ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน


ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่

22 มิ.ย. 2552

สส.ลำพูน นายขยัน วิพรหมชัย หนุนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม


สส.ลำพูน นายขยัน วิพรหมชัย หนุนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2552 นายขยัน วิพรหมชัย สมาชิกสภาราษฎร จังหวัดลำพูน ได้เป็นประธานในพิธีแจกจ่าย ต้นกล้าพันธุ์หม่อน และปัจจัยการผลิตหม่อนไหม ให้เกษตรกร อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันในเขตจังหวัดลำพูนมีเกษตรกรกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 120 ราย โดยปลูกในพื้นที่ อ.ป่าซาง อ.เวียงหนองล่อง อ.แม่ทา อ.ลี้ อ.บ้านโฮ่ง อ.เมือง และอ.ทุ่งหัวช้าง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 240 ไร่ เกษตรกรเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมชนิดรังสีเหลือง ส่งจำหน่ายให้กับโรงงานสาวเส้นไหม ในจังหวัดเชียงใหม่ ในราคากิโลกรัมละ 130 บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการเลี้ยงไหม ปีละ 4 – 5 รุ่นๆ ละ 3,000 – 4,000 บาท เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางโดยไม่ต้องรอรายได้จากการผลิตอาชีพเกษตรอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ปีละ 1 ครั้ง ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้สนับสนุนต้นกล้าหม่อนพันธุ์ดี และปัจจัยการผลิตไหมได้แก่ วัสดุจัดสร้างห้องเลี้ยงไหม และวัสดุการเลี้ยงไหม รวมทั้งวัสดุที่ให้ตัวหนอนไหมทำรัง เป็นต้น ส่วนนายขยัน วิพรหมชัย สส.ลำพูน เปิดเผยว่า จะช่วยผลักดันและสนับสนุนอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของราษฎรในพื้นที่ โดยรัฐบาลได้มีนโยบายหนุนอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างเต็มที่ ขณะนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กำลังเสนอร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งกระทรวง ทบวง กรมฯ (กรมหม่อนไหม) เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ในเดือน สิงหาคม นี้ ในส่วนของจังหวัดลำพูน ทางผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนและ อ.บ.จ.ลำพูน ได้ให้การสนับสนุน ในหลาย ๆ ด้านเพื่อให้อาชีพนี้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรต่อไป รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน ที่มีคู่กับจังหวัดลำพูนมาหลายร้อยปี ให้เป็นสินค้าแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GIs) ที่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพานิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผู้ทอผ้าไหมยกดอกลำพูนในเขต จังหวัดลำพูน ได้รับประโยชน์มากถึง 500 ครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น: