2. เพื่อเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพ เคมี ต้นทุนการผลิต และการยอมรับทางประสาทสัมผัสของน้ำหม่อนสกัดเข้มข้น

เป้าหมาย

1. ทราบวิธีการที่เหมาะสมในการผลิตน้ำหม่อนสกัดเข้มข้น

2. สามารถเพิ่มช่องทางในการใช้ประโยชน์และเป็นความรู้พื้นฐานที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมได้

วิธีการวิจัย

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีการทำให้น้ำหม่อนเข้มข้นโดยใช้ผลหม่อนสุกพันธุ์เชียงใหม่โดยเปรียบเทียบวิธีการต่างๆ ที่ทำให้เข้มข้น โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพทางกายภาพ เคมี ต้นทุนการผลิต และสารอาหารที่สำคัญของน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นที่ได้ รวมถึงปริมาณของสารให้ความคงตัว ในวิธีการทำให้เข้มข้นที่มีศักยภาพสูงที่สุดและทำการศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ คุณค่าทางโภชนาการ การยอมรับทางประสาทสัมผัส

ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำหม่อนเข้มข้น

ทำการสกัดแยกน้ำหม่อนออกจากผลหม่อน โดยเริ่มจากการนำผลหม่อนมาบดด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้ (blender) แล้วเติมเอนไซม์เพคทิเนส โดยใช้ความเข้มข้น 1500 ppm ที่อุณหภูมิ 25+ 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นทำการแยกเอาน้ำหม่อนออกโดยการนำไปบีบอัดด้วยเครื่องไฮดรอลิก และกรองด้วยผ้าขาวบาง (สมชาย และคณะ, 2551) จากนั้นนำน้ำหม่อน ที่ได้ไปทำให้เข้มข้น 2 วิธีคือการทำให้เข้มข้นโดยวิธีระเหยภายใต้สุญญากาศ และวิธีการทำให้เข้มข้นโดยวิธีระเหยแบบไหลเป็นฟิล์มบาง โดยเปรียบเทียบกับวิธีการทำให้เข้มข้นโดยวิธีแช่เยือกแข็ง

วิธีที 1 ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำให้เข้มข้นโดยวิธีระเหยภายใต้สุญญากาศ นำน้ำหม่อนที่สกัดได้ ใส่ในเครื่องระเหยภายใต้สุญญากาศ (vacuum evaporator) โดยแปรระดับอุณหภูมิของเครื่องระเหย 3 ระดับ คือ 50 60 และ 70 องศาเซลเซียสโดยทำการสุ่มตัวอย่างทุกๆ 10 นาที ระเหยน้ำจนน้ำหม่อนสกัดมีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดเท่ากับ 40+2 องศาบริกซ์ ทำซ้ำ 3 ครั้ง วัดอุณหภูมิสุดท้ายและบันทึกเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการระเหยน้ำหม่อน วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design : CRD) จากนั้นวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เคมี และต้นทุนการผลิต

จากข้อมูลคุณภาพที่ได้นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT) (ไพโรจน์, 2535ก) เพื่อเลือกสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเป็นน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นในการทดลองต่อไป

วิธีที 2 ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำให้เข้มข้นโดยวิธีระเหยแบบไหลเป็นฟิลม์บาง นำน้ำหม่อนที่สกัดได้ใส่ในเครื่องระเหยแบบไหลเป็นฟิลม์บาง (climbing film evaporator) ปรับความดันไอน้ำภายในเครื่องเพื่อทำให้น้ำหม่อนสกัดเดือดที่ระดับความดัน 3 ระดับ คือ 1.0 1.4 และ 1.8 บาร์ โดยทำการสุ่มตัวอย่างทุกๆ 10 นาที ระเหยน้ำจนน้ำหม่อนสกัดมีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดเท่ากับ 40+2 องศา บริกซ์ ทำซ้ำ 3 ครั้ง วัดอุณหภูมิสุดท้ายและบันทึกเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการระเหยน้ำหม่อน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design :CRD) จากนั้นวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และเคมี

จากข้อมูลคุณภาพที่ได้นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT) (ไพโรจน์, 2535ก) เพื่อเลือกสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเป็นน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นในการทดลองต่อไป

เปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพ เคมี ต้นทุนการผลิต และการยอมรับทางประสาทสัมผัสของน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นโดยสภาวะที่เหมาะสมของแต่ละวิธี

ใช้น้ำหม่อนสกัดเข้มข้นที่ผ่านกรรมวิธีที่เหมาะสม จากวิธที่ 1 และ 2 เปรียบเทียบกับน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นที่ผ่านการทำให้เข้มข้นโดยวิธีการแช่เยือกแข็ง ซึ่งผลิตตามกรรมวิธีของ สมชาย และคณะ (2551) โดยนำน้ำหม่อนที่สกัดได้ ใส่ในเครื่องสร้างผลึกน้ำแข็ง เพื่อทำให้ น้ำหม่อนสกัด มีลักษณะเป็นกึ่งของเหลวและของแข็งที่เหมาะสม จากนั้นจึงนำไปแยกผลึกน้ำแข็งออกจากของเหลวโดยใช้เครื่องหมุนเหวี่ยง นำน้ำหม่อนที่ได้ไปทำเป็นผลึกน้ำแข็งซ้ำ และทำการเหวี่ยงแยก ทำซ้ำ 3 ครั้ง โดยกำหนดให้มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด 40+2 องศาบริกซ์วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และเคมี เช่นเดียวกับข้อ 1.1 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT) (ไพโรจน์, 2535ก) นอกจากนี้ยังมีการคำนวณเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต โดยคำนวณจากต้นทุนวัตถุดิบหลัก ส่วนผสมอื่น และค่าพลังงานไฟฟ้า แล้วบวกเพิ่มอีกร้อยละ 30 เพื่อเป็นค่าแรงงาน ค่าเสื่อมราคา และค่าการจัดการ โดยดัดแปลงวิธีการของ จิรพรรณ และคณะ (2525)

เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัสที่ผู้บริโภคยอมรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของน้ำหม่อนสกัดเข้มข้น โดยทำให้เข้มข้นด้วยวิธีแช่เยือกแข็งซึ่งเป็นตัวอย่างควบคุมกับวิธีการทำให้เข้มข้นโดยการระเหยภายใต้สุญญากาศ และวิธีการทำให้เข้มข้นโดยการระเหยแบบไหลเป็นฟิลม์บาง ณ สภาวะที่เหมาะสมของแต่ละวิธี โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ใช้ผู้ทดสอบชิมจำนวน 50 คนด้วยวิธี 9 Point Hedonic Scaling Test (ไพโรจน์, 2535) เพื่อประเมินความชอบในลักษณะต่างๆ (ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น และรส) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT) (ไพโรจน์, 2535ก) เพื่อเลือกกรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิตน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นเพื่อใช้ในการทดลองถัดไป

สรุปผลการทดลอง

1. สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำหม่อนเข้มข้นโดยวิธีระเหยภายใต้สุญญากาศ คือการใช้อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ความดัน -700 mmHg โดยต้นทุนในการผลิต ปริมาณน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นที่ได้ อีกทั้งยังให้สารออกฤทธิ์ในระดับที่ยอมรับได้ และมีการยอมรับทางประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคสูงสุด

2. สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำหม่อนเข้มข้นโดยวิธีระเหยแบบไหลเป็นฟิล์มบาง คือการใช้ความดันในการระเหย 1.4 ความดัน โดยต้นทุนในการผลิต ปริมาณน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นที่ได้ อีกทั้งยังให้สารออกฤทธิ์ในระดับที่ยอมรับได้ และมีการยอมรับทางประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคสูงสุด

3. เปรียบเทียบน้ำหม่อนสกัดเข้มข้น โดยวิธีระเหยภายใต้สุญญากาศ วิธีระเหยแบบไหลเป็นฟิล์มบาง และวิธีการแช่เยือกแข็ง พบว่าวิธีที่เหมาะสมคือ วิธีระเหยภายใต้สุญญากาศ โดยต้นทุนในการผลิต ปริมาณน้ำหม่อนสกัดเข้มข้นที่ได้ อีกทั้งยังให้สารออกฤทธิ์ในระดับที่ยอมรับได้ และมีการยอมรับทางประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคสูงสุด











การศึกษา กระบวนการผลิตหม่อนผงบรรจุแคปซูลเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้ง

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีการผลิตหม่อนเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้งในรูปแบบแคปซูล โดยใช้ผลหม่อนสุกพันธุ์เชียงใหม่ เปรียบเทียบวิธีการต่างๆที่ทำให้เป็นผงโดยใช้การอบ 2วิธี คือ การอบโดยใช้ตู้อบแบบถาด และเครื่องอบแห้งแบบสุญญากาศที่ใช้อินฟราเรด ศึกษาปริมาณที่เหมาะสมในการเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้ง จากนั้นทำการศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี สารอาหารที่สำคัญ ของหม่อนผงที่ได้ และศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนในการผลิต ขั้นตอนของการศึกษามีดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์คุณภาพของผลหม่อนสุก และ เกสรดอกไม้จากผึ้ง

1.1 การวิเคราะห์คุณภาพของผลหม่อนสุก ใช้ผลหม่อนสุก (มีสีดำทั้งผล) สายพันธุ์เชียงใหม่ ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพต่างๆ

1.2 การวิเคราะห์คุณภาพของเกสรดอกไม้จากผึ้ง ใช้เกสรดอกไม้จากผึ้งโดยแยกศึกษาทั้งชนิดสด และชนิดแห้ง ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพต่างๆ

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตหม่อนผงเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้งโดยใช้ตู้อบแบบถาด

2.1 ศึกษาปริมาณการเติม maltodextrin ที่เหมาะสม นำผลหม่อนสุกทั้งผลไปบดด้วย disc stone mill จากนั้นนำหม่อนบดที่ได้ไปเติม maltodextrin 5 ระดับคือร้อยละ 0, 5, 10, 15 และ 20 ของผลหม่อนบด นำไปอบด้วยตู้อบแบบถาดโดยใช้พลังงานความร้อนจากไฟฟ้า ที่มีสภาวะการอบเดียวกับคือ อุณหภูมิ 70 °c จนแห้ง หลังอบแห้ง ปั่นให้เป็นผงโดยใช้เครื่องปั่นของแห้ง ทำการทดลองซ้ำ 5 ครั้ง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design: CRD) ตรวจสอบคุณภาพผงหม่อนที่ได้

จากข้อมูลคุณภาพที่ได้นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of varience, ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT)

2.2 ศึกษาชนิด และ ปริมาณการเติมเกสรดอกไม้จากผึ้ง เตรียมหม่อนบดที่มีการเติม maltodextrin ในปริมาณที่เหมาะสมที่สุดจากข้อ 2.1 นำไปเติมเกสรดอกไม้จากผึ้ง ซึ่งเกสรดอกไม้จากผึ้งที่ใช้ มี 2 รูปแบบคือ เกสรดอกไม้จากผึ้งชนิดสด และ เกสรดอกไม้จากผึ้งชนิดแห้ง นำเกสรดอกไม้จากผึ้งทั้ง 2 รูปแบบเติมลงในส่วนผสม โดยคำนวณเป็นน้ำหนักแห้งของเกสรดอกไม้จากผึ้ง แบบละ 3 ระดับคือ ร้อยละ 5 10 และ 15 ของส่วนผสม ทำการอบด้วยความร้อนโดยใช้ตู้อบแบบถาดโดยใช้พลังงานความร้อนจากไฟฟ้า ที่มีสภาวะการอบเดียวกัน คือ ที่อุณหภูมิ 70 °c จนแห้ง จากนั้นทำให้เป็นผงโดยใช้เครื่องปั่นขนาดเล็ก ทำการทดลองซ้ำ 5ครั้ง วางแผนการทดลองแบบ 2x3 Factorial in CRD จากนั้น ตรวจสอบคุณภาพผงหม่อนที่ได้

จากข้อมูลคุณภาพที่ได้นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of varience, ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT) เลือกชนิด และ ระดับของเกสรดอกไม้จากผึ้งที่มีคุณภาพของสารออกฤทธิ์สูง

2.3 ศึกษาสภาวะการอบที่เหมาะสม เตรียมหม่อนบดที่มีการเติม เกสรดอกไม้จากผึ้งในปริมาณที่เหมาะสมที่สุดจากข้อ 2.2 นำไปอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบถาดโดยใช้พลังงานความร้อนจากไฟฟ้า 3 ระดับ คือ 60, 70 และ 80°c ทำการอบจนแห้ง ศึกษาต้นทุนการผลิต (จิรพรรณ และคณะ, 2525) และ ระยะเวลาในการอบ จากนั้นนำไปบดให้เป็นผง ทำการทดลองซ้ำ 5 ครั้ง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design: CRD) จากนั้นนำไปวัดคุณภาพ

จากข้อมูลคุณภาพที่ได้นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of varience, ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT) เลือกอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้สาร antioxidant คงอยู่มากที่สุด

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตหม่อนผงเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้งโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบสุญญากาศที่ใช้อินฟราเรด

3.1 ศึกษาปริมาณการเติม maltodextrin ที่เหมาะสม ทำการบดหม่อนเช่นเดียวกับข้อ 2.1 จากนั้นนำหม่อนบดที่ได้ไปเติม maltodextrin 5 ระดับคือร้อยละ 0, 5, 10, 15 และ 20 ของผลหม่อนบด นำไปอบด้วยเครื่องอบแห้งแบบสุญญากาศที่ใช้อินฟราเรด ที่อุณหภูมิ 50 °c จนแห้ง หลังอบแห้ง ปั่นให้เป็นผงโดยใช้เครื่องปั่นขนาดเล็ก ทำการทดลองซ้ำ 5ครั้ง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design: CRD) จากนั้น ตรวจสอบคุณภาพผงหม่อนที่ได้เช่นเดียวกับข้อ 2.1 จากข้อมูลคุณภาพที่ได้นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of varience, ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT)

3.2 ศึกษาชนิด วิธีการเติม และ ปริมาณการเติมเกสรดอกไม้จากผึ้งที่เหมาะสม เตรียมหม่อนบดที่มีการเติม maltodextrin ในปริมาณที่เหมาะสมที่สุดจากข้อ 3.1 นำเกสรดอกไม้จากผึ้งทั้ง 2 รูปแบบเติมลงในส่วนผสมโดยคำนวณเป็นน้ำหนักแห้งของเกสรดอกไม้จากผึ้ง แบบละ 3 ระดับคือ ร้อยละ 5, 10 และ 15 ของส่วนผสม ทำการอบด้วยความร้อนโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบสุญญากาศที่ใช้อินฟราเรด ที่อุณหภูมิ 50 °c จนแห้ง จากนั้นทำให้เป็นผงโดยใช้เครื่องปั่นขนาดเล็ก ทำการทดลองซ้ำ 5 ครั้ง วางแผนการทดลองแบบ 2x3 Factorial in CRD จากนั้น ตรวจสอบคุณภาพผงหม่อนที่ได้เช่นเดียวกับข้อ 2.2 จากข้อมูลคุณภาพที่ได้นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of varience, ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT) เลือกชนิด และ ระดับของเกสรดอกไม้จากผึ้งที่มีคุณภาพของสารออกฤทธิ์สูง

3.3 ศึกษาสภาวะการอบที่เหมาะสม เตรียมหม่อนบดที่มีการเติมเกสรดอกไม้จากผึ้งในปริมาณที่เหมาะสมที่สุดจากข้อ 3.2 นำไปอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบสุญญากาศที่ใช้อินฟราเรด ใช้ความร้อน 3 ระดับ คือ อุณหภูมิห้อง 40 และ 50°c ทำการอบจนแห้ง ศึกษาต้นทุนการผลิต (จิรพรรณ และคณะ, 2525) และ ระยะเวลาในการอบ จากนั้นนำไปบดให้เป็นผง ทำการทดลองซ้ำ 5 ครั้ง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design: CRD) จากนั้นนำไปวัดคุณภาพเช่นเดียวกับข้อ 2.3 จากข้อมูลคุณภาพที่ได้นำไปวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of varience, ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DNMRT) เลือกอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้สารแอนติออกซิแดนต์คงอยู่มากที่สุด

ขั้นตอนที่ 4 เปรียบเทียบคุณภาพ และคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์หม่อนผงเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้ง บรรจุแคปซูล

จากกรรมวิธีที่เหมาะสมของการอบทั้ง 2 วิธี ที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 และ 3 ทำการอบอีกครั้ง เปรียบเทียบ และ เลือกผลิตภัณฑ์หม่อนผงเสริมเกสรดอกไม้จากผึ้งที่เหมาะสมที่สุดจากกระบวนการผลิตทั้ง 2 วิธี

สรุปผลการทดลอง

จากการศึกษาวิจัยกระบวนการผลิตที่เหมาะสมของหม่อนผงผสมเกสรดอกไม้จากผึ้งบรรจุแคปซูลได้ผลสรุปดังนี้

1. ในการผลิตหม่อนผงโดยใช้ตู้อบแบบถาดพบว่า ปริมาณมอลโทเด็กซ์ทริน ที่เหมาะสมที่สุดในการผสมกับหม่อนบด คือการเติมร้อยละ 5 ของส่วนผสม เมื่อนำไปอบที่อุณหภูมิ 70°c จนแห้งแล้วบดเป็นผง ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผงไม่เกาะตัวกัน และมีการดูดความชื้นกลับต่ำ แต่ถ้าเติมมอลโทเด็กซ์ทรินมากกว่านี้จะทำให้ปริมาณของสารออกฤทธิ์ในหม่อนผงมีปริมาณลดลง

2. ในการผลิตหม่อนผงผสมเกสรดอกไม้จากผึ้งโดยใช้ตู้อบแบบถาดพบว่าการเติมเกสรชนิดสดมีความเหมาะสมมากกว่าชนิดแห้ง ซึ่งเติมลงไปในหม่อนบดปริมาณร้อยละ 5 ก่อนนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 70°c แล้วบดเป็นผง ได้เป็นผลิตภัณฑ์หม่อนผงที่เติมเกสรดอกไม้จากผึ้ง และยังคงมีปริมาณสารออกฤทธิ์อยู่สูง แต่ถ้าเติมเกสรดอกไม้จากผึ้งมากเพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณสารออกฤทธิ์ในผลหม่อนมีความเข้มข้นน้อยลง

3. ในการผลิตหม่อนผงโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบสุญญากาศที่ใช้อินฟราเรด พบว่า ปริมาณมอลโทเด็กซ์ทรินที่เหมาะสมที่สุดในการผสมกับหม่อนบด คือการเติมร้อยละ 5 ของส่วนผสม เมื่อนำไปอบที่อุณหภูมิ 50°c จนแห้งแล้วบดเป็นผง ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผงไม่เกาะตัวกัน และมีการดูดความชื้นกลับต่ำ แต่ถ้าเติมมอลโทเด็กซ์ทรินมากกว่านี้จะทำให้ปริมาณของสารออกฤทธิ์ในหม่อนผงมีปริมาณลดลง

4. ในการผลิตหม่อนผงผสมเกสรดอกไม้จากผึ้งโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบสุญญากาศที่ใช้อินฟราเรด พบ  ว่าการเติมเกสรชนิดสดมีความเหมาะสมมากกว่าชนิดแห้ง ซึ่งเติมลงไปในหม่อนบดปริมาณร้อยละ 5 ก่อนนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 50°c แล้วบดเป็นผง ได้เป็นผลิตภัณฑ์หม่อนผงที่เติมเกสรดอกไม้จากผึ้ง และยังคงมีปริมาณสารออกฤทธิ์อยู่สูง แต่ถ้าเติมเกสรดอกไม้จากผึ้งมากเพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณสารออกฤทธิ์ในผลหม่อนมีความเข้มข้นน้อยลง

งานธุรการ ปี2552

ผลการปฏิบัติงานงานบริหารทั่วไปประจำปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 – กันยายน 2552)
































งานการเงิน ปี 2552

ผลการใช้จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 – กันยายน 2552)




ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้รับงบประมาณเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 14,776,630 บาท โดยเบิกจ่าย 14,771,864.61 คิดเป็น 99.97 เปอร์เซ็นต์ แบ่งได้ทั้งหมด 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมงานวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม ได้รับงบประมาณทั้งหมด 4,268,600 บาท เบิกจ่ายไปแล้ว 4,268,501.55 บาท คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การเบิกจ่ายทั้งหมด 99.99 เปอร์เซ็นต์ กิจกรรมงานอนุรักษ์และคุ้มครองหม่อนไหม ได้รับงบประมาณทั้งหมด 4,045,340 บาท เบิกจ่ายไปแล้ว 4,045,109.39 บาท คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การเบิกจ่ายทั้งหมด 99.99 เปอร์เซ็นต์ กิจกรรมงานบริการวิชาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมธุรกิจหม่อนไหม ได้รับงบประมาณทั้งหมด 6,462,690 บาท เบิกจ่ายไปแล้ว 6,458,253.67 บาท คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การเบิกจ่ายทั้งหมด 99.93 เปอร์เซ็นต์