ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน
ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
339 ม.12 ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230 โทร. 053-114096-8 โทรสาร. 053-114097
เว็บศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
เว็บข่าวประชาสัมพันธ์ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
เว็บแนะนำศูนย์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหม่อนไหมครบวงจร เชียงใหม่
เว็บศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
เว็บข่าวประชาสัมพันธ์ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
เว็บแนะนำศูนย์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหม่อนไหมครบวงจร เชียงใหม่
12 ก.ค. 2550
หม่อน..... เส้นทางสู่ เภสัชโภชนาภัณฑ์
มีการนำหม่อนมาใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ นอกจากใช้ใบเป็นอาหารของหนอนไหม เช่น ผลหม่อนนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ไวน์ แยม ฯลฯ ใบผลิตเป็นชาใบหม่อนเครื่องดื่มยอดนิยม ทำให้หม่อนกลายมาเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและปลอดภัยต่อมนุษย์ ทำให้ทุกวันนี้ “หม่อน” ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็น เภสัชโภชนาภัณฑ์” (Nutraceuticals) คือ อาหารที่มีสรรพคุณเป็นยา (functional foods)
หม่อน (mulberry : Morus spp.) ที่นำมาแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่ม มี 2 ส่วน คือ ผลหม่อน และใบหม่อน ในผลหม่อนสุก (ผลสีม่วงดำทั้งผล) มีสารสำคัญเหล่านี้ประมาณ 2 เท่า ของผลหม่อนห่าม (ผลสีแดง 50% สีม่วงดำ 50%) มีมากในผลหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และพันธุ์เชียงใหม่
นอกจากนั้นผลหม่อนยังมีกรดโฟลิก (folic acid) สูง ในผลสุก มีมากกว่าผลห่าม สารนี้จะมีมากในพันธุ์ศรีสะเกษ 33 และพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ซึ่งมีมากกว่า บลูเบอร์รี่ ถึง 2-3 เท่า (29, 21 และ 10 ไมโครกรัม / ผลหม่อน 100 กรัม ตามลำดับ)
บรรพบุรุษของเราได้นำผลหม่อนมาต้มเป็นยาเย็น ยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุไม่ปกติ ดับร้อน ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต มานานแล้ว
ประโยชน์ของกรดโฟลิก และความต้องการกรดโฟลิก
1. ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเจริญเต็มที่ ถ้าขาดจะเป็นโรคโลหิตจาง
2. ทำให้เซลล์ประสาทไขสันหลังและเซลล์สมองเจริญเป็นปกติ
3. สตรีมีครรภ์ต้องการกรดโฟลิก 0.4 มิลลิกรัม / วัน คนปกติ 0.1 มิลลิกรัม / วัน
ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระ
1. ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
2. ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง
3. ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่
4. ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว
5. สารต้านอนุมูลอิสระ สามารถดูดซึมเข้าร่างกายทางลำไส้เล็กและไม่เปลี่ยนแปลงสภาพ 6. พืชใช้สารเหล่านี้เพื่อให้ทนต่อ ลม ฝน แสงแดด ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ต้องอาศัยจากพืช
2. ใบหม่อน
มีการนำใบหม่อนแปรรูป
เป็น ชาใบหม่อน และผงหม่อน
เพื่อใช้เป็นเครื่องดื่ม และส่วน
ประกอบของอาหารหลากหลาย
ชนิด ตำราแพทย์สมุนไพร กล่าวว่า
ใบหม่อน ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้เจ็บคอ ต้มดื่ม แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ ระงับประสาท แก้โรคตา ได้หลายชนิด เช่น ตาแดง ตาแฉะ ตามัว ตาฟาง
ใบหม่อน มีกรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญหลายชนิด เช่น เควอซิติน (quercetin) แคมเฟอรอล (kaempferol) และรูติน (rutin)
นอกจากนั้นยังพบ ชาใบหม่อน มีสารดีเอ็นเจ (1-deoxynojirimycin) มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารกาบา (gamma amino-butyric acid) ลดความดันโลหิต มีสารกลุ่มฟายโตสเตอโรล (Phytosterol) ลดไขมันในเลือด อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียง จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค
วิโรจน์ แก้วเรือง และคณะ พบสารโพลีฟีนอล หลายชนิดในใบหม่อน และน้ำชาใบหม่อน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี และจะพบมากในใบหม่อนส่วน ยอด มากกว่า ใบอ่อน และ ใบแก่ ตามลำดับ พันธุ์หม่อนที่มีสารออกฤทธิ์สูง ได้แก่ พันธุ์คุณไพ บุรีรัมย์60 และนครราชสีมา60
การผลิตชาใบหม่อนในรูปของชาเขียว จะให้ปริมาณสารเควอซิติน เคมเฟอรอล และโพลีฟีนอลโดยรวมสูงสุด และใช้วิธีการนึ่งหรือผ่านไอน้ำเดือดเป็นเวลา 1 – 2 นาที แทนวิธีการเดิมที่เคยแนะนำให้ลวกน้ำร้อน 20 วินาที แล้วจุ่มน้ำเย็นทันที เนื่องจากวิธีนี้สารออกฤทธิ์ในใบหม่อนจะสูญเสียไปส่วนหนึ่ง
การชงชาใบหม่อน
การชงชาใบหม่อนด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80–90 องศาเซลเซียส จะทำให้สาระสำคัญ ละลายออกมาได้ดีกว่าการชงด้วยน้ำเย็น ดังนั้น ถ้าจะดื่มชาใบหม่อนควรชงไว้นานอย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัช และน้ำชาเขียวใบหม่อนแบบพาสเจอไรซ์ ควรเก็บไว้ไม่เกิน 9 วัน
จะเห็นว่า อาหารและเครื่องดื่มจากผลหม่อนและใบหม่อน สามารถเป็นเภสัชโภชนาภัณฑ์ ได้โดยมีผลงานวิจัยรองรับจากนักวิจัยหลายกลุ่ม หลายสถาบัน มานานกว่า 10 ปี มีการผลิตวัตถุดิบและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยกลุ่มเกษตรกร บริษัท และองค์กรต่าง ๆ พร้อมวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หลายแห่ง ดังนั้นถ้าท่านสนใจข้อมูลในการปลูกหม่อนเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ โปรดติดต่อ สมมช.
สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่
สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เกษตรกลางบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-579-5595, 025793118 โทรสาร 02-9406564
www.qthaisilk.com
และศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ทุกแห่ง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น