ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน


ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่

21 ต.ค. 2552

ส.ส.สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล และคณะเกษตรกรจังหวัดตรัง ศึกษาดูงาน


เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2552 ท่าน ส.ส.สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ประธานกรรมาธิการวิสามัญ จัดตั้งกรมหม่อนไหม และคณะเกษตรกรจังหวัดตรัง เดินทางมาศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาผ้าไหมยกดอกนาหมื่นศรี ไปสู่การรับรองเป็นผ้าไหมที่รับการจดทะเบียนแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GIs)ณ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ โดยมีนายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ และคณะข้าราชการ ลูกจ้าง ให้การต้อนรับ

19 ต.ค. 2552

สำนักงบปรัมาณกลางดูงาน ศูนย์หม่อนไปเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่




เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2552 ที่ผ่านมาทางสำนักงานงบประมาณกลาง ได้เดินทางมาตรวจดูงานที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ โดยมีนายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ให้การต้อนรับ และได้กล่าวรายงานสรุปผลงบประมาณ

18 ต.ค. 2552

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ทำการคัดเลือกนักออกแบบผ้าไหมเยาวชน


ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ทำการคัดเลือกนักออกแบบผ้าไหมเยาวชน จากจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมประกวดออกแบบชุดผ้าไหม ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 ณ อาคารอเนก-นิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนท์บุรี จัดขึ้นโดย สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รายการที่ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ประเภทของใช้บนโต๊ะอาหาร (Table set) รางวัลชนะเลิศลำดับที่ 1 ได้แก่ นางกุณฑลี ระพิพงษ์ ร้านโจลี่ฟาร์ม อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และรางวัลชนะเลิศลำดับที่ 3 ได้แก่ นางสาวธิดา จินดาพันธ์ ร้านสิรตาบาติค
การประกวดออกแบบชุดผ้าไหมประเภทชุดทำงานสตรี รางวัลที่ 3 ได้แก่ นายศุภณัฐ ประกอปการ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประเภทชุดบุรุษรางวัลชมเชย ได้แก่ นายณัฐพล ตาคำ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านา และประเภทชุดราตรีรางวัลชมเชย ได้แก่ นายสัญลักษณ์ มีสวัสดิ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
การประกวดผ้าไหมประเภทผ้ายก สีเคมีรางวัลที่ 1 ได้แก่ นางดารณี ใจตื้อ ร้านดารณีไหมไทย รางวัลที่ 2 ได้แก่ นางดารณี ใจตื้อ ร้านดารณีไหมไทย และรางวัลที่ 3 ได้แก่ นางอรษา คำมณี ร้านลำพูนผ้าไหมไทย

3 ต.ค. 2552

ประวัติความเป็นมา



ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ เดิมชื่อว่า “สถานีทดลองหม่อนไหมแม่โจ้” เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ ที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยแรกเริ่มปลูกหม่อนไหมจำนวน ๑๐ ไร่ และถัดมาจึงได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการโรงเลี้ยงไหมบ่อล้างเครื่องมือและบ้านพักข้าราชการ – คนงาน

ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ เนื่องจากที่สถานทดลองหม่อนไหมแม่โจ้ไม่สามารถขยายพื้นที่ในการดำเนินงานได้อีกจึ้งได้ย้ายสถานฯจากอำเภอสันทรายไร่นาสาธิตแม่เหียะ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตรที่ ๔๒๘๖/๒๕๓๐ ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยอาศัยความตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร.๐๗๐๗/๓๗๑๗ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๐ และเปลี่ยนชื่อสถานีฯเป็น “สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่” โดยใช้สถานีทดลองหม่อนไหมแม่โจ้เก่าเป็นสถานที่จัดฝึกอบรมเกษตรกรของสถานีฯ

ปี พ.ศ.๒๕๔๖ สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ ถูกยุบและจัดตั้งเป็นส่วนแยกหม่อนไหมสังกัดนักวิจัยละพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๑ กรมวิชาเกษตร

วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๘ ได้จัดตั้งศูนย์หม่อนไหมเฉลิมระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ตามกฎกระทรวงเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้เปลี่ยนสถานะเป็นกรมหม่อนไหมจนถึงปัจจุบัน


โดยมีรายนามผู้บริหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดังนี้

1. นายภมร ศรีสมบูรณ์ พ.ศ. 2517 – 2531 สถานีทดลองหม่อนไหมแม่โจ้

2. นายวัน ไชยแก้ว พ.ศ. 2531 – 2532 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่

3. นายเธียรศักดิ์ อริยะ พ.ศ. 2532 – 2537 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่

4. นายภมร ศรีสมบูรณ์ พ.ศ. 2537 – 2541 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่

5. นายประทีป มีศิลป์ พ.ศ. 2541 – 2543 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่

6. นายเจตนิพัทธ์ สิงหวิสัยธร พ.ศ. 2543 – 2545 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่

7. นายประทีป มีศิลป์ พ.ศ. 2545 – 2546 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่

8. นายไชยวัฒน์ วัฒนไชย พ.ศ. 2546 – 2548 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1

ส่วนแยกหม่อนไหม

9. นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ พ.ศ. 2548 – 2553 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

10. นายนคร มหายศนันท์ พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่










2 ต.ค. 2552

สถานที่ตั้ง.

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ 339 หมู่ี่ 12 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230

(ใกล้กับบริเวณสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกและเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี) โทร 0-5311-4096-8 โทรสาร 0-5311-4097

1 ต.ค. 2552

ประวัติความเป็นมา.

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า "สถานีทดลองหม่อนไหมแม่โจ้" เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 ที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย โดยแรกเริ่มปลูกหม่อนจำนวน 10 ไร่ และถัดมาจึงได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการโรงเลี้ยงไหม บ่อล้างเครื่องมือและบ้านพักข้าราชการ – คนงาน ในปี พ.ศ.2530 เนื่องจากที่สถานีทดลองหม่อนไหมแม่โจ้ไม่สามารถขยายพื้นที่ในการดำเนินงานได้อีก จึงได้ย้ายสถานีฯ จากอำเภอสันทรายมาตั้งบริเวณไร่นาสาธิตแม่เหียะ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตรที่ 4286/2530 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2530 โดยอาศัยความตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร. 0707/3717 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 และเปลี่ยนชื่อสถานีฯ เป็น "สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่" โดยใช้สถานีทดลองหม่อนไหมแม่โจ้เก่าเป็นสถานที่จัดฝึกอบรมเกษตรกรของสถานีฯ ปี พ.ศ. 2546 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ ถูกยุบและจัดตั้งเป็นส่วนแยกหม่อนไหม สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1  วันที่ 12 สิงหาคม 2548 ได้จัดตั้งศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ตามกฎกระทรวง เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2548 ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์



โดยมีรายนามผู้บริหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดังนี้

1. นาย ภมร ศรีสมบูรณ์ พ.ศ. 2517 – 2531 สถานีทดลองหม่อนไหมแม่โจ้
2. นาย วัน ไชยแก้ว พ.ศ. 2531 – 2532 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่
3. นาย เธียรศักดิ์ อริยะ พ.ศ. 2532 – 2537 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่
4. นาย ภมร ศรีสมบูรณ์ พ.ศ. 2537 – 2541 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่
5. นาย ประทีป มีศิลป์ พ.ศ. 2541 – 2543 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่

6. นาย เจตนิพัทธ์ สิงหวิสัยธร พ.ศ. 2543 – 2545 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่

7. นาย ประทีป มีศิลป์ พ.ศ. 2545 – 2546 สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่

8. นาย ไชยวัฒน์ วัฒนไชย พ.ศ. 2546 – 2548 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ส่วนแยกหม่อนไหม

9. นาย วสันต์ นุ้ยภิรมย์ พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่