ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน


ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่

11 ก.ค. 2550

หม่อนพันธุ์แนะนำ : หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่

สรุปข้อมูลพันธุ์แนะนำ หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้พันธุ์หม่อนผลสดที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูปสู่ระบบอุตสาหกรรม ประวัติ หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ เป็นพันธุ์หม่อนผลสดที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน อีกทั้งไม่มีชื่อพันธุ์มาก่อน สามารถสืบค้นต้นกำเนิดได้เพียงว่า ในราวปี 2515 นายโกสิ่ว แซ่โก ได้นำพันธุ์จากอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มาปลูกไว้ในสวนที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 – 2547 ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี ศูนย์หม่อนไหมแพร่และสถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสำรวจ รวบรวมพันธุ์หม่อนผลสด นำมาเปรียบเทียบผลผลิต ศึกษาวิธีการเขตกรรม ขยายพันธุ์ ตลอดจนวิธีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา จนพบว่า เป็นพันธุ์หม่อนที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม จึงเสนอเป็นพันธุ์หม่อนผลสดแนะนำพันธุ์เชียงใหม่ 60 ลักษณะเด่น 1. ให้ผลผลิตผลสดไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี 2. ผลมีขนาดใหญ่และปริมาณกรดสูง เหมาะสมสำหรับบริโภคสด และการแปรรูป 3. สามารถกำหนดเวลาให้ผลผลิตได้ ด้วยวิธีการบังคับให้ออกดอกติดผลนอกฤดูกาล 4. ขยายพันธุ์ได้ง่าย พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ดอนของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ ในระหว่างที่ต้นหม่อนออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด 1. ไม่ต้านทานต่อโรครากเน่า 2. ต้องการน้ำในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ระหว่างการออกดอกติดผลจนเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีผลผลิตสูง ข้อมูลนำเสนอประกอบการพิจารณาพันธุ์แนะนำ กรมวิชาการเกษตร หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ----------------------------------------------- 1. คำนำ ประเทศจีนรู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาแล้วเป็นเวลามากกว่า 4,700 ปี ในระยะแรก การปลูกหม่อนเน้นเพื่อ ใช้ใบสำหรับเลี้ยงหนอนไหม ผลิตรังไหมและเส้นไหม นำมาถักทอเป็นผืนผ้าและเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น และยังคงสืบทอดกันมา ตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมา มีการใช้ผลหม่อนเป็นพืชสมุนไพรทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แก้อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย หูอื้อ ผมหงอกก่อนวัย คอแห้งกระหายน้ำ ช่วยให้นอนหลับ และช่วยระบายท้อง ชาวไทยภูเขาภาคเหนือ จำนวนมากปลูกหม่อนผลสดไว้เป็นไม้ผลริมรั้ว จำหน่ายให้นักท่องเที่ยวหรือชาวไทยพื้นราบ เช่น ที่ตลาดต้นลำไย ตลาดต้นพยอม อำเภอเมือง และริมทางหลวงบริเวณโครงการหลวงอินทนนท์ ที่บ้าน ขุนกลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนในต่างประเทศ นิยมทำอาหารและเครื่องดื่มจากผลไม้กลุ่ม เบอร์รี่มาก อีกทั้งผลไม้เหล่านี้ยังมีราคาแพง เช่น ในรัฐแคลิฟอร์เนียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีราคาสูงถึง 800-1,200 บาท ต่อกิโลกรัม อีกทั้งนิยมปลูกหม่อนเป็นไม้บังลม รอบสวนองุ่นและสวนผลไม้อื่นๆ เพื่อใช้เป็นอาหารของนก ในเมืองบาคู (Baku) เมืองหลวงของประเทศอาเซอร์ไบซัน มีการปลูกต้นหม่อนอยู่ทั่วไปทั้งในสวนสาธารณะ หรือปลูกร่วมกับผลไม้อื่นๆ โดยนิยมนำมาผลิตเป็นน้ำหวาน และในประเทศจอร์เจียและ อาร์เมเนีย นิยมนำมาทำวอดก้า ในออสเตรเลีย โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก นิยมปลูกหม่อนไว้ในสนามหลังบ้าน เป็นผลไม้ประจำบ้าน และมีจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตตามฤดูกาล องค์การเภสัชกรรมของอังกฤษ ได้นำผลหม่อนมาผลิตยาแผนปัจจุบันเป็นยาน้ำเชื่อม ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบาย และใช้กลั้วคอลดอาการอักเสบลำคอ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ได้มุ่งเน้นให้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น หม่อนผลสดเป็นผลผลิตทางการเกษตรชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง จึงเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งสถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและพัฒนาวิธีการแปรรูปหม่อนผลสดเป็นผลสำเร็จ เช่น การทำแยม เยลลี่ ลูกอม ไวน์ และน้ำผลไม้ พร้อมดื่ม สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไวน์หม่อนผลสด และน้ำผลหม่อนพร้อมดื่ม ฯลฯ ให้กับผู้ผลิตระดับครัวเรือน ไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม โดยมีมูลค่าของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของ ผลหม่อนในปี 2548 ดังนี้คือ ไวน์หม่อน 85,320,000 บาท น้ำหม่อน 29,850,000 บาท ส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่มโปรไบโอติก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว 2,400,000 บาท และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น แยม พาย ไอศกรีม ผลไม้แช่อิ่ม ฯลฯ 10,000,000 บาท รวมทั้งสิ้น 127,570,000 บาท (รายละเอียดในตารางที่ 1) ปัจจุบันมีการนำผลหม่อนมาผลิตเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย โดยสถาบันศิลปะศาสตร์การอาหาร เพื่อทดแทนการนำเข้าผลไม้และผลิตภัณฑ์จำพวกเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ ราสพ์เบอร์รี่ ฯลฯ ที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับผลหม่อน ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลการปลูกหม่อน เพื่อการเก็บเกี่ยวผลสด รวมทั้งพันธุ์ที่เหมาะสม ุเพื่อเป็นการคัดเลือกพันธุ์หม่อนผลสด ที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (สมมช.) จึงได้สำรวจพันธุ์หม่อนผลสด และนำมาปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี 2. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้พันธุ์หม่อนผลสดที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูปสู่ระบบอุตสาหกรรม 3. ประวัติ หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่นี้ เดิมไม่มีชื่อพันธุ์ พบว่า ปลูกบนที่สูงในเขตภาคเหนือ โดยชาวเขาและเกษตรกรทั่วไปปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ผลริมรั้วรอบบ้าน และเก็บผลหม่อนจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นตามฤดูกาล มานานหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าได้นำมาจากไหน ตั้งแต่เมื่อใด ในปี 2515 นาย โกสิ่ว แซ่โก เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำหม่อนพันธุ์นี้มาจากอำเภอดอยสะเก็ด มาปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ หลังวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำผลหม่อนสดมาอบแห้งและแปรรูปเป็นไวน์หม่อน ในปี 2526 สถาบันวิจัยหม่อนไหม ได้นำหม่อนพันธุ์ดังกล่าวมาศึกษา ดังนี้ พ.ศ. 2526 เก็บรวบรวมหม่อนจากพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบนจำนวน 28 สายพันธุ์มา ติดตาบนหม่อนพันธุ์น้อย สายพันธุ์ละ 10 ต้น เพื่อศึกษาคุณลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ การเจริญเติบโตและผลผลิตผลสด พ.ศ. 2529 คัดเลือกพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตผลสดสูง เพื่อทำการ ขยายพันธุ์ โดยให้ชื่อสายพันธุ์ว่า “ชม.26-01” พ.ศ. 2534 – 2544 ศึกษาการแปรรูปผลหม่อนเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อันได้แก่ น้ำผลหม่อน ไวน์หม่อน แยมหม่อน เยลลี่หม่อน ลูกอมผลหม่อน พ.ศ. 2538 – 2540 สำรวจรวบรวมพันธุ์หม่อนผลสดจากจังหวัดเชียงใหม่ ชุมพร นราธิวาส และหม่อนลูกผสมที่มีผลหม่อน เช่น พันธุ์บุรีรัมย์ 60 นครราชสีมา 60 ศรีสะเกษ 33 พ.ศ. 2540 – 2547 เปรียบเทียบผลผลิตหม่อนผลสดที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี โดยใช้ชื่อ เบื้องต้นว่าพันธุ์เชียงใหม่ พ.ศ. 2541 – 2544 ศึกษาวิธีการบังคับให้หม่อนผลสดออกดอกและติดผลนอกฤดูกาล ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมแพร่ พ.ศ. 2542 – 2547 ศึกษาระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสม ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหม อุดรธานี พ.ศ. 2543 – 2546 ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา สำรวจโรคและแมลงศัตรูผลหม่อน ที่สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน เกษตรกรและบริษัทเอกชนปลูกหม่อนพันธุ์นี้เป็นการค้า และแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ 4. ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ สถานที่ดำเนินการ พ.ศ. 2526 เก็บรวบรวมสายพันธุ์หม่อน สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ พ.ศ. 2529 คัดเลือกสายพันธุ์ ได้ “ชม.26-01” สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ พ.ศ. 2534-2544 ศึกษาการแปรรูปผลหม่อน เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2538-2540 สำรวจรวบรวมพันธุ์หม่อนผลสด จาก เชียงใหม่ ชุมพร นราธิวาส ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2540-2547 เปรียบเทียบผลผลิตผลหม่อนสด ได้ “เชียงใหม่” ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2541-2544 ศึกษาวิธีการบังคับให้ออกดอกและ ติดผลนอกฤดูกาล ศูนย์วิจัยหม่อนไหมแพร่ พ.ศ. 2542-2547 ศึกษาระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่ง ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2543-2546 - ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ -วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและ เภสัชวิทยา - สำรวจโรคและแมลงศัตรูผลหม่อน - ขยายพันธุ์ สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ สถานีทดลองหม่อนไหมตาก ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน เกษตรกรและภาคเอกชนขอรับพันธุ์หม่อน เพื่อดำเนินการเชิงพาณิชย์ สถาบันวิจัยหม่อนไหม สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิม- พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 5. ลักษณะประจำพันธุ์ 5.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เพศเมีย 2 n = 28 ผลกลุ่มหรือผลช่อ (multiple fruit) 5.2 ลักษณะทางการเกษตร - ความสูงเฉลี่ยของต้น (1ปี หลังการตัดแต่งกิ่ง) 2.10 เมตร - ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ย (1 ปี หลังการตัดแต่งกิ่ง) 2.70 เมตร - ลักษณะการออกดอก ทยอยออกดอกประมาณ 30 วัน - ลักษณะผลแก่ สีแดง - ลักษณะผลห่าม สีแดงดำ - ลักษณะผลสุก สีม่วงดำ - ความยาวผลเฉลี่ย 2.90 เซนติเมตร - ความกว้างผลเฉลี่ย 1.05 เซนติเมตร - น้ำหนักผลสุกเฉลี่ย 2.50 กรัม - อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 34-45 วัน หลังผลิดอก - ฤดูเก็บเกี่ยว เดือนมีนาคม - เมษายน - ผลผลิตในฤดูกาล 1,733 กิโลกรัม/ไร่/ปี (ค่าเฉลี่ย 3–5 ปี) - ผลผลิตนอกฤดู 803 กิโลกรัม/ไร่/ปี (ปีที่ 3) - การขยายพันธุ์ ดัวยท่อนพันธุ์ 5.3 คุณสมบัติทางเคมี ผลหม่อนสด ผลห่าม ผลสุก - เปอร์เซ็นต์ความชื้น 87.00 83.50 - ความหวาน (๐brix) 10.05 13.10 - ปริมาณกรด (TA, % w/w as citric â) 1.35 0.65 ผลหม่อนแห้ง (100 กรัม) - เปอร์เซ็นต์โปรตีน 12.81 1.68 - เปอร์เซ็นต์ไขมัน 4.94 0.47 - เปอร์เซ็นต์คาร์โบไฮเดรท 58.14 21.35 - เปอร์เซ็นต์เยื่อใย 6.74 2.03 - เปอร์เซ็นต์เถ้า 0.06 1.52 - เปอร์เซ็นต์ความชื้น 16.56 72.95 ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ (สารเควอซิติน) ในผลหม่อน (มก./100 ก.) ผลสด ผลแห้ง - ผลห่าม 0.88 10.18 - ผลสุก 3.42 17.63 6. ลักษณะเด่น 5.1 ผลผลิตผลสดไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี 5.2 ผลมีขนาดใหญ่และมีปริมาณกรดสูง เหมาะสมสำหรับบริโภคสดและการแปรรูป เมื่อเทียบกับ ผลหม่อนพันธุ์อื่น ๆ 5.3 สามารถบังคับให้ออกดอกติดผลนอกฤดูกาลได้ 5.4 ขยายพันธุ์ได้ง่าย โดยใช้ท่อนพันธุ์ 7. พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขังของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ในระหว่างที่ต้นหม่อนออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น 8. ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด 7.1 ไม่ต้านทานต่อโรครากเน่า 7.2 ต้องการน้ำในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ระหว่างการออกดอกติดผลจนเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีผลผลิตสูง 9. ข้อมูลสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเด่น 9.1 ผลผลิต ผลหม่อนต่อไร่ต่อปี จากการปลูกในระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ระยะปลูก 2 x 2 เมตร) และมีการ ตัดแต่งกิ่งแบบตัดต่ำที่ระดับ 25 เซนติเมตร เหนือพื้นดิน จะเห็นว่า หม่อนพันธุ์เชียงใหม่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ อื่น ๆ ( ตารางที่ 2) โดยมีองค์ประกอบของต้นที่เหมาะสมและสะดวกในขณะเก็บเกี่ยว (ตารางที่ 3) ส่วนการปลูกในระบบแถว (ระยะปลูก 0.75 x 2 เมตร) และมีการตัดแต่งกิ่งให้มีกิ่งจากโคน 3–5 กิ่งแล้วตัดยอดที่ระดับ 1 เมตร เหนือพื้นดิน (ทรงพุ่มสูง) หม่อนพันธุ์เชียงใหม่จะให้ผลผลิตของผลหม่อน 1,360 1,234 4,084 กิโลกรัม/ไร่/ปี เมื่อต้นหม่อนมีอายุ 2 3 และ 4 ปี ตามลำดับ สูงกว่าระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่งแบบอื่น ๆ (ตารางที่ 6) มีข้อสังเกตว่า ผลผลิตหม่อนเมื่ออายุ 4 ปี (ปีการผลิต 2546/47) สูงกว่าปีอื่นมาก อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะสม ได้แก่ อุณหภูมิต่ำ และมีฝนในช่วงออกดอกและติดผล (ตารางที่ 6 ภาพที่ 1 และ 2 ตามลำดับ) 9.2 ลักษณะทางกายภาพและเคมีของผลหม่อนพันธุ์ต่าง ๆ จะเห็นว่าหม่อนพันธุ์เชียงใหม่มีน้ำหนักผล 2.5 กรัม และมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่นๆ (ตารางที่ 3) นอกจากนั้นยังมีปริมาณกรดในระยะผลห่ามและผลสุกเท่ากับ 1.40 และ 0.64 %w/w as citic acid ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าหม่อนพันธุ์อื่นทุกพันธุ์ แต่มีลักษณะอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันในระหว่างพันธุ์ (ตารางที่ 5) 9.3 หม่อนพันธุ์เชียงใหม่ สามารถบังคับ ให้ผลิตผลหม่อน นอกฤดูกาลได้ (ตารางที่ 7 และ 8) 9.4 หม่อนพันธุ์เชียงใหม่สามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย และมีเปอร์เซ็นต์รอดของต้นกล้า โดยวิธีการปักชำและตอนกิ่งสูง (ตารางที่ 9) 9.5 ผลผลิตผลหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ จากการสำรวจ ในภาคเกษตรกร ภาคตะวันออก จำนวน 40 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี (อายุต้นหม่อน 5 ปี) ภาคเหนือ จำนวน 97 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี (อายุต้นหม่อน 3 ปี) (ที่มาของข้อมูล : บริษัท ซีวาย บอสส์ฟู้ด เชียงรายไวน์เนอร์รี่ เวียงพิงค์ไวน์เนอร์รี่ และ สามหมอกไวน์เนอร์รี่) 10. ข้อมูลการปรับปรุงพันธุ์ พ.ศ. 2526 เก็บรวบรวมหม่อนจากพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบนจำนวน 28 สายพันธุ์มา ติดตาบนหม่อนพันธุ์น้อย สายพันธุ์ละ 10 ต้น เพื่อศึกษาคุณลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ การเจริญเติบโตและผลผลิตผลสด พ.ศ. 2529 คัดเลือกพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตผลสดสูง เพื่อทำการ ขยายพันธุ์ โดยให้ชื่อสายพันธุ์ว่า “ชม.26-01” พ.ศ. 2534 – 2544 ศึกษาการแปรรูปผลหม่อนเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อันได้แก่ น้ำผลหม่อน ไวน์หม่อน แยมหม่อน เยลลี่หม่อน ลูกอมผลหม่อน พ.ศ. 2538 – 2540 สำรวจรวบรวมพันธุ์หม่อนผลสดจากจังหวัดเชียงใหม่ ชุมพร นราธิวาส และหม่อนลูกผสมที่มีผลหม่อน เช่น พันธุ์บุรีรัมย์ 60 นครราชสีมา 60 ศรีสะเกษ 33 พ.ศ. 2540 – 2547 เปรียบเทียบผลผลิตหม่อนผลสดที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี โดยใช้ชื่อ เบื้องต้นว่าพันธุ์เชียงใหม่ (ตารางที่ 2-5) พ.ศ. 2541 – 2544 ศึกษาวิธีการบังคับให้หม่อนผลสดออกดอกและติดผลนอกฤดูกาล ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมแพร่ (ตารางที่ 7-8 และภาพที่ 8) พ.ศ. 2542 – 2547 ศึกษาระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสม ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหม อุดรธานี (ตารางที่ 6) พ.ศ. 2543 – 2546 ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ (ตารางที่ 9) วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและเภสัช วิทยา สำรวจโรคและแมลงศัตรูผลหม่อน ที่สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน เกษตรกรและบริษัทเอกชนปลูกหม่อนพันธุ์นี้เป็นการค้า และแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ 11. ความพร้อมของพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ แจกจ่ายแก่เกษตรกรหรือผู้สนใจได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1,000,000 ต้น 12. การตั้งชื่อพันธุ์ ขอตั้งชื่อหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่เป็นพันธุ์ “เชียงใหม่ 80” (เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา) 13. คณะผู้ดำเนินงาน สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ วสันต์ นุ้ยภิรมย์ วิโรจน์ แก้วเรือง ดนัย นาคประเสริฐ สมชาย ลือมั่นคง เยาวภา สุกฤตานนท์ รุ่งรัตน์ อิฐรัตน์ พินัย ห้องทองแดง ประเวศ แสงเพชร ประเวช แสนนามวงษ์ กอบกุล แสนนามวงษ์ สุชาติ จุลพูล ภัควิภา เพชรวิชิต บุษรา ระวินู ธเนศ จันทน์เทศ สมชาย กันหลง รังษี เจริญสถาพร ทิพรรณี เสนะวงศ์ วรรนภา วีระภักดี คำนิยม คณะผู้ดำเนินงานขอขอบคุณ นายพีระพงศ์ เชาวน์เสฏฐกุล ผู้อำนวยการสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร และนายวิทยวัฒน์ กุญชร ณ อยุธยา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ผู้ให้คำเสนอแนะในการจัดทำเอกสารเสนอเป็นพันธุ์พืชแนะนำ ตลอดจน ดร.สมชาย จอมดวง คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.จิราพร ตยุติวุฒิกุล ดร.อังสนา อัครพิศาล ดร.ไสว บูรณพาณิชพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณะแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ให้ความอนุเคราะห์ในด้านเครื่องมือ และเทคนิควิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ของการทดลอง จนได้มาซึ่งข้อมูลประจำพันธุ์หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ 80 บรรณานุกรม จิราพร ตยุติวุฒิกุล ไสว บูรณพานิชพันธุ์ วสันต์ นุ้ยภิรมย์ และดนัย นาคประเสริฐ. 2546. การสำรวจและ จำแนกแมลงศัตรูหม่อน : แมลงศัตรูหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่. หน้า 13–28. ใน : รายงานความก้าวหน้า ประจำปี 2546 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหม่อนรับประทานผลเชิงพาณิชย์. สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. ชัยรัตน์ โมไนยพงศ์. 2546. หน้า 82. ใน : ไวน์ ไวน์ ไวน์ หนังสือสำหรับผู้ผลิตไวน์มือใหม่. บริษัทโปรลายน์ มีเดีย จำกัด. กรุงเทพฯ. ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงษ์. 2549. ลูกหม่อนเล็กพริกขี้หนู. ---------------------------------------- รังษี เจริญสถาพร อังสนา อัครพิศาล รุ่งรัตน์ อิฐรัตน์ และวสันต์ นุ้ยภิรมย์. 2546. สำรวจโรคหม่อนผลสด และจำแนกเชื้อสาเหตุโรคผลหม่อน. หน้า 7–12. ใน : รายงานความก้าวหน้าประจำปี2546 ชุดโครงการ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหม่อนรับประทานผลเชิงพาณิชย์ สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. วสันต์ นุ้ยภิรมย์. 2546. หม่อนรับประทานผลและการแปรรูป. สถาบันหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์. 74 น. วสันต์ นุ้ยภิรมย์ ชาญณรงค์ พูนศิลป์ ไชยยงค์ สำราญถิ่น ปาน ปั้นเหน่งเพชร อนุสรณ์ เหลือแก้ว และ พงษ์พันธุ์ จึงอยู่สุข. 2545. ศึกษาวิธีการบังคับทรงพุ่มให้หม่อนรับประทานผลออกดอก. หน้า 1 – 18. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2545 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. วสันต์ นุ้ยภิรมย์ และธเนศ จันทน์เทศ. 2546. การขยายพันธุ์หม่อนผลสด : โดยวิธีการปักชำและตอนกิ่ง. หน้า 1–6. ใน : รายงานความก้าวหน้า ประจำปี 2546 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต หม่อนรับประทานผลเชิงพาณิชย์ สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. วิโรจน์ แก้วเรือง. 2546. ดงดอกหม่อน. หน้า 60-63. ใน : น.ส.พ. กสิกร ปีที่ 76 (3) พฤษภาคม-มิถุนายน 2546. วิโรจน์ แก้วเรือง. 2548. ผลหม่อนจากบ้านนาสู่สากล. หน้า 44-50. ใน : น.ส.พ. กสิกร ปีที่ 78 (2) มีนาคม- เมษายน 2548. วิโรจน์ แก้วเรือง ประยูร หาสาง กิตติชัย จันทคัต และสมบัติ สุภาภา. 2539. การทำแยมจากผลหม่อน. หน้า 98–116. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2538 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการ เกษตร. วิโรจน์ แก้วเรือง แสงเงิน ไกรสิงห์ กัลยาณี ตันติธรรม สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ ประทีป มีศิลป์ สมบูรณ์ โกมลนาค ณรงค์ รักษ์รัตนกร ประยูร หาสาง และพัจนา ชูพานิช. 2536. การศึกษาคุณค่าทาง อาหารของผลหม่อนและการนำมาใช้ประโยชน์. หน้า 15–27. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2535 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ และวิโรจน์ แก้วเรือง. 2548. ความสัมพันธ์ของระบบการปลูกและวิธีการตัดแต่งกิ่งต่อผลผลิตผลหม่อน. หน้า 169-187. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2547 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ และวิโรจน์ แก้วเรือง. 2548. เปรียบเทียบพันธุ์หม่อนเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตผลหม่อน. หน้า 188-200. ใน : รายงานผลการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2547 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร. สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ สมชาย จอมดวง วสันต์ นุ้ยภิรมย์ และวิโรจน์ แก้วเรือง. 2546. ศึกษาการ เจริญเติบโตและพัฒนาการของหม่อนผลสด : ดัชนีการเก็บเกี่ยวของผลหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ ในและ นอกฤดูกาล. หน้า 29–43. ใน : รายงานความก้าวหน้าประจำปี 2546 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตหม่อนรับประทานผลเชิงพาณิชย์. สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร.

ไม่มีความคิดเห็น: