ยินดีต้อนรับ สู่...ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ เปิดรับสั่งจองพันธุ์ไข่ไหม และกิ่งพันธุ์หม่อน


ติดต่อเรา : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่

9 ก.ย. 2552

อนุรักษ์เเละขยายพันธ์หม่อนไหม

ผลการดำเนินงานผลิตพันธุ์หม่อนไหม







แผนการผลิต

1. ไข่ไหมพันธุ์ดี จำนวน 6,690 แผ่น

2. ท่อนพันธุ์หม่อน จำนวน 20,000 ท่อน

3. หม่อนชำถุง จำนวน 186,000 ถุง

ผลการดำเนินงาน

1. งานผลิตไข่ไหมพันธุ์ดี

ยอดการผลิตในปี 2552 สามารถผลิตได้ 6,690 แผ่น คิดเป็น 100 % ของแผนการผลิต

1.1การจำหน่ายจ่ายแจก

การจำหน่ายไข่ไหมได้จำนวน 788 แผ่น แยกเป็นไข่ไหมพันธุ์อุบลราชธานี60-35 จำนวน 670 แผ่น ไข่ไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ จำนวน 114 แผ่น และพันธุ์ไทยอื่น ๆ จำนวน 4 แผ่น รวมเป็นเงินนำส่งรายได้แผ่นดินทั้งสิ้น จำนวน 21,280 บาท

การแจกจ่ายแจกจ่ายเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 297 แผ่น แยกเป็นไข่ไหมพันธุ์อุบลราชธานี60-35 จำนวน 47 แผ่น ไข่ไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ จำนวน 29 แผ่น และพันธุ์ไทยอื่น ๆ จำนวน 221 แผ่น

รวมไข่ไหมพันธุ์ดีที่ทำการจำหน่ายจ่ายแจก จำนวนทั้งสิ้น 1,085 แผ่น

1.2.ไข่ไหมที่ทำการเก็บรักษา

เป็นไข่ไหมที่เก็บรักษา แบบ Hibernating จำนวน 894 แผ่น

1.3 การทำลายไข่ไหม

ไข่ไหมจำนวน 4,711 แผ่น ทำลายเนื่องจากไข่ไหมหมดอายุการใช้งาน

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แผนภาพแสดงการผลิตไข่ไหมพันธุ์ต่าง ๆในปีงบประมาณ 2552 โดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
 
 
2. งานผลิตพันธุ์หม่อน



2.1 ท่อนพันธุ์หม่อน

เป้าหมายการในปีงบประมาณ 2552 ผลิต จำนวน 20,000 ท่อน คิดเป็น 100 % ของแผน

การจำหน่ายจ่ายแจก

- จำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ จำนวน 1,1000 ท่อน รวมเป็นเงินนำส่งรายได้แผ่นดินทั้งสิ้น จำนวน 1,100 บาท

- แจกจ่ายให้แก่ เกษตรกร หน่วยงานราชการ และอื่น ๆ จำนวน 9,000 ท่อน



2.2 หม่อนชำถุง

เป้าหมายการผลิต จำนวน 186,000 ถุง ผลิตได้ 186,060 ถุง คิดเป็น 100.03 % ของแผน

การจำหน่ายจ่ายแจก
- จำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ จำนวน 330 ถุง รวมเป็นเงินนำส่งรายได้แผ่นดินทั้งสิ้น จำนวน 990 บาท

- แจกจ่ายให้แก่ เกษตรกรในโครงการ หน่วยงานราชการ และอื่น ๆ จำนวน 185,670 ถุง



รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม ปี 2552


ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้รับงบประมาณจากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ให้จัดทำศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม ซึ่งในปี 2551 ที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดซื้อผ้าไหมเข้าศูนย์อนุรักษ์ จำนวน 100 ผืน และได้จัดทำทะเบียนผ้าไหมเรียบร้อยแล้ว และในปี 2552 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ได้ดำเนินงานต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ดังต่อไปนี้


1. จัดแบ่งประเภทของผ้าไหมที่จัดแสดง โดยได้จัดแบ่งผ้าไหมที่จัดแสดงเป็นหมวดหมู่ คือแบ่งเป็น ผ้าจก ผ้ายก ผ้ามัดหมี่ และผ้าพันคอผ้าคลุมไหล่ รวมถึงได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากไหมด้วย เช่น ปลอกหมอน กล่องผ้าไหม ชุดผ้าไหมสำเร็จรูป ฯลฯ

2. จัดทำข้อมูลแสดงรายละเอียดผ้าไหมที่จัดแสดงตามแบบที่กำหนด โดยได้นำข้อมูลของผ้าไหมแต่ละผืนมาแสดงโดยใช้กระดาษพิมพ์รายละเอียดของผ้าและได้นำมาติดไว้ที่ผืนผ้า จำนวน 100 ชิ้น

3. จัดทำบอร์ดนิทรรศการเกี่ยวกับผ้าไหมพร้อมวัสดุอุปกรณ์ประกอบ จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย

- ชุดที่ 1 กว่าจะเป็นผืนผ้าไหม แสดงที่มาของขั้นตอนในการทำผ้าไหม และแสดงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการผลิตผ้าไหม

- ชุดที่ 2 การฟอกย้อมสีเส้นไหม แสดงขั้นตอนการฟอกย้อมสีเส้นไหมและ แสดงเส้นไหมที่ฟอกกาวออกแล้ว

- ชุดที่ 3 การย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ แสดงให้เห็นถึงการย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ และจัดแสดงเส้นไหมที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ

4. การบริการข้อมูลศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม มีผู้เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหมของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 216 คน

5. จัดซื้อหนังสือเกี่ยวกับลวดลายผ้าไทยเพื่อประกอบการค้นคว้า จำนวน 3 เล่ม




 

ไม่มีความคิดเห็น: